สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : การจัดทำทะเบียนวัตถุและการจัดนิทรรศการ ปีที่ 2 (2560-2562)

โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : การจัดทำทะเบียนวัตถุและการจัดนิทรรศการ ปีที่ 2 (2560-2562)

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : การจัดทำทะเบียนวัตถุและการจัดนิทรรศการ ปีที่ 2 (2560-2562)
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม คณะสังคมศาสตร์
ชื่อชุมชน เกาะหวาย
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ณัฐพร ไทยจงรักษ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 114 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอย สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10250
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. อาจารย์ณัฐพร ไทยจงรักษ์ หัวหน้าโครงการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์หทัยรัตน์ บุญโยปัษฎัมภ์ กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์พร นิพิฐวิทยา กรรมการ
4. นายอภินันท์ ธรรมเสนา กรรมการ
5. อาจารย์ปกรณ์ เมฆแสงสวย กรรมการ
6. อาจารย์ชูเดช โลศิริ กรรมการ
7. อาจารย์อสมาภรณ์ สิทธิ กรรมการ
8. อาจารย์อชิระ อุตมาน กรรมการ
9. นางสาวศุภรดา เต็มภัทรกุล กรรมการ
10. นางสมทรง แสงอุทัย กรรมการ
11. นางสาวนนทพร มีศิริ กรรมการ
12. นายเอกชัย มณีนารถ กรรมการ
13. นางสาวหทัยรัตน์ จันทร์มุกดา กรรมการ
14. นางสาวณัฐณิชา พิมพ์นนท์ กรรมการ
15. นางสาวกัญญาภัค ชุมสกุล กรรมการ
16. นายประเสริฐ จันทร์พิมี กรรมการ
17. นางสาวรัศมี ศรีสุข กรรมการ
18. นายชลัช ฉันทะวิริยะกิจ กรรมการ
19. นายกฤษณะ แก้วสายทับ กรรมการ
20. นางสาวณันธภัทร พรมดวง กรรมการ
21. นางสาวอัมพร ล้วนทอง กรรมการ
22. นางสรญา สวนสมัย กรรมการ
23. นายอนุพนธ์ คำปัน กรรมการ
24. นางสาวเอมอร น้อยประดิษฐ์ กรรมการ
25. นางสาวรัชนี ศรีวรรณะ กรรมการ
26. นางสาวเบญจวรรณ สว่างคง กรรมการและเลขานุการ
27. นายณัฐพล อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
28. นางสาวอำภารัตน์ นวลทอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครนายก ปากพลี เกาะหวาย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของชุมชนไทยพวน ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ชาวบ้านมีความความผูกพันกับวัด วัดเป็นศูนย์ร่วมของกิจกรรมหลายๆอย่างในชีวิตประจำวันของชุมชน ชาวบ้านสามารถหารายได้โดยการผลิตสินค้าและจำหน่ายที่วัด รวมทั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน วัดก็มีส่วนในการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มทอผ้า กลุ่มการทำไข่เค็มและ กลุ่มการทำปลาดูสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอาชีพต่างๆ มีส่วนสัมพันธ์กับความนิยมของวัด
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ความรู้ความเชี่ยวชาญที่ใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย
1) ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
2) ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในพิพิธภัณฑ์ โดยการใช้ QR code ในการทำทะเบียนวัตถุ
3) ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์จังหวัดนครนายกและชุมชนไทยพวน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

พิพิธภัณฑสถานนับเป็นแหล่งความรู้ที่มีความสำคัญ เป็นองค์กรหลักในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อการเรียนรู้ในสังคม นอกจากจะช่วยปลูกฝังให้ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนได้เห็นความสำคัญในมรดกของชาติ จนเกิดความรักความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่ายิ่งแล้ว พิพิธภัณฑสถานยังเป็นสถาบันการศึกษานอกระบบสำหรับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ที่เพิ่มพูนและพัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ประชาชนในสังคมทุกระดับ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนเป็นสถานที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทยพวน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมลักษณะทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของชาวไทยกลุ่มนี้จากสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย ได้แก่ ผ้าซิ่นไทยพวน โม่หิน ถังต้มกาแฟโบราณ อุปกรณ์ทำการเกษตร เครื่องมือทอผ้า เป็นต้น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนจึงเป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยมานานหลายร้อยปี
อย่างไรก็ตาม จากการจัดโครงการอย่างต่อเนื่องของคณะสังคมศาสตร์ (เงินรายได้ของคณะ) ในพื้นที่ของวัดฝั่งคลอง ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จากการสรุปผลโครงการสังคมศาสตร์อาสาสู่ชุมชน ปี 5 ที่จัดขึ้นในปีงบประมาณ 2560 ทางคณะสังคมศาสตร์ได้จัดสำรวจความต้องการของชุมชนไปด้วยพร้อมๆกัน ซึ่งทางศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์เพื่อช่วยจัดการให้พิพิธภัณฑ์มีความเป็นระบบและระเบียบมากขึ้น เนื่องจากสิ่งของในพิพิธภัณฑ์มักได้รับการบริจาคมาจากประชาชนในท้องถิ่น แต่ไม่เคยมีการทำเป็นทะเบียนรายชื่อหรือการจดบันทึกเกี่ยวกับหลักฐานต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน รวมถึงความต้องการในการนำความรู้ทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์มาช่วยอบรมและทำให้เยาวชนในชุมชนพร้อมที่จะสืบสานการดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต่อไปในอนาคต จากศักยภาพของคณะสังคมศาสตร์ในการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมและผูกพันกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คณะฯเล็งเห็นถึงการดำเนินการจัดทำทะเบียนวัตถุ พร้อมๆกับการช่วยทำให้เยาวชนรู้จักและเริ่มที่จะเรียนรู้การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของตนซึ่งช่วยส่งเสริมการตระหนักและสำนึกรักท้องถิ่นและทราบประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษของตน ซึ่งเยาวชนและคนในชุมชนจะสามารถถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ และนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของหน่วยงานตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะสังคมศาสตร์ได้งบประมาณในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2561 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุในพิพิธภัณฑ์มีเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในปีงบประมาณ 2562 โดยทางคณะสังคมศาสตร์ได้เพิ่มความช่วยเหลือในการจัดนิทรรศการของวัตถุในพิพิธภัณฑ์เพิ่มเข้ามาด้วย โดยเพิ่มคำอธิบายในวัตถุต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการเป็นประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไปในอนาคต
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเล็งเห็นว่าการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนต้องมาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ รวมถึงเพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งการเรียนการสอนและการวิจัย โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้นิสิตในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทมีประสบการณ์จริงจากการเข้าไปช่วยในการจัดการพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบของการปฏิบัติจริง ซึ่งส่วนมากบัณฑิตมักได้รับเพียงแต่การศึกษาจากภาคทฤษฎี โครงการดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ตรงในการดำเนินงานในพิพิธภัณฑ์อย่างแท้จริง สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีตามความต้องการของหน่วยงานราชการต่างๆ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 14:07 น.