การสร้างสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนของเด็กและเยาวชน บ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

การสร้างสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนของเด็กและเยาวชน บ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การสร้างสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนของเด็กและเยาวชน บ้านแม่ใจใต้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หน่วยงานหลัก ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน บ้านแม่ใจใต้
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์พจนา มณฑีรรัตน์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 125 หมู่ 3 ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์เปรมวดี กิรวาที ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
อาจารย์ใบชา วงศ์ตุ้ย ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การติดต่อ 083-2048281
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 350,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
เชียงใหม่ ฝาง เวียง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านแม่ใจใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาประมาณร้อยกว่าปี โดยการย้ายถิ่นฐานเข้ามาของประชากรจากบ้านบ่อหิน อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย และอำเภอสันป่าตอง มาตั้งถิ่นฐานที่ที่ลำน้ำใจ และได้ก่อตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแม่ใจป่าจวาก ตำบลเวียง อำเภอฝาง ซึ่งขณะนั้นอำเภอฝางยังอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย โดยยึดชื่อหมู่บ้านมาจากชื่อวัดป่าจวาก ซึ่งปัจจุบัน คือ วัดศรีดอนชัย และได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านแม่ใจป่าจวาก ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2475 และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นหมู่บ้านแม่ใจใต้ เนื่องจากที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ใต้ลำน้ำใจ จนถึงปัจจุบันหมู่บ้านแม่ใจใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอฝาง ห่างจากตัวอำเภอฝางเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศเหนือของตัวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 150 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เนื่องจากอยู่ติดกับริมน้ำแม่ใจ จากการสังเกต พบว่า ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนจะเป็นการสร้างบ้านเรือนเรียงรายตามถนนของหมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับลำน้ำแม่ใจ บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 18 ตำบลเวียง
ทิศใต้ ติดกับบ้านสันป่าไหน่ หมู่ที่ 9 ตำบลเวียง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านสวนดอก หมู่ที่ 4 ตำบลเวียง
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านแม่ใจเหนือ หมู่ที่ 8 ตำบลเวียง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) แหล่งน้ำธรรมชาติ 1 สาย คือ ลำน้ำแม่ใจ
2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น บ่อน้ำตื้น 120 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 1 แห่ง
3) พืชพรรณ/สมุนไพร 1 แห่ง
4) พื้นที่สาธารณะ 3 แห่ง ได้แก่ ลานกีฬาประจำหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ และศาลาอเนกประสงค์บ้านแม่ใจใต้
5) แหล่งท่องเที่ยว 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจำตำบลเวียง

การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน หมู่ 7 บ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่นั้น ได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูล 2 ระดับ คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary sources) โดยการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวอันประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนของกลุ่มและองค์กรต่างๆในชุมชน และ 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary sources) โดยอาศัยข้อมูลจากแผนชุมชน (แผนพัฒนาหมู่บ้าน) ปี 2560
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้น พบว่า ชุมชนบ้านแม่ใจใต้ เป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และเป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” และเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” เนื่องจากความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ “องค์กรชุมชนด้านการเงิน” จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (focus group) พบว่า เงื่อนไขของการพัฒนาในพื้นที่หมู่บ้านแม่ใจใต้ คือ การที่หมู่บ้านดังกล่าวมี “สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้” ที่เข้มแข็งอันเป็นผลลัพธ์ที่มาจากทุนทางสังคมและวัฒนธรรมภายในชุมชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างการมีผู้นำที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำทางความคิด ผู้นำทางการประสานทรัพยากรภายในและภายนอกชุมชนและความสำเร็จของการดำเนินงานสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ยังนำไปสู่การพัฒนาสวัสดิการของชุมชนในด้านต่างๆ อีกมากมาย ปัจจุบันสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และได้รับรางวัลชนะเลิศการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนดีเด่น ประจำปี 2557 ระดับประเทศ รางวัลศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้ดำเนินโครงการได้ทำการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน พบว่า ศักยภาพดังกล่าวของชุมชนเกิดจากปัจจัยเงื่อนไข 2 ระดับ คือ 1) ทุนภายในชุมชน ที่สำคัญหลายประการได้แก่ ค่านิยมของคนในชุมชน ภูมิปัญญาและความเชื่อ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ กลุ่ม องค์กรและเครือข่ายภายในชุมชน และ 2) ทุนภายนอก / โอกาสในการได้รับการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน ภายนอก เช่น รัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายพระสงฆ์ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการสนับสนุนต่อยอดการพัฒนาจากทุนภายในที่มีอยู่ ปัจจุบันหมู่บ้านแม่ใจใต้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำสม่ำเสมอ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายตามข้อตกลงความร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า บ้านแม่ใจใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาประมาณร้อยกว่าปี ปัจจุบันเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และเป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” และเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” เนื่องจากความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ “องค์กรชุมชนด้านการเงิน” หากแต่ความเข้มแข็งดังกล่าวนำมาซึ่งสิ่งที่เป็นความกังวลของคนในชุมชนปัจจุบัน คือ กระบวนการสืบทอดค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมและสำนึกของความเป็นชุมชนไปสู่คนในรุ่นอนาคต ทั้งนี้เชื่อว่าสำหรับคนในรุ่นปัจจุบันที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนอยู่ล้วนแต่มีศักยภาพดังที่กล่าวไปในข้างต้น หากแต่คนรุ่นใหม่ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียน รวมถึงไปทำงานใช้ชีวิตนอกชุมชนมีเพียงส่วนน้อยที่จะกลับมาสานต่องานที่คนในรุ่นปัจจุบันได้ทำอยู่
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
แกนนำชุมชนเห็นว่าควรมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนา อันจะนำไปสู่การสืบทอดแนวทางการพัฒนาชุมชนจากคนรุ่นปัจจุบันไปสู่คนรุ่นใหม่ในอนาคต

