พริกแกงตำมือ น้ำพริกปลาย่าง น้ำสมุนไพร กลุ่มอาชีพบ้านคลองบางหลวงไหว้พระ หมู่ที่ 11 ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

พริกแกงตำมือ น้ำพริกปลาย่าง น้ำสมุนไพร กลุ่มอาชีพบ้านคลองบางหลวงไหว้พระ หมู่ที่ 11 ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม พริกแกงตำมือ น้ำพริกปลาย่าง น้ำสมุนไพร กลุ่มอาชีพบ้านคลองบางหลวงไหว้พระ หมู่ที่ 11 ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน กลุ่มอาชีพบ้านคลองบางหลวงไหว้พระ หมู่ที่ 11 ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิณากร ที่รัก
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูบางหลวง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
หมู่บ้านคลองบางหลวงไหว้พระ หมู่ที่ 11 ตําบลคูบางหลวง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในการดูแลการปกครองขององค์การบริหารส่วนตําบลคูบางหลวง ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารเลขที่ 99/9 หมู0ที่ 3 ตําบลคูบางหลวงอําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ ตําบลคูบางหลวงอยู่ห่างจากอําเภอลาดหลุมแก้วระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดปทุมธานีไปทางเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร บ้านคลองบางหลวงไหว้พระ มีจำนวนหลังคาเรือน 668 หลังคาเรือน ประชากรชาย จำนวน 481 คนประชากรหญิง จำนวน 540 คน รวมประชากร ทั้งหมด 1,021 คน แต่จำนวนครัวเรือนที่เป็นคนดั้งเดิมประมาณ 200 กว่าหลังคาเรือน ลักษณะเชื้อชาติ ประกอบด้วยคนไทยดังเดิมปทุมธานีและคนไทยเชื้อสายมอญ นับถือศาสนา พบว่านับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์ คนในชุมชนมีทักษะในการทำขนมไทยโบราณ เช่น ขนมผักกาด ข้าวแช่ ข้าวเหนียวแดงกวน ข้าวต้มมัด และขนมตาล การทำน้ำสมุนไพร การทำพริกแกงสูตรโบราณ การนวดแผนไทย การทำเกษตรกรรมทั้งทำนา และปลูกพืชผักสวนครัว
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
คนในชุมชนมีทักษะในการทำขนมไทยโบราณ เช่น ขนมผักกาด ข้าวแช่ ข้าวเหนียวแดงกวน ข้าวต้มมัด และขนมตาล การทำน้ำสมุนไพร การทำพริกแกงสูตรโบราณ การนวดแผนไทย การทำเกษตรกรรมทั้งทำนา และปลูกพืชผักสวนครัว
ข้อมูลประเด็นปัญหา
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นทำการศึกษาชุมชนด้วยวิธีการคัดเลือกชุมชนตกเกณฑ์ จปฐ. บ้านคลองบางหลวงเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีคนตกเกณฑ์ มหาวิทยาลัยจึงเข้าไปพัฒนาท้องถิ่นโดยอาศัยหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตุประสงค์ในการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับประชาชน การศึกษาเริ่มจากเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ ผู้นำชุมชน ประธานและแกนนำกลุ่มต่างๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี เป็นต้น และสุ่มเป้าหมายแบบบังเอิญ (Accidental sampling) และการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) กับกรรมการและสมาชิกกลุ่มต่างๆ และประชาชนทั่วไป สรุปข้อมูลการวิเคราะห์โอกาสการพัฒนาโดยใช้วิธี TOWS matrix Model และนำข้อมูลที่ได้เปิดเวทีชุมชนเพื่อคัดสรรโครงการที่ประชาชนในชุมชนสนใจ กำหนดแผนการส่งเสริมเชิงยกระดับอาชีพชุมชน สรุปผลด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา และทำการพัฒนาตามแผน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เริ่มต้นจากคุยกับครัวเรือนเป้าหมาย พาไปศึกษาดูงานกระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม ณ กลุ่มวิสาหกิจเกษตรปลอดภัยตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จากนั้นเริ่มกระบวนการพัฒนาสูตรพริกแกงตำมือ น้ำพริกปลาย่าง และน้ำสมุนไพร ซึ่งน้ำสมุนไพรเริ่มจากการพัฒนาน้ำกระเจี๊ยบ สอนให้รู้จักการออกแบบฉลากสินค้า บรรจุภัณฑ์ การคำนวนต้นทุนผลตอบแทน การบริหารจัดการกลุ่ม การขาย และการขยายตลาด
จากการศึกษาพบว่าประชาชนในชุมชนต้องการร่วมโครงการ 16 ครัวเรือน โดยรวมกลุ่มพัฒนาพริกแกงตำมือ น้ำพริกปลาย่าง และน้ำสมุนไพร

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ ถึง ปี ๒๕๗๙ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการ มีบุคลากร นักวิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • คูบางหลวง
  • น้ำพริกปลาย่าง
  • น้ำสมุนไพร
  • บ้านคลองบางหลวงไหว้พระ
  • ปทุมธานี
  • พริกแกงตำมือ
  • ลาดหลุมแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 09:34 น.