สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร

การยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลลำคลอง
ชื่อชุมชน บ้านสะอาดนาทม ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้รับผิดชอบ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพสุข ฤทธิเดช
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 80 ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาภาษาไทย,สาขาอุตสาหกรรมศิลป์,สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
การติดต่อ 081-574-5776, 043-721-445,096-636-8131
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 586,700.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒o ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒o ปี ระหว่างปี ๒๕๖o ถึง ปี ๒๔๗๙ โดยน้อมเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดคณะทีมทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนในเขตองค์กรปกครองเทศบาลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ พบว่าพื้นที่เขตเทศบาลตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ประมาณ ๗ ถึง ๙ หมู่บ้าน มีอาชีพการทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักปลูกข้าวหลายชนิด มีปัญหาการทำนาปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี ข้าวประสบปัญหาการเกิดโรค เกษตรกรขาดองค์ความรู้ การป้องกันปราบปรามศัตรูพืช ขาดองค์ความรู้เรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวและมีปัญหาในการรวมกลุ่มไม่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรมีความต้องการให้มีการรวมกลุ่มและมีการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในระดับท้องถิ่นของตนเอง และได้บริโภคข้าวที่เป็นข้าวอินทรีย์ คณะทีมทำงานได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาจากองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เคยมีประสบการณ์จากโครงการบริการวิชาการการยกระดับผู้ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอย่างครบวงจรซึ่งเป็นโครงการได้รับทุนสนับสนุนด้วยยุทธศาสตร์แผนบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีชุดความรู้เรื่องกระบวนการทำงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมืองเตาการผลิตข้าวหอมมะลิได้มาตรฐานพืชอาหาร GAP ตามการรับรองของกรมวิชาการการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้ชุดความรู้เรื่องกระบวนการแปรรูปข้าวหอมมะลิเป็นข้างฮางงอก ข้าวคั่วสมุนไพร ข้าวกล้อง เป็นต้น
ด้วยความสำคัญและปัญหาดังกล่าวมาทำให้คณะทีมทำงานได้จัดทำโครงการยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร โดยระดมองค์ความรู้ นวัตกรรม บุคลากร และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมพัฒนาข้าวในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเริ่มตั้งแต่ด้านกระบวนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพดินและน้ำ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การแปรรูปข้าวและเชื่อมประสานช่องทางการตลาดที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP (Good Agricultural Practice) และเกษตรอินทรีย์โดยการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในจังหวัดที่เป็นองค์กรเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมปลูกข้าวให้ได้มาตรฐานตามกระกรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดไว้ ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับการผลิตข้าวในจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ข้าวอินทรีย์
  • มาตรฐานข้าวอินทรีย์
  • ยกระดับมาตรฐานอินทรีย์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo สบว.ลงพื้นที่ต.ลำคลอง กาฬสินธุ์สบว.ลงพื้นที่ต.ลำคลอง กาฬสินธุ์
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • สารคดีเมืองเตา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย asc.rmu.63 asc.rmu.63 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 08:32 น.