โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล

โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ชื่อชุมชน 7 หมู่บ้านใน ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิสากร กล้าณรงค์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์และบุคลากรในสาขาวิชาภูมิศาสตร์
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรุตม์ นาที
3. นายฉลอง แก้วประเสริฐ
4. นางสาวสมสมัย เอียดคง
5. นางสาวพรพิมล ลครวงษ์
6. อาจารย์ ดร. วราภรณ์ ทนงศักดิ์
การติดต่อ 074-317600
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 50,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สตูล เมืองสตูล คลองขุด place directions
สตูล เมืองสตูล คลองขุด อื่น ๆ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดข้อมูลความรู้ทางวิชาการของพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว /ขาดองค์ความรู้ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่ามหลักวิชาการ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ความรู้และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบตามหลักวิชาการ

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสตูล (กรอ. จังหวัด) ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 22 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสตูล ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล ได้นำเสนอโครงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลปูยู-ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยได้มีการเสนอโปรแกรมการท่องเที่ยวอเมซิ่ง อันดามัน : เขาจีน ตำมะลัง ปูยู เกาะยาว ตันหยงโป สตูล เพื่อจะใช้การท่องเที่ยวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล แต่ยังขาดข้อมูลความรู้ทางวิชาการของพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และชุมชนเองก็ขาดองค์ความรู้ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ขณะที่ตำบลปูยู มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ได้รับความร่วมมือจากสาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณซึ่งเกิดจากการนำนิสิตทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาตรี ศึกษาภาคสนามรายวิชาต่าง ๆ การทำวิจัยของคณาจารย์ การจัดโครงการบริการวิชาการ และ โครงการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลปูยูต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ดังนั้น ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล จึงขอความอนุเคราะห์มายังสาขาวิชาภูมิศาสตร์ในการให้ความรู้และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบตามหลักวิชาการให้กับพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ทางสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ การบริการวิชาการ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้ก่อประโยชน์ต่อชุมชน และ สามารถบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯที่เน้นชุมชนเป็นฐาน จึงได้จัดโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ความรู้และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบตามหลักวิชาการ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 15:37 น.