สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้มเก่า, พัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ธเนศ ยืนสุข
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. ผศ.พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
2. อาจารย์ ดร.เกตน์สิรี จำปีหอม สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
3. อาจารย์วิรุณ โมนะตระกูล สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร
4. อาจารย์ทิพวิมล ชมภูคำ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
5. อาจารย์กีรติ ทองเนตร สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. นายวรวุฒิ สีแดงก่ำ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
7. นายปาฏิหาริย์ ชื่นมณี นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
8. นายคงฤทธิ์ สังศักดิ์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
9. นายคณิศร กาญจนะวสิต นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
10. นายจุลดิส อินทมาตย์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
11. นายสุพจน์ นะวะประโคน นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
12. นายวสวัตติ์ หลวงเทพ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
13. นางสาววิมลเกษม นนทะภา นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน
14. นางสาวกัณณิกา โคตคำภา นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
15. นางสาวธนาภรณ์ กิ่งนอก นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
16. นางสาวธิดารัตน์ บุญครอง นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
17. นางสาวนิตยา มีหลง นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
18. นางสาวเบญจพร ธนะโคตร นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
19. นางสาวเบญจวรรณ เสาวะรส นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
20. นางสาวรวีภรณ์ อาษากิจ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
21. นายนภสินธุ์ ตุมพิทักษ์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
22. นายปัญญาวุฒิ เกิดทรัพย์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
23. นายวุฒิชัย ล้านเหรียญทอง นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
24. นายวุฒิชัย พิทูรย์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
25. นางสาวปิ่นอนงค์ วรวุฒิ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
26. นางสาวสิริมินตรา โพธิ์สนาม นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
27. นางสาวรสนาถ คงสุข นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
28. นางสาวจุฑามาศ แก่นวงษ์ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
29. นางสาวอรนุช ถวิลรักษ์ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
30. นางสาวปุณยาวีย์ หางลาสิงห์ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
การติดต่อ 0952155656
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 476,300.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เขาวง คุ้มเก่า place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ สถานที่ตั้ง 15 หมู่10 บ้านกุดตอแก่น ต.คุ้มเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ หัวหน้ากลุ่มคือนางวารี ศรีประไหม ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 50 คน มากจาก 38 ครัวเรือน
ตำบลคุ้มเก่า เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยหมู่บ้านในเขตเทศบาลจำนวน 6 หมู่บ้าน นอกเขตเทศบาล จำนวน 7 หมู่บ้าน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนาและมีทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาภูไท
ลักษณะพื้นที่ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนาและมีทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาภูไท
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
อาชีพ
อาชีพหลัก เกษตรกรรม ทำนา ทำไร่
อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ หัตถกรรม ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน และไม้กวาด
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ผลิตภัณธ์เสื้อภูไทปักลายด้วยมือ สมาชิกในกลุ่มสามารถปักลายผ้าเป็นลวดลายดอกไม้ 5 รูปแบบ และตัดแบบเสื้อได้ 5 รูปแบบ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือขาดการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมทางการตลาดที่ชัดเจนส่งผลให้ผลประกอบการยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ทางกลุ่มต้องการช่องทางในการส่งเสริมการขายและการผลิตเพื่อให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้ นอกจากนี้ทางกลุ่มยังมีความต้องการให้เสื้อภูไทปักลายด้วยมือของบ้านกุดตอแก่น ต.คุ้มเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ มีลวดลายการปักที่มีอัตลักษณ์ของกลุ่มที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดจุดเด่นและสามารถใช้เป็นจุดขายสินค้าได้อย่างยั่งยืน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
-

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. การออกแบบลวดลายปักของเสื้อผ้าภูไทและบรรจุภัณ์ โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างอัตลักษณ์และเรื่องราวของตัวสินค้า
2. เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเครื่องกลโดยใช้นวัตกรรมเครื่องตัดลวดลายผ้าด้วยเลเซอร์แบบสองแกน
3. การใช้เทคโนโลยีในยุค 4.0 ส่งเสริมการขายสินค้าเสื้อผ้าภูไท
4. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน สำหรับคนในชุมชนสำหรับการสื่อสารในการขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นในทุกมิติเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และจากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้จัดทำโครงการอาสาประชารัฐเพื่อมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพ และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่เรียนสู่การปฏิบัติงานตรงตามวิชาชีพของตนเองโดยมีชุมชนเป็นฐานในการฝึกปฏิบัติ และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
อำเภอเขาวงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท พูดภาษาภูไท มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรม ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน และไม้กวาด และในตำบลคุ้มเก่าได้มีการก่อตั้งกลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 10 บ้านกุดตอแก่น ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้แก่กลุ่มแม่บ้านของบ้านกุดตอแก่น นำโดยคุณวารี ศรีประไหม หัวหน้ากลุ่ม หลังว่างจากการทำการเกษตร กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือได้มีการพัฒนาสินค้าหลักคือเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ มีรูปแบบเสื้อหลากหลายรูปแบบตามที่มีรายการสั่งของลูกค้า จากการสัมภาษณ์คุณอัจฉราวุฒิ ศรีประไหม หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม พบว่า ทางกลุ่มยังขาดองค์ความรู้ด้านหลากหลายด้านที่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลหรือสถานศึกษาเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังเช่น ภาพลักษณ์ของผ้าย้อมครามสกลนคร เป็นต้น ความต้องการให้ผ้าภูไทปักลายด้วยมือมีการยอมรับและเป็นที่รู้จักจากกลุ่มลูกค้าทั้งภายในและต่างประเทศ นับว่าเป็นโจทย์ท้าทายที่ทางคณะดำเนินงานเล็งเห็น และอยากนำองค์ความรู้จากทั้งศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมเครืองกล ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางการออกแบบ การผลิต การตลาด การประชาสัมพันธ์ และการขาย มุ่งสร้างอัตลักษณ์เรื่องราว (Storytelling) ให้กับสินค้าส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการขายสินค้าของกลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ สร้างได้รายแก่คนในชุมชน เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงภารกิจด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยตลอดมา การบริการวิชาการแก่ชุมชนเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามให้ความสำคัญ การจัดทำโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนกลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้ คณะดำเนินงานได้เล็งเห็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์และนักศึกษาจาก หลากหลายสาขาวิชาด้วยกันทั้งด้านการออกแบบมัลติมีเดีย ด้านวิศวกรรมเครืองกล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้เข้ามามีบทบาทกับกิจกรรมการดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้ การออกแบบลายปักเสื้อภูไทด้วยมือที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เสื้อเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เครื่องตัดลวดลายผ้าด้วยเลเซอร์แบบสองแกน การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการขายสินค้าออนไลน์ การใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์และสังคมออนไลน์ด้วยสื่อมัลติมีเดีย คณะผู้ดำเนินงานมีแนวคิดนำความสามารถในด้านต่างๆ เหล่านี้สู่การถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชนบ้านกุดตอแก่น ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของอาจารย์แต่ละท่านเพื่อให้นักศึกษาได้นำประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนสู่การใช้งานจริงนอกห้องเรียน อีกทั้งยังก่อประโยชน์ให้แก่คนในชุมชนที่สามารถนำความรู้และผลลัพธ์จากโครงการไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การส่งเสริมการขายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์
  • คุณภาพชีวิตของชุมชน
  • ผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ
  • เสื้อภูไทเขาวง
  • อัตลักษณ์จังหวัดกาฬสินธุ์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย thanet thanet เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 23:13 น.