สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอาชีพสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง

โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอาชีพสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอาชีพสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
หน่วยงานร่วม กลุ่มสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง
ชื่อชุมชน กลุ่มอาชีพ สมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จ.สงขลา
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.นิจกานต์ หนูอุไร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์จิราพร คงรอด
อาจารย์จารุมาศ เสน่หา
การติดต่อ 088-7834801
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 220,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา เมืองสงขลา เขารูปช้าง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดความรู้ด้านการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ผู้บริโภคส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ทั้งนี้เพราะ ตรายี่ห้อทำให้ผู้บริโภคแน่ใจว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการถูกต้องแล้ว และมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อภายใต้ยี่ห้อที่ระบุไว้นั้น ตรายี่ห้อทำให้กระบวนการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้จากหลาย ๆ ยี่ห้อ และสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การตัดสินใจซื้อง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ผู้ขายเองก็พึงพอใจที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อเพราะขายได้ง่ายกว่า เมื่อผู้บริโภคระบุชื่อตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซื้อ ผู้ขายก็สามารถรับคำสั่งซื้อได้ทันที ตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้ขายสามารถตกแต่งและจัดวางผลิตภัณฑ์ที่ขายได้สวยงามมากขึ้น และสามารถแยกส่วนตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ขายออกจากกันได้ชัดเจน
ในส่วนของผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีตรายี่ห้อเข้าเสนอขายเข้าเสนอขาย และแนะนำในตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ง่ายกว่าการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ผู้ผลิตสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขายสู่ตลาดมีความหลากหลายแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่มีขายอยู่แล้วในตลาดและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้หลาย ๆ ส่วน ในเวลาเดียวกัน เช่น เมื่อต้องการขายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ละคนและตลาดก็ผลิตสินค้าออกมาให้คุณภาพต่างกัน ราคาต่างกันเพื่อส่วนตลาดที่ต่างกัน โดยผู้บริโภคแต่ละส่วนตลาดสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อได้อย่างชัดเจน สังคมโดยรวมก็ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อผู้ผลิตต้องการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อขายในตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ขายต้องมีความแตกต่างชัดเจนจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันนั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องคิดค้นและนำเสนอประโยชน์และรูปแบบใหม่ ๆ ของผู้บริโภคบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ มีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) หรือการบรรจุหีบห่อนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญทั้งในทางเศรษฐกิจการขนส่งและการจำหน่ายสินค้าทุก ประเภท ทั้งนี้เพราะสินค้าแทบทุกชนิดจำเป็นต้องอาศัยการบรรจุหีบห่อแทบทั้งสิ้น ผลิตภัณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาวะสิ่งแวดล้อมภายนอก และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้นานที่สุด พร้อมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ไว้ให้นานที่สุด พร้อมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ออกใช้ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมีส่วนในการเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์และเร่งเร้าให้ เกิดความต้องการเพื่อผลทางการตลาดอีกด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว บรรจุภัณฑ์จึงได้รับความสำคัญขึ้นมาเป็นอย่างมาก และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผู้ผลิตนำมาเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขัน ซึ่งถ้าตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีฐานะเป็นพระเอก (The Lead) บรรจุภัณฑ์ก็เปรียบเสมือนพระรอง (The Subordinate) ที่นำมาเน้นย้ำการบริการตัวเองเป็นผู้ช่วยขายผลิตภัณฑ์ เพราะสามารถแสดงตัวหรือตราสินค้า (Brand) ต่อผู้ใช้ประจำได้อย่างรวดเร็ว และยังพยายามที่จะจูงใจผู้ที่ไม่เคยใช้ให้เกิดความสนใจอยากที่จะทดลองใช้ เป็นครั้งแรกอีกด้วย ดังสินค้าและบรรจุภัณฑ์จึงเป็นของคู่กันมาตลอด ยิ่งสินค้าผลิตภัณฑ์มีการคิดค้น การผลิต การแข่งขันมากเท่าใด การบรรจุภัณฑ์ก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นตามไปมากเท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญสำหรับสินค้าและการตลาดอย่างจะขาดเสียซึ่งสิ่งหนึ่งใด มิได้
จากการสัมภาษณ์ประธานสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพในเทศบาลตำบลเขารูปช้างจำนวน 48 กลุ่ม พบว่า มีความต้