กล้วยฉาบ กลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 9 คลองบางหลวง ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

กล้วยฉาบ กลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 9 คลองบางหลวง ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม กล้วยฉาบ กลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 9 คลองบางหลวง ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน หมู่ 9 คลองบางหลวง ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ปรียาภา เมืองนก
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี คลองหลวง คลองหนึ่ง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประเด็นสรุปข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
- คนส่วนใหญ่ในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ
- อาชีพในชุมชนประกอบไปด้วย เกษตรกร
ค้าขาย และรับจ้าง
- การอยู่อาศัยของคนในชุมชน อยู่อาศัยใน
ชุมชนมานานตั้งแต่เกิด
- ในชุมชนมีผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง
- ระบบสาธารณูปโภคในชุมชนสามารถใช้
ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- มีการทำนาเพาะปลูกข้าว และปลูกกล้วย มะม่วง
มะนาว มะกรูด มะพร้าวในแต่ละหลังคาเรือน
- ลักษณะของการทำนา ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการ
จ้างคนให้ทำนา
- ลักษณะการค้าขายผลไม้ที่ปลูก คือ แต่ละ
หลังคาเรือนจะปลูกไว้เพื่อรับประทาน หากมี
เหลือถึงจะค้าขาย และเป็นการขายผลผลิตเลย
ไม่มีการแปรรูปก่อนเพื่อขาย
- มีคลองบางหลวงไหลผ่านชุมชน และชุมชนได้
ใช้นํ้าในคลองเพื่อทำการเกษตร และภายหลัง
นํ้าในคลองมีสภาพเป็นนํ้าเสีย เนื่องจากได้รับ
สารเคมีจากการเกษตร ทำให้ชุมชนไม่สามารถ
ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้อย่างเต็มที

ศักยภาพของชุมชน ประกอบด้วย
- กลุ่มแกนนำในชุมชนส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านและ
ผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน จึงจะมีเวลาว่างในการ
พัฒนาศักยภาพให้กับตนเองและชุมชน
- ผู้ใหญ่บ้าน (นายบุญช่วย ตั้งตน) มีศักยภาพของ
การเป็นผู้นำที่เชื่อมประสานการทำงานระหว่าง
หน่วยงานและชุมชนได้เป็นอย่างดี และมีความ
ต้องการให้สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้ประโยชน์
ต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองและชุมชนต่อไป
- แต่ละครัวเรือนมีการปลูกพืชพันธุ์ผลไม้ที่
หลากหลาย เช่น กล้วย มะม่วง มะนาว มะกรูด
มะพร้าว โดยส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อบริโภคใน
ครัวเรือน ซึ่งหากเหลือจะแบ่งขาย โดยเป็นการขาย
ผลผลิตเลย ไม่มีการแปรรูปก่อนขาย
หน่วยงานที่สนับสนุน
- อบต.คูบางหลวง ให้การสนับสนุนชุมชนอย่าง
ดีและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ มี
การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ มีอนามัยในตำบลที่
ดูแลชุมชนในตำบล และมีศูนย์เด็กเล็กในตำบล
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชน
- ปัญหาที่พบเจอ คือ แต่ละครัวเรือนจะมี
หนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้สินจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ
รถยนต์ และการกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้าน
- ปัญหาที่ 2 คือ การรวมกลุ่มของสมาชิกใน
ชุมชนเป็นไปได้ยาก เนื่องจากสมาชิกในชุมชนที่
อยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านและผู้สูงอายุ ซึ่งไม่
มีกำลังพอที่จะดำเนินการรวมกลุ่มทำกิจกรรม
หรือทำงานพัฒนาชุมชนได้
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
-ความต้องการของชุมชนที่พบ คือ ชุมชนมีความ
ต้องการลดค่าใช้จ่ายและหารายได้เสริมจากทุนเดิม
ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การแปรรูปกล้วย เป็นกล้วยตาก
หรือกล้วยฉาบ การแปรรูปมะนาวและมะกรูด
ให้เป็นวัตถุดิบในการทำนํ้าหมัก หรือนํ้ายาสระผม
นํ้ายาล้างจาน เป็นต้น
- ชุมชนต้องการให้ช่วยสนับสนุนหาตลาด
รองรับเพื่อวางขายสินค้าของชุมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
และองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปกล้วย

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ ถึง ปี ๒๕๗๙ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการ มีบุคลากร นักวิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กล้วยฉาบ
  • คลองบางหลวง
  • คูบางหลวง
  • ปทุมธา่นี

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 13:33 น.