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) การจัดการความรู้
2) การศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันจากกระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นของไทยหลากหลายมิติ อีกทั้งการพัฒนาระบบสารสนเทศ การคมนาคมสื่อสารได้ก่อให้เกิดสภาวะเลื่อนไหลที่สำคัญ ดัง Arjun Appadurai (1990: 296-300) ได้กล่าวว่า โลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดสภาวะเลื่อนไหล หรือการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรม 5 มิติ ดังนี้ (1) มิติทางเทคโนโลยี (technoscapes) (2) มิติทางการเงิน (financescapes) (3) มิติทางสื่อมวลชนและข่าวสารข้อมูล (mediascapes) (4) มิติทางอุดมการณ์ (ideoscapes) และ (5) มิติทางชาติพันธุ์ (etnoscapes) ที่ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นของประชากรข้ามชาติจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว คนย้ายถิ่น ผู้อพยพ ผู้ถูกขับไล่ออกนอกประเทศประเทศ เป็นต้น ไม่เพียงแต่การย้ายถิ่นฐานของประชากรข้ามชาติเท่านั้น การย้ายถิ่นฐานทั้งแบบถาวรและชั่วคราวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายถิ่นของคนชนบทเข้าสู่เมืองอันเป็นผลทำให้โครงสร้างทางประชากรของบางชุมชนท้องถิ่นมีความผิดปกติ เนื่องจากมีการย้ายถิ่นของประชากรวัยแรงงานและวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก เพื่อเข้าไปทำงานและศึกษาเล่าเรียนในเมืองหรือพื้นที่เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและการศึกษา
การย้ายถิ่นฐานไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นหรือยาวนานย่อมส่งกระทบต่อความสัมพันธ์หรือความผูกพันระหว่างปัจเจกบุคคลกับชุมชนท้องถิ่นของตนเอง รวมถึงสถานการณ์การเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมภายนอกที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงเป็นตัวเร่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่บางส่วนได้ละทิ้งถิ่นฐาน บ้านเกิดหรือชุมชนท้องถิ่นของตนเองเพื่อไปแสวงหาความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงในชีวิต อันส่งผลต่อวิกฤตค่านิยม ทัศนคติ และ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต แต่อย่างไรก็ตามจากวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติซึ่งกำหนดทิศทางของประเทศด้านความมั่นคงของสังคม ได้ระบุถึงเป้าหมายที่สังคมจะต้องมีความปรองดองสามัคคี ผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ซึ่งความคาดหวังดังกล่าวได้นำมาสู่สาระสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศยุทธศาสตร์ที่ 1
จากสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศยุทธศาสตร์ที่ 1 ได้กล่าวถึงเป้าหมายในอนาคตของการพัฒนาในระยะต่อไปจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่กลุ่มเด็กปฐมวัยที่ต้องพัฒนาให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะการ เรียนรู้ และทักษะชีวิต เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ควบคู่กับการพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้ เป็นคนดีมีสุขภาวะที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม มีทักษะ ความรู้และความสามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่รวดเร็ว บนพื้นฐานของการมี สถาบันทางสังคมที่เข้มแข็งทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันชุมชน และภาคเอกชนที่ร่วมกันพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นทุนทางสังคมสำคัญในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559)
สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้ปรากฏชัดในหลายชุมชน จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายตามข้อตกลงความร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า บ้านแม่ใจใต้ หมู่ที่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาประมาณร้อยกว่าปี ปัจจุบันเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และเป็นชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” และเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” เนื่องจากความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ “องค์กรชุมชนด้านการเงิน” หากแต่ความเข้มแข็งดังกล่าวนำมาซึ่งสิ่งที่เป็นความกังวลของคนในชุมชนปัจจุบัน คือ กระบวนการสืบทอดค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมและสำนึกของความเป็นชุมชนไปสู่คนในรุ่นอนาคต ทั้งนี้เชื่อว่าสำหรับคนในรุ่นปัจจุบันที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนอยู่ล้วนแต่มีศักยภาพดังที่กล่าวไปในข้างต้น หากแต่คนรุ่นใหม่ที่ได้มีโอกาสไปศึกษาเล่าเรียน รวมถึงไปทำงานใช้ชีวิตนอกชุมชนมีเพียงส่วนน้อยที่จะกลับมาสานต่องานที่คนในรุ่นปัจจุบันได้ทำอยู่ และแกนนำชุมชนเห็นว่าควรมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนา อันจะนำไปสู่การสืบทอดแนวทางการพัฒนาชุมชนจากคนรุ่นปัจจุบันไปสู่คนรุ่นใหม่ในอนาคต
ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการมีฐานคิดในการออกแบบโครงการ โดยเชื่อว่า “ชุมใดก็ตามหากมี สำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชน (sense of community) เกิดขึ้นแล้ว ชุมชนแห่งนั้นย่อมเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการก่อให้เกิดความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในอนาคต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชุมชน สังคมและประเทศ ดังนั้น การดำเนินโครงการครั้งนี้จึงเป็นความพยายามที่จะสร้างสำนึกดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย photchana-cmru_2019. photchana-cmru_2019. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 10:58 น.