สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาแกนนำสร้างความสุขสู่ชุมชน : สยามหัวเราะ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาแกนนำสร้างความสุขสู่ชุมชน : สยามหัวเราะ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม บัณฑิตวิทยาลัย
ชื่อชุมชน หมู่ 4 ตำบลท่าช้าง
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ บัณฑิตวิทยาลัย 114 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอย สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10250
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. อาจารย์ ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
2. อาจารย์ทัศนา ทองภักดี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
3. อาจารย์ ดร.วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล กรรมการ
4. อาจารย์ ดร.ขนิษฐา สาลีหมัด กรรมการ
5. อาจารย์ ดร.สุเมษย์ หนกหลัง กรรมการ
6. อาจารย์ ดร.ปริชัย ดาวอุดม กรรมการ
7. อาจารย์ ดร.ณัชวดี จันทร์ฟอง กรรมการ
8. นางสาวนันทนา วงค์หาญ กรรมการและเลขานุการ
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 ธันวาคม 2561 - 16 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 544,280.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สระแก้ว วัฒนานคร หนองหมากฝ้าย place directions
สระแก้ว วัฒนานคร หนองแวง ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
1 หมู่บ้านท่าช้าง ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ในปีที่ผ่านมา ผู้อำนวยการรพสต บ้านท่าช้าง ย้ายไปประจำที่ตำบลหนองแวง ช่วงปี 2562 จึงถือเป็นบททดสอบให้แก่กลุ่มแกนนำสามวัย ว่าสามารถสร้างควมเข้มแข็งหรือความยั่งยืนได้อยู่หรือไม่ โดยภายหลังจากการเปลี่ยนผอ พบว่า แกนนำอสม ได้รับการมอบหมายงานการส่งเสริมสุขภาพในวิธีการอื่นๆ ทำให้การเข้ามาร่วมกลุ่ม ไม่คึกคักเท่ากับช่วง 6 ปี ก่อน กลุ่มผู้สูงอายุ ยังมีการรวมพลังกันได้มากกว่า กลุ่ม อสม และกลุ่มเด็ก เนื่องจาก ยังคงมีโรงเรียนหมากฝ้ายวัยเก๋า ทำให้ยังมีกิจกรรมที่รวมกลุ่มได้ กลุ่มเด็ก จะรวมตัวกันบ้างแบบบางเบา
ในชุมชนบ้านท่าช้าง จะยังคงมีการติดตามกลุ่มสามวัย และการให้ความรู้เพิ่มเติม เพือ่มุ่งหวังให้นำความรู้ไปบูรณาการกับงานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยตามบ้านได้ โดยใช้การสยามหัวเราะเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการสร้างกำลังใจให้แก่คนไข้

2 ตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ปีงบประมาณ 2561 ได้ทดลองนำร่องเข้าไปในชุมชน และมีการประสานงานกับผู้นำชุมชน ซึ่งมีความต้องการให้มาสร้างแกนนำ ซึ่งจากการลงพื้นที่ ชุมชนตำบลหนองแวงมีความแตกต่างจากชุมชนหนองหมากฝ้าย แกนนำจะมีความเข้มแข็งมากกว่า มีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนได้ มีความมั่นใจมากกว่าหมู่บ้านท่าช้าง อย่างไรก็ตาม หมูบ้านนี้ ยังไม่ค่อยมีคนนอกพื้นที่ เข้ามาเพื่อหาโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง อสม มีจำนวนมาก แต่ยังไม่มีความมั่นใจในการทำงาน ยังไม่สามารถสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นให้กับคนในชุมชนเท่าที่ต้องการอยากให้เป็น จึงต้องการมีความรู้ และมีนักวิชาการมาประกบ ในการเข้าพื้นที่ เพื่อจะทำให้เกิดการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านยังไม่ทราบถึงประวัติชุมชนของตัวเอง มีความต้องการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ผู้นำชุมชน ซึ่งมีความต้องการให้มาสร้างแกนนำสามารถสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นให้กับคนในชุมชนเท่าที่ต้องการอยากให้เป็น จึงต้องการมีความรู้ และมีนักวิชาการมาประกบ ในการเข้าพื้นที่ เพื่อจะทำให้เกิดการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. ฺBrain Gym โดยการใช้เพลงประกอบท่าทาง กระตุ้นความมีส่วนร่วม
