สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การอนุรักษ์และการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านโคก หมู่ 6 ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สู่ตลาดออนไลน์

การอนุรักษ์และการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านโคก หมู่ 6 ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สู่ตลาดออนไลน์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การอนุรักษ์และการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านโคก หมู่ 6 ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สู่ตลาดออนไลน์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
หน่วยงานหลัก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานร่วม พัฒนาชุมชน เกษตรชุมชน
ชื่อชุมชน 319 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หมู่ 8 ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ธนพล วิยาสิงห์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 045643600-6
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การพัฒนาท้องถิ่นในประเทศประเทศไทย จำเป็นต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะทางด้านวัตถุ ทางด้านสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการดำรงชีวิตที่มั่นคง รวมถึงการส่งเสริมทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ต่างก็เป็นประเด็นที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนทั้งสิ้น การตื่นตัวในพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนมีมานานหลังจากที่แพร่ขยายในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นการยืนยันถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน อันจะนำไปสู่แนวทางในการปรับปรุงหรือวางแผนนโยบายของการพัฒนาชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนบุคคล ครอบครัว จึงต้องมีแนวคิดเจตคติที่ดี รู้จักการบริหารตนเอง การเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่น มีอาชีพและรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต มีคุณธรรม ศีลธรรม จึงพยายามอย่างเต็มที่ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น เพื่อช่วยให้สมาชิกทุกคนในสังคมกินดีอยู่ดี มีความสุขสมบูรณ์ กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นที่จะเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดความรัก ความผูกพันธ์ ความสามัคคีขึ้นมาในกลุ่ม ทั้งยังทำให้ชุมชนมีการนำสินค้ามาบริการจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกัน เกิดทุนหมุนเวียนในชุมชน ซึ่งชุมชนก็จะได้รับประโยชน์แก่อย่างทั่วถึง สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าได้ เป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาของกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพความเข้มแข็งมั่นคงต่อไป ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินชีวิต แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจทั้งในรับประเทศ หรือระดับโลกก็ตาม

จากการศึกษาข้อมูลของชุมชนบ้านโคก หมู่ที่6 ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ชุมชน บ้านโคก หมู่ที่ 6 ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ปลูกผัก มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ หลากหลายกลุ่ม โดยคนในหมู่บ้านมีการร่วมกันเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลคำม่วง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บ้านโคก ยังมีกิจกรรมที่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมปัญญาท้องถิ่น เช่น หมอธรรม หมอพื้นบ้าน งานจักรสาน ดนตรีพื้นบ้าน ฯลฯ ทั้งนี้ชุมชนหมู่บ้านโคก ยังมีครัวเรือนที่ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและยังได้ให้เป็นจุดแลกเปลี่ยนรู้ให้กับชุมชนซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของคนในหมู่บ้านที่จะมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทางคณะทำงานโครงการจึงได้พิจารณาคัดเลือกชุมชนดังกล่าวที่จะสามารถพัฒนาได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอาสาประชารัฐ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีระบบการบริหารจัดการที่ดีตลอดจนการประชาสัมพันธ์ และการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้ทำการศึกษาเข้าไปสำรวจชุมชน เก็บข้อมูลชุมชนถึงโอกาสและความเป็นไปได้ ที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการอนุรักษ์และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชุมชนควบคู่ไปด้วยกัน เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้นำนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปสู่ตลาดแรงงาน ปลูกฝังให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาได้หลายภาษา และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และร่วมพัฒนาชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คณาจารย์ต่างสาขาวิชา ตลอดจนนักศึกษาอย่างน้อย 3 สาขาวิชา 3 คณะ เพื่อให้คลอบคลุมสอดคล้องกับภูมิปัญญาของชุมชนที่มีความหลากหลาย แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก เริ่มจากการศึกษาภูมิปัญญา นำองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาชุมชนมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมการช่องทางการตลาดออนไลน์ให้แก่ชุมชน การบริหารจัดการ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การจัดทำงบประมาณ การจัดสรรกำไรและผลประโยชน์ รวมไปถึงการปลูกจิตสำนึกในอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่ดีงามให้คงอยู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนตลอดไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การอนุรักษ์และการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย s.wongsuwan s.wongsuwan เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 22:22 น.