การปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

การปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม งานวิชาศึกษาทั่วไป
ชื่อชุมชน บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.นลินอร นุ้ยปลอด
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูขวาง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
จากการสัมภาษณ์กลุ่มชาวบานในชุมชนพบว่า ชุมชนแห่งนี้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2486 มีพื้นที่ติดกับ
แม่น้ําเจาพระยาและคลองบางหลวง นอกจากนี้ พบว่าประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นกลุ่มคนเชื้อ
สายมอญร้อยละ 70 และเป็นคนไทยร้อยละ 30 จึงทําใหเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรม
มอญและวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมนี้เองเป็นสิ่งที่ทําใหคนในชุมชนได้รู้จักและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ก่อใหเกิดความมีนํ้าใจเอื้ออาทรต่อกัน โดยเฉพาะความมีนํ้าใจภายในชุมชนที่จะยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
การแนะนําในสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยไม่หวงแหน การแนะนําหลักการดําเนินชีวิต โดยอาศัยหลักธรรมและ
ประสบการณ์ การเสียสละความสุขส่วนตัวและเสียสละผลประโยชน์ของตน เพื่อประโยชน์สุขต่อส่วนร่วมด้วย
ความบริสุทธิ์ใจ การเสียสละประโยชน์เล็กนอยเพื่อประโยชน์ที่มากกว่า การบริหารจัดการของชาวบานใน
ชุมชนมีลักษณะเชิงรุก กล่าวคือ ชาวบ้านได้ลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ไขปัญหาแบบร่วมกันคิด ร่วมกันทํา ร่วมกัน
รับผิดชอบ ทําใหชุมชนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้ร่วมกันของคนภายในชุมชน นอกจากนี้ ชุมชนแห่งนี้ยังมีการ
สืบสานภูมิปัญญาทองถิ่นโดยการรวมกลุ่ม เพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมทองถิ่นไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งเพิ่ม
โอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างรายไดให้แก่คนในชุมชน เช่น กลุ่มโอ่งผาไหม กลุ่มแม่บ้านทํานํ้าพริก และชุมชน
แห่งนี้มีประเพณีที่สําคัญ คือ ประเพณีสงกรานต์ หรือที่ชาวมอญเรียกว่า (ปัจอะห์ต๊ะห์) เป็นเทศกาลสําคัญ
ประจําปีของชาวมอญ จะมีการทําบุญเฉลิมฉลองกันอย่างมโหฬาร เทศกาลนี้ใชระยะเวลาหลายวัน โดยจะเริ่ม
ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ไปจนถึงตนเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี ซึ่งชาวบานจะรวมตัวกันเพื่อทําบุญที่
วัดบ่อทอง ซึ่งวัดบ่อทองแห่งนี้ เป็นวัดที่เก่าแก่และเป็นวัดประจําหมู่บาน อีกทั้งวัดบ่อทองแห่งนี้ยังเป็น
สถานศึกษาแห่งแรกของหมู่บ้าน โดยในอดีตมีเพียงอาคารเดียวที่สร้างขึ้นมาด้วยไม้ เพื่อใช้สําหรับเป็นอาคาร
เรียนและจัดการเรียนการสอนใหกับเด็กภายในชุมชน แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัตน์และโลกที่
ก้าวไกล ทําใหเกิดการพัฒนาได้เข้ามาอย่างเต็มที่ จึงทําใหชุมชนหมู่ที่ 1 ตําบลคูขวาง อําเภอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี มีความเจริญมากขึ้น มีโรงงานอุตสาหกรรม มีสถานพยาบาล มีถนนตัดผ่านเขตชุมชน เป็นตน
จึงทําให้ตําบลแห่งนี้เป็นอีกตําบลหนึ่งที่เกิดการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน ตําบลคูขวาง ตั้งอยู่เลขที่
50 หมู2ที่ 3 ซอยคูขวาง 8 มีเนื้อที่ประมาณ 16.541 ตารางกิโลเมตร (หรือประมาณ 10,337. ไร่ ) ห่างจาก
จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากอําเภอลาดหลุมแก้ว ประมาณ 5.5 กิโลเมตร และห่าง
จากถนนปทุมธานี - บางเลน ประมาณ 2.1 กิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
-ชุมชนแห่งนี้มีการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ
พลอดุลยเดชมาปรับใชในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง
- มีการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น
- ชุมชนแห่งนี้กลุ่มที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนนั่น
ก็คือกลุ่มปั่นจักรยานนั่นเอง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ในวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2561 งานวิชาศึกษาทั่วไป ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนคลองบางหลวง หมู่ที่ 1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โดยใช้วิธีแบ่งกลุ่มชาวบ้าน เพื่อสัมภาษณ์ในประเด็นต่าง ๆ จึงได้พบทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน คือ พื้นที่โดยรวมของหมู่บ้านเป็นโรงงานอุตสาหกรรม แม้จะมีบริเวณในการทำการเกษตรตามแนว “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของในหลวง ร.9 แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักหรือทำกินเป็นของตนเอง จึงต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารในครัวเรือน งานวิชาศึกษาทั่วไป เกิดแนวคิดการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวและพืชผักสมุนไพรในกระถาง เพื่อลดรายจ่ายในเรื่องดังกล่าว
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ ดำเนินการในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หรือ เรียกว่า “บ้านคลองบางหลวง”
ปัจจุบัน บ้านครองบางหลวง หมู่ที่ 1 อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ไม่เพียงแต่เป็นชุมชนถิ่นเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นชุมชนที่ประชาชนเริ่มให้ความสนใจมาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากบ้านคลองหลวงมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็น “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ภายในส่วนนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่ ได้รับการสนับสนุนให้จัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็น กลุ่มกิจกรรมทางการเกษตร ได้จัดแบ่งไว้อย่างเป็นระเบียบ ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก เป็นต้น ส่วนกลุ่มกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงปลา ไก่พื้นบ้าน หมู และควาย ในรูปแบบเกษตรผสมผสาน และยังอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวมอญที่เป็นชุมชนดั้งเดิมไว้

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ ถึง ปี ๒๕๗๙ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการ มีบุคลากร นักวิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 10:10 น.