โครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

โครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม โครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ ม.ทักษิณ
หน่วยงานร่วม - กลุ่มปลูกป่าในสวนยางพาราชุมชนตะโหมด (สภาลานวัดตะโหมด) - กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งยาว ม.11 ต. โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง - เทศบาลตำบลโคกม่วง ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง - สหกรณ์กองทุนสวนยางในเขตปฏิรูปบ้านโคกม่วง จำกัด - สหกรณ์เครดิตยูเนียนออมทรัพย์บ้านทุ่งยาว จำกัด
ชื่อชุมชน ชุมชนบ้านพร้าว ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง / ชุมชนทุ่งยาว ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง/ ชุมชนตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาววานิด รอดเนียม
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ที่ปรึกษาโครงการ
การติดต่อ 074-443948
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 270,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม บ้านพร้าว ชนบท place directions
พัทลุง เขาชัยสน โคกม่วง ชนบท place directions
พัทลุง ตะโหมด ตะโหมด ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การเกษตรเชิงเดี่ยวที่มีระบบการบริหารจัดการในสวนโดยการใช้ยากำจัดวัชพืช ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การทำเกษตรผสมผสาน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ทำเกษตรผสมผสานที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างยั่งยืน /การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิธีชุมชนท้องถิ่น/

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้เชิงเดี่ยวที่มีระบบการบริหารจัดการในสวนโดยการใช้ยากำจัดวัชพืช ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการไถพรวนในแปลงยางพาราทำให้เกิดการชะล้างของตะกอนไปทับถมตามลำห้วยลำธาร ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้มากเหมือนเดิม นอกจากนี้บางพื้นที่ยังมีการทำลายป่าต้นน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในชุมชนขาดแคลนน้ำใช้ในยามหน้าแล้ง และนับวันระยะเวลาการขาดแคลนน้ำจะยาวนานเพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าว สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงเห็นโอกาสที่จะใช้องค์ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิถีทำกิน และการดำเนินชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยการเสวนาและพูดคุยกลุ่มผู้นำชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมคิดในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ น้ำและดินอย่างยั่งยืนของชุมชน จนได้แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นข้อสรุปของความคิดเห็นที่สอดคล้องกันคือ การนำระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานมาประยุกต์ใช้กับสวนยางพาราและสวนผลไม้ ด้วยการปลูกไม้ยืนต้นแซมระหว่างแถวของยางพารา และการปลูกผลไม้แบบผสมผสานหลากหลายชนิดพืช ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับชุมชนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงได้จัดโครงคืนป่าให้ผืนดินด้วยวิถีเกษตรผสมผสาน สร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน และโครงการสวนยางพาราเพิ่มป่ารักษ์น้ำ โดยในระยะแรกได้ดำเนินการในพื้นที่ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด ต่อมาได้ขยายผลไปยังตำบลหนองธง อำเภอป่าบอนและตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง สามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับชุมชนได้ในระดับหนึ่ง เกิดองค์ความรู้ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน นิสิตและชุมชนอื่นๆ จนมหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการเชื่อถือศรัทธาจากชุมชน และเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างแท้จริงและเห็นผลได้ชัดเจน การดำเนินการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ของชุมชน จึงควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว ยอมรับกรอบคิดการปรับเปลี่ยนวิถีการทำสวนยางพารามาเป็นรูปแบบสวนยางพาราเพิ่มป่ารักษ์น้ำ และการทำสวนผลไม้แบบผสมผสานที่ปลูกไม้ป่าร่วม เพื่อให้เป็นสวนผสมผสานที่สมบูรณ์แบบและมีมูลค่าที่สูงขึ้น มีความมั่นคงทั้งทางด้านรายได้ของเกษตรกร และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การทำเกษตรผสมผสาน

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 14:54 น.