สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การถ่ายทอดการผลิตน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นวิวัฒนาการสู่ระดับอุตสาหกรรม

การถ่ายทอดการผลิตน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นวิวัฒนาการสู่ระดับอุตสาหกรรม

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดการผลิตน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นวิวัฒนาการสู่ระดับอุตสาหกรรม
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่
ชื่อผู้รับผิดชอบ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ อภิญญา ภูมิสายดอน
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มิถุนายน 2561 -
งบประมาณ 30,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด โนนสูง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีการเพาะปลูกข้าวเหนียวเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณอำเภอนาคู อำเภอเขาวง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเนื่องจากเป็นแหล่งปลูกข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนียวที่มีสีหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียวหอมนิล ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในกระบวนการสีข้าวนั้นจะทำให้ได้รำข้าวและจมูกข้าวออกมาด้วย ซึ่งถือว่าเป็นผลิตผลพลอยได้ (by product) จากการสีข้าวทั้งนี้รำข้าวและจมูกข้าวเหล่านี้โดยมากจะนำไปจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ในราคาถูก อย่างไรก็ตามพบว่าในรำข้าวและจมูกข้าวนี้สามารถนำมาสกัดน้ำมันจากรำข้าวได้และอุดมไปด้วยสารแกมมา โอไรซานอล (Gamma Oryzanol) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีจุดเด่นในการช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็งตัวตีบตัน โดยช่วยยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยควบคุมให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
จากข้อมูลดังกล่าวการนำรำข้าวเหนียวมาสกัดน้ำมันรำข้าวด้วยวิธีการบีบเย็นนั้นสามารถเพิ่มมูลค่าแก่รำข้าวเหนียว และเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพได้ ด้วยทางสาขาวิชาฯ ได้เล็งเห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นฐานมาจากการดำรงชีพและวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์กรรมวิธีการสกัดน้ำมันรำข้าวเหนียวจากภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาถ่ายทอดแก่กลุ่มคนรุ่นปัจจุบัน จึงได้นำวิธีการสกัดน้ำมันรำข้าวเหนียวแบบสกัดเย็นตามแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสาธิตถึงกระบวนการผลิต ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือในระดับอุตสาหกรรมมาถ่ายทอดขั้นตอนการผลิตน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นอีกด้วย รวมทั้งการให้ความรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็น และให้คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ พร้อมชี้แนะแนวทางและสาธิตวิธีการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในครัวเรือนจนกระทั่งสามารถผลิตออกจำหน่ายได้ เช่น การทำน้ำสลัดจากน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำการถ่ายทอดแก่กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร นักเรียนนักศึกษารวมถึงผู้สนใจทั่วไป เพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าแก่รำข้าวเหนียว อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นได้อีกด้วย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของรำข้าวชนิดต่างๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น พร้อมทั้งการทำผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าว แก่ประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือผู้สนใจทั่วไป

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

มีการพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่ชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดความชำนาญด้านเทคนิคการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น และการประยุกต์ใช้น้ำมันรำข้าวสกัดเย็นในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิตและชุมชนได้

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีการเพาะปลูกข้าวเหนียวเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณอำเภอนาคู อำเภอเขาวง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเนื่องจากเป็นแหล่งปลูกข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนียวที่มีสีหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเหนียวหอมนิล ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในกระบวนการสีข้าวนั้นจะทำให้ได้รำข้าวและจมูกข้าวออกมาด้วย ซึ่งถือว่าเป็นผลิตผลพลอยได้ (by product) จากการสีข้าวทั้งนี้รำข้าวและจมูกข้าวเหล่านี้โดยมากจะนำไปจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ในราคาถูก อย่างไรก็ตามพบว่าในรำข้าวและจมูกข้าวนี้สามารถนำมาสกัดน้ำมันจากรำข้าวได้และอุดมไปด้วยสารแกมมา โอไรซานอล (Gamma Oryzanol) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีจุดเด่นในการช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็งตัวตีบตัน โดยช่วยยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยควบคุมให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
จากข้อมูลดังกล่าวการนำรำข้าวเหนียวมาสกัดน้ำมันรำข้าวด้วยวิธีการบีบเย็นนั้นสามารถเพิ่มมูลค่าแก่รำข้าวเหนียว และเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพได้ ด้วยทางสาขาวิชาฯ ได้เล็งเห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นฐานมาจากการดำรงชีพและวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์กรรมวิธีการสกัดน้ำมันรำข้าวเหนียวจากภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาถ่ายทอดแก่กลุ่มคนรุ่นปัจจุบัน จึงได้นำวิธีการสกัดน้ำมันรำข้าวเหนียวแบบสกัดเย็นตามแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสาธิตถึงกระบวนการผลิต ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือในระดับอุตสาหกรรมมาถ่ายทอดขั้นตอนการผลิตน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นอีกด้วย รวมทั้งการให้ความรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็น และให้คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ พร้อมชี้แนะแนวทางและสาธิตวิธีการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในครัวเรือนจนกระทั่งสามารถผลิตออกจำหน่ายได้ เช่น การทำน้ำสลัดจากน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำการถ่ายทอดแก่กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร นักเรียนนักศึกษารวมถึงผู้สนใจทั่วไป เพื่อสามารถเพิ่มมูลค่าแก่รำข้าวเหนียว อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าวเหนียวสกัดเย็นได้อีกด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Thanyakon Thanyakon เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 09:33 น.