ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer

ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเนชั่น
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเนชั่น
หน่วยงานร่วม ไม่มี
ชื่อชุมชน ลำปาง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.ฑัตษภร ศรีสุข
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเนชั่น เลขที่ 444 ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.นิรมล หิรัญวิจิตภรณ์ นางสาวสุบินแก้วเต็ม
การติดต่อ 0814015268
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 128,500.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ลำปาง เมืองลำปาง บ้านเสด็จ ชานเมือง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Value Chain

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การนำแนวความคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปของจังหวัดลำปาง เป็นหนึ่งในเป้าหมายภายใต้โครงการผลักดันการพัฒนาเกษตรกรเพื่อยกระดับก้าวสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง หรือ Smart Farmer หรือเป็นเกษตรกรคุณภาพที่มีคุณสมบัติพื้นฐานสำคัญคือ 1) เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยทางการเกษตร 2) มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและผ่านระบบเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสารอื่นๆ 3) มีการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด ที่สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขายผลผลิตได้ 4) เป็นผู้มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามมาตรฐาน GAP/GMP เกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่นๆ 5) มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม โดยมีกิจกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง และ 6) มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร (สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559) แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริหารจัดการการตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล จำเป็นต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ การขยายศักยภาพในตลาดสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปต้องสร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังปฏิวัติการทำระบบเกษตรรูปแบบใหม่ในชื่อที่เรียกว่า Smart Farm โดยการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรแผนใหม่ผสมผสานกับองค์ความรู้ของเกษตรกรท้องถิ่นให้มีการจัดการและนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดในอนาคต ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมองเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการศึกษาเรื่อง ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง รองรับโครงการ Smart Farmer เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมทางการตลาดในกระบวนการสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปในจังหวัดลำปางและพัฒนาสู่ความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง สามารถยกระดับก้าวสู่การเป็น Smart Farmer ได้ในอนาคต

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ห่วงโซ่คุณค่า ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป การตลาดของเกษตรกร จังหวัดลำปาง Smart Farmer

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย thatsaporn_ntu2019 thatsaporn_ntu2019 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:01 น.