2. ความรู้ด้านการทำ CPR การทำเฝือก การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
3. ความรู้ด้านหัวเราะบำบัดด้วยสยามหัวเราะ
4. ความรู้ด้านการทำประวัติศาสตร์ชุมชน
5. ความรู้ด้านคุณภาพชีวิต
6 ความรู้ด้านการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และ Action research
7 ความรู้ด้าน Empowerment และ psychological capital
8 ความรู้ด้านการใช้คำถามทรงพลัง
9 ความรู้เรื่องการใช้ภาษาสื่อสารเพื่อสร้างแรงเสริมทางบวกแก่กลุ่มเป้าหมาย

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชน มีจุดมุ่งหมาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัย ที่แต่ละคณะ หรือหน่วยงานสามารถเข้าไปให้เพื่อตรงกับความต้องการของทางชุมชน จากการลงพื้นที่ทำงานของบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ ณ ตำบลหนองหมากฝ้าย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 มาถึงปีพ.ศ. 2561 พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและตัวแทนผู้นำในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการโครงการพัฒนาสาระชีวิต มีพัฒนาการด้านความกล้าแสดงออกดีขึ้น (ปีพ.ศ. 2554-2557) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการศาสตร์และศิลป์แห่งการหัวเราะ ด้วยสยามหัวเราะ (ปีพ.ศ.2556-2557) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีอัตราการเจ็บป่วยด้านกายและจิต จนปรับเปลี่ยนเป็นโครงการพัฒนาแกนนำสร้างสุขสู่ชุมชน (ปีพ.ศ.2558-2561) เนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความต้องการเป็นแกนนำความสุขด้วยสยามหัวเราะ และได้เริ่มมีกิจกรรมเป็นแกนนำร่วมกับผู้สูงอายุ และในปี 2559 มีการนำเด็กในชุมชนมาร่วมเป็นแกนนำจนเกิดแกนนำ 3 วัย ขึ้นมา และมีการขยายผลของความรู้ด้านการสร้างสุขด้วยเสียงหัวเราะ ไปยังงานส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ของทางตำบล ผู้สูงอายุเข้มแข็งขึ้น จนชุมชนนั้นได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องสยามหัวเราะ และขยายผลไปยังอำเภอข้างเคียง จนในปัจจุบัน ที่ท่าช้างเป็นอีกหนึ่งสถานที่ของการดูงานจากจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย และจากความเข้มแข็งของผู้สูงอายุ จึงเป็นผลกระทบ (Impact) จุดเริ่มต้นส่วนหนึ่งที่ทางอำเภอได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ หมากฝ้ายวัยเก๋า ให้กับผู้สูงอายุดทั้งตำบลนอกจากนี้ ปี พ.ศ. 2558 ถือเป็นการเปิดตัวระดับจังหวัดที่ได้จัดมหกรรมหัวเราะโลกครั้งที่ 1 และในปีพ.