สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรุษา เชาวนลิขิต
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 114 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอย สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10250
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.ตรีสินธุ์ โพธารส
อาจารย์ ดร.น้ำฝน รักขุมแก้ว
อาจารย์ ดร.โสรยา เกตุจรัส
อาจารย์ ดร.ภัคจิรัตน์ สิงหะบุตร
อาจารย์ ดร.สิริฉัตร ชนะดัง
นางสาวไพจิตรี ป่าขมิ้น
นางสาวสุพรรณา แดงเจริญ
นางสาวนัยนา ตั้งใจดี
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 30 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 380,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครนายก องครักษ์ องครักษ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชุมชนต่างๆในพื้นที่จังหวัดนครนายก ก่อนที่คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้เข้าดำเนินโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความเชี่ยวชาญ ยังไม่มีกลุ่มเป้าหมายและตลาดในการวางขายที่ชัดเจน และขาดความรู้เกี่ยวกับคุณภาพทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์บางผลิตภัณฑ์มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพหากรับประทานเป็นเวลานาน และในระยะเวลาติดต่อกัน สำหรับหน่วยงานจังหวัด ทุกหน่วยงานให้ข้อมูลว่าก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมการเสวนา มีการแลกเปลี่ยนกันน้อย จึงไม่ทราบความต้องการที่ตรงกันของกลุ่มชุมชนเป้าหมาย หรือการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน
2.กลุ่มเกษตรกรแม่บ้านหนองจิกพัฒนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ได้ทำการเพาะปลูกข้าวโพดหวาน ผลผลิตที่ได้จำหน่ายให้กับพ่อค้านำไปขายเป็นข้าวโพดหวานต้ม ในแต่ละฤดูกาลเพาะปลูก จะมีข้าวโพดที่เหลือจากการจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลผลิตเหล่านี้เกิดการเสื่อมเสีย ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวความคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตข้าวโพดหวาน เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น เช่น ข้าวเกรียบข้าวโพด ซึ่งเป็นการเพิ่มการใช้ประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ต่อไป
3.ชุมชนเจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำมะดันพร้อมดื่ม ท้องม้วนปราศจากกลูเตน ปลากรอบสามรส ยังไม่มีการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างจริงจังและเป็นระบบ
4.เดิมก่อนกลุ่มชุมชนบ้านคลอง 1 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก นั้นมีอาชีพทำการประมงน้ำจืด เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนดาไมท์ และปลาน้ำจืดพื้นบ้าน จากนั้นทางชุมชนได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกุ้งซึ่งได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรงเรือน การสุขาภิบาล และสุขอนามัยที่ดีในการผลิตอาหาร จากทางโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โครงการที่ 4 คลีนิคเทคโนโลยีอาหารแปรรูปเพื่อเกษตรกร หลังจากที่ทางกลุ่มสามารถจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนได้แล้วนั้นก็ได้มีการเริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม ทันสมัยและมีความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านคลอง 1 ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจและสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น}
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การจัดกระบวนการ และเทคนิคการสรุปการเสวนาแบบมีส่วนร่วม
2.ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพ
3.การนำความรู้ และเทคนิคของกระบวนการแปรรูปอาหารมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรฯ และสภาพพื้นที่ ประกอบกับการที่นักวิชาการได้ให้แนวคิด ในการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเกษตรกรฯ
4. การทดสอบทางประสาทสัมผัส รวมทั้งการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ใช้ในการสำรวจการยอมรับ และทัศคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารจากชุมชนในจังหวัดนครนายก รวมทั้งความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของชุมชนเป้าหมายให้มีเอกลักษณ์ที่น่าจดจำ และได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2552 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ชุมชนในระดับต่างๆ ได้รับข้อมูล ความรู้ ทักษะทางด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร และเป็นโอกาสที่จะสามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มคุณภาพชีวิต และพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และของประเทศในที่สุด การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ของคณะฯ ยึดถือแนวทางที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางด้านเกษตรกรรม ดังนั้นการต่อยอดโดยใช้พื้นฐานทางเกษตรกรรม อาทิ การใช้วัตถุดิบทางการเกษตร จึงน่าจะเป็นการต่อยอดจากรากฐานเดิม ให้นำไปสู่การพัฒนาภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นการพัฒนาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งนี้การดำเนินงานของโครงการฯ จะได้ยึดถือจากนโยบายของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ว่าในการบริการวิชาการแก่สังคมนั้น ต้องการให้มีการมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เห็นผลในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ได้แก่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก และ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และตรงกับนโยบายที่ต้องการให้มีการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนามหาวิทยาลัย รวมทั้งให้มีการบูรณาการของพันธกิจด้านการบริการวิชาการกับพันธกิจอื่น และมีการบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดงานบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครนายกในระยะเวลา 4 ปี (2561 – 2564) ประเด็นที่ 1 คือ การพัฒนาการเกษตรครบวงจร เพื่อเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการพัฒนาแปรรูปสินค้าเกษตรและ SME ซึ่งคณะฯ มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่ามีศักยภาพในการดำเนินการดังกล่าวร่วมกับจังหวัดได้เป็นอย่างดี
จากการที่คณะฯ ได้มีการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายและมีการติดตามผลการดำเนินงาน/ผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมร่วมกับองค์กรท้องถิ่น และการได้พบกับวิสาหกิจชุมชนที่มีความต้องการ ทำให้สามารถร่วมกันวางแผนการดำเนินการเบื้องต้นได้ตรงตามความต้องการของชุมชน ในปี 2560 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน หลายโครงการได้แก่ โครงการเสริมศักยภาพโดยการบ่มเพาะชุมชนต้นแบบ การอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GMP และทักษะการทำงาน การอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้ คลีนิกเทคโนโลยีอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังมีความต้องการจากชุมชนในเขตจังหวัดนครนายก และผู้สนใจทั่วไปอีกมาก โดยมุ่งเป้าสู่อาหารปลอดภัย เพื่อสร้างมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าเชื่อถือ หรือการแปรรูปผักและผลไม้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเกิดผลิตภัณฑ์เหลือทิ้งจากการไม่ได้มาตรฐาน และยืดอายุการเก็บรักษา และส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณาจารย์ คณะทำงาน และผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไปได้ คณาจารย์สามารถใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนและงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการยังได้รับความรู้ และประโยชน์ในหลายได้ เช่น มีความรู้ และมีทักษะการแปรรูปอาหารที่ใช้ในการเรียน และการต่อยอดสร้างอาชีพในอนาคต รวมถึงการมีทักษะสื่อสาร และการสร้างจิตสาธารณะให้กับนิสิต ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นิสิตนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคตได้
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 คณะจะได้ดำเนินการโครงการบริการวิชาการ โครงการจึงได้วางแผนโดยนำข้อมูลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะฯ ที่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก มาดำเนินการเผยแพร่ในรูปแบบนิทรรศการร่วมกับหน่วยงานราชการของจังหวัดนครนายก เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรหรือผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายกได้มีแนวทางในการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายโอกาสทางการตลาดได้ หากมีผู้สนใจในการนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร จะดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำออกสู่ตลาดได้ โดยจัดกิจกรรมอาทิเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอด การส่งเสริมมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด และการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ครบวงจร และมีความยั่งยืนต่อไปได้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 18:37 น.