การใช้นวัตกรรมด้านพลังงานในการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา “ปงยางคกโมเดล”

การใช้นวัตกรรมด้านพลังงานในการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา “ปงยางคกโมเดล”

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การใช้นวัตกรรมด้านพลังงานในการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา “ปงยางคกโมเดล”
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
หน่วยงานหลัก สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
หน่วยงานร่วม สำนักงานพลังงานจังหวัด
ชื่อชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิภา ยงประยูร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 หมู่9 ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นายจารุเกียรติ ปัญญาดี พลังงานจังหวัดลำปาง
การติดต่อ 054 265 159
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 282,600.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ลำปาง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลปงยางคก มีพื้นที่ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้างฉัตร 14 กิโลเมตร มีพื้นที่ 83.16 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 51,976.877 ไร่ เป็นที่ราบลุ่ม อาณาเขตตำบลปงยางคก ทิศเหนือ ติดกับ ต.ห้างฉัตร และ ต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ทิศใต้ ติดกับ ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ทิศตะวันออก ติดกับ ต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร และ ต.ปงแสน อ.เมือง จ.ลำปาง ทิศตะวันตก ติดกับ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง มีลำน้ำแม่ตาล แม่วัก ไหลผ่าน ด้วยจำนวนประชากร 8,565 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,569 หลังคาเรือน ลักษณะภูมิอากาศของตำบลปงยางคกเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 40 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม มีฝนตกชุกพอสมควร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปานกลาง ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาว
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ปัจจุบันตำบลปงยางคก ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 13 หมู่บ้าน ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 9,441 คน สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปของตำบลปงยางคกขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม โดยประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา ปลูกพืช การอุตสาหกรรม โดยประชากรประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน รับจ้าง ค้าขาย เลี้ยงสัตว์และพนักงานโรงงาน นอกจากอาชีพดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วยังมีการรวมกลุ่มอาชีพภายในชุมชน กระจายตามหมู่บ้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเกษตรกรทำอาชีพเพาะเห็ดของหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งเห็ดนั้นเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเพาะปลูกและดูแลง่ายจึงทำให้แต่ละเดือนมีการเพาะเห็ดเป็นจำนวนมาก
การก่อเกิดของอาชีพการเพาะเห็ดในชุมชนบ้านทุ่งบ่อแป้นนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2531 จาก ผู้ใหญ่บ้านถาวร มณียศ ซึ่งผ่านการอบรมเพื่อสร้างอาชีพเสริมด้วยการเพาะเห็ด จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำความรู้ที่ได้มาสร้างโรงเพาะเห็ดที่บ้านของตน ในช่วงปีแรกนั้นอาศัยแรงงานจากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งต่อมาเมื่อเกิดผลกำไรจากการเพาะเห็ดจึงมีลูกบ้านสนใจที่จะเรียนรู้การเพาะเห็ดจากผู้ใหญ่บ้านถาวร มากขึ้น จนกลายเป็นกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น โดยในปัจจุบันมีหัวหน้ากลุ่มคือ นายอรุณ ปินใจ และสมาชิกจำนวน 24 คน ระยะเวลาและประสบการณ์ที่ชุมชนมีต่อการเพาะเห็ดทั้งสิ้น 24 ปี ประกอบด้วยเห็ด 5 ชนิด ได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดเป่าฮื้อ เห็ดขอนขาว เห็ดนางรม และ เห็ดฟาง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
หากสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้นด้วยการใช้นวัตกรรมมาบริหารจัดการกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพกลุ่มและความยั่งยืนของกลุ่ม ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ที่มีแนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ตลอดจน ความต้องการองค์ความรู้ใหม่ในการเพิ่มมูลค่าก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1. ทำการทดลองพร้อมเก็บข้อมูลกระบวนการเพาะเห็ดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางเพื่อนำไปวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกด้วยการประเมินวัฏจักรชีวิต(Life Cycle)
2. ทำการทดลองพร้อมเก็บข้อมูลการเพิ่มมูลค่าและสร้างความหลากหลายจากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกขนาดเล็กของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางเพื่อนำไปวิเคราะห์ความนิยมและความพึงพอใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มวิสาหกิจ
3. ทำการปรับปรุงและทดลองใช้เครื่องให้น้ำอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางในการเพิ่มปริมาณผลผลิตของเห็ดนางฟ้านอกฤดูกาล