ศ. 2559 ทางจังหวัดกำหนดยุทธศาสตร์ให้แต่ละอำเภอมีการสร้างกลุ่มหัวเราะบำบัดขึ้นมา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน อันเป็นผลจากความสำเร็จในการทำโครงการที่ชุมชนท่าช้าง จนนำมาสู่การบูรณาการระดับจังหวัดและมหาวิทยาลัย โดยมีการทำ MOU ในปี 2559 ทางปลัดสาธารณสุขจังหวัดมีการวางแผนจัดการพัฒนาแกนนำหัวเราะในแต่ละตำบล และทางจังหวัด นำเรื่องหัวเราะบำบัด เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ประจำปี 2559 ทั้งนี้ ได้ขยายผลการจัดโดยตัวแทนแต่ละอำเภอส่งคนเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม ผลจากการส่งตัวแทนจากอำเภอเพียง 2-3 คน ไม่สามารถนำไปสู่การจัดตั้งหรือการขยายผลได้อย่างเข้มแข็ง เพราะงานอื่นๆ และความสามารถในการจดจำท่า หรือการต่อเนื่องของการนำความรู้ไปใช้ทำได้ไม่เต็มที่นัก จึงมีการประเมินผลร่วมกันระหว่างตัวแทนผู้เข้าอบรมและคณะทำงานว่า ควรจัดเข้าพื้นที่หมู่บ้านที่มีความต้องการให้มีการจัดอบรม และจะสะดวกต่อการเดินทางเพื่อเข้าร่วมมากกว่าด้วย
โดยในปีงบประมาณ 2561 ทางคณะทำงานฯ ได้รับการติดต่อจากทางชุมชมหนองหัวข้าง ว่ามีความประสงค์จะให้กิจกรรมสร้างสุขให้แก่ชุมชนด้วยสยามหัวเราะ จึงได้ลงไปยังพื้นที่เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ และวางแผนที่จะร่วมสร้างกิจกรรมต่อเนื่องกับทางชุมชน และมีพื้นที่ตำบลหนองแวง ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่เช่นกัน ที่มีความประสงค์ให้ช่วยทำกิจกรรมสร้างแกนนำชุมชนสร้างสุขด้วยเสียงหัวเราะ ทางคณะทำงานฯ จึงเห็นว่าควรจะเริ่มเปิดพื้นที่ใหม่ และวางแผนให้พื้นที่มีการสร้างเครือข่ายภายในชุมชนของอำเภอวัฒนานคร ให้มีความเข้มแข็งต่อไป
นอกจากนี้ สำหรับชุมชนบ้านท่าช้าง ทางคณะทำงานฯ ยังคงมีการลงพื้นที่ต่อเนื่องเพื่อติดตามและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มแกนนำ 3 วัย โดยเฉพาะกับวัยเยาวชน ที่จะเป็นทรัพยากรชุมชนที่เข้มแข็ง หากได้เริ่มสร้างตนเองให้เป็นเด็กคุณภาพ มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชน และเป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับตนเองอีกด้วย และจากการลงพื้นที่ของโครงการบริการจิตอาสาม หมอจิ๋ว จากทางโรงพยาบาลชลประทานด้วยนั้น ยิ่งทำให้งานด้านส่งเสริมสุขภาพและการสร้างความสุขด้วยการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้านมีการผสมผสานกระบวนการอย่างอัศจรรย์ใจ ซึ่งทางกลุ่มแกนนำสามวัย จึงยังต้องการองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้การทำงานส่งเสริมสุขภาพภายในชุมชนเกิดประสิทธิภาพขึ้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาศักยภาพมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมบูรณาการกับ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาพัฒนาแกนนำสร้างสุขด้วยสยามหัวเราะ โดยในปีงบประมาณ 2562 จะเป็นการเข้าไปเปิดพื้นที่ชุมชนหนองแวงและชุมชนหนองหัวช้าง เนื่องจากปีงบประมาณ 2561 ได้ทดลองนำร่องเข้าไปในชุมชน และมีการประสานงานกับผู้นำชุมชน ซึ่งมีความต้องการให้มาสร้างแกนนำ ซึ่งจากการลงพื้นที่ 2 พื้นที่นี้ มีความแตกต่างจากชุมชนหนองหมากฝ้าย โดยคณะทำงาน จะใช้รูปแบบการทำงานที่เคยทำกับทางชุมชนบ้านท่าช้างมาทำกับทางชุมชนหนองแวง โดยจะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรม ร่วมประเมินผล เพื่อให้ได้ผลที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และจะได้เป็นการขยายผลองค์ความรู้ต่อด้วย
ในชุมชนบ้านท่าช้าง จะยังคงมีการติดตามกลุ่มสามวัย และการให้ความรู้เพิ่มเติม เพือ่มุ่งหวังให้นำความรู้ไปบูรณาการกับงานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยตามบ้านได้ โดยใช้การสยามหัวเราะเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการสร้างกำลังใจให้แก่คนไข้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 15:31 น.