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

จากการถูกยกระดับของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 เพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วยการใช้นวัตกรรม มาบริหารจัดการกิจกรรมของกลุ่มโดยชุมชนมีส่วนร่วม ด้วยขอบเขตของโครงการวิจัยที่ทำการวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกด้วยการประเมินวัฏจักรชีวิต(Life Cycle) พบว่า เมื่อขยายผลนวัตกรรมการทำ “ถ่านอัดแท่งจากวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว” สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเผาในที่โล่งของก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว มีค่าเท่ากับ 2.125 กิโลกรัมต่อการผลิตถ่านอัดแท่งจากก้อนเห็ด 1 ครั้ง และเมื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความหลากหลายจากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดจาก 2 ผลิตภัณฑ์เป็น 5 - 7ผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกขนาดเล็กทั้งที่ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว กับการติดตั้งแหล่งความร้อนเสริมจากแก๊สหุงต้มเข้าเครื่องอบแห้งของกลุ่ม สามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มมากกว่าร้อยละ 50 ต่อเดือน ในขณะที่การปรับปรุงและทดลองใช้เครื่องให้น้ำอัตโนมัติของกลุ่มวิสาหกิจ พบว่า ปริมาณของเห็ดนางฟ้านอกฤดูที่ผลิตได้ โดยเฉลี่ย 516 กิโลกรัมต่อโรงเรือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม นอกจากนี้การนำนวัตกรรมเชิงพลังงานมาใช้ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้ ซึ่งได้แก่ ข้าวเกรียบเห็ด,น้ำเห็ด 3 ชนิด, ไส้อั่วเห็ด, หมูแดดเดียว และกล้วยตาก ในขณะเดียวกันก็ยังเกิดผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มทั้งในส่วนองค์ความรู้ คือ “เตาผลิตไอน้ำความร้อนผสมผสานก๊าซหุงต้มและชีวมวล” ตลอดจนการเกิดภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ “เตานึ่งไอน้ำลุงชูชาติ” ซึ่งช่วยลดต้นทุนจากการลดใช้ฟืนได้ถึงร้อยละ50

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

โครงการวิจัยที่ทำการทดลองพร้อมเก็บข้อมูลกระบวนการเพาะเห็ดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางเพื่อนำไปวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกด้วยการประเมินวัฏจักรชีวิต(Life Cycle) พบว่า เมื่อนำนวัตกรรมที่ใช้ในการเพิ่มมูลค่าก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว โดยการทำเป็น “ถ่านอัดแท่งจากวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว” ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการการกำจัดก้อนเห็ดที่ใช้แล้ว สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเผาในที่โล่งของก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดแล้ว มีค่าเท่ากับ 2.125 กิโลกรัมต่อการผลิตถ่านอัดแท่งจากก้อนเห็ด 1 ครั้ง ในขณะที่เกิดผลผลิตที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้นในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ “เตานึ่งไอน้ำลุงชูชาติ”ได้ถูกนำมาใช้ในการลดต้นทุนของกลุ่มด้วยการลดการใช้ฟืนในกระบวนการเตรียมก้อนวัสดุสำหรับเพาะเห็ด ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก มีค่าเท่ากับ 2,871 ตันต่อเดือน
จากการดำเนินการทดลองพร้อมเก็บข้อมูลการเพิ่มมูลค่าและสร้างความหลากหลายจากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดจาก 2 ผลิตภัณฑ์เป็น 5 ผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกขนาดเล็ก และเมื่อมีการติดตั้งแหล่งความร้อนเสริมจากแก๊สหุงต้มเข้าเครื่องอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางแล้ว ทำให้ผลิตภัณฑ์การแปรรูปเพิ่มจาก 2 ผลิตภัณฑ์เป็น 7 ผลิตภัณฑ์ เมื่อวิเคราะห์ความนิยมและความพึงพอใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มวิสาหกิจ พบว่า เมื่อผลิตภัณฑ์เพิ่มเป็น 5 ผลิตภัณฑ์แล้ว สามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 -60 ต่อเดือน หากผลิตภัณฑ์เพิ่มเป็น 7 ผลิตภัณฑ์สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 -70 ต่อเดือน
จากการดำเนินการปรับปรุงและทดลองใช้เครื่องให้น้ำอัตโนมัติของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ในการเพิ่มปริมาณผลผลิตของเห็ดนางฟ้านอกฤดูกาล พบว่า ปริมาณของเห็ดนางฟ้านอกฤดูที่ผลิตได้ โดยเฉลี่ย 516 กิโลกรัมต่อโรงเรือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต คือ เห็ดนางฟ้านอกฤดูที่มีความสมบูรณ์ ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
นอกจากนี้การนำนวัตกรรมเชิงพลังงานมาใช้ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้ ซึ่งได้แก่ ข้าวเกรียบเห็ด,น้ำเห็ด 3 ชนิด, ไส้อั่วเห็ด, หมูแดดเดียว และกล้วยตาก ในขณะเดียวกันก็ยังเกิดผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ เตานึ่งไอน้ำลุงชูชาติ ซึ่งช่วยลดต้นทุนจากการลดใช้ฟินได้ถึงร้อยละ50 เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้เดิม

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • นวัตกรรม พลังงาน การบริหารจัดการ ชุมชนยั่งยืน

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย rawipha_lpru rawipha_lpru เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:01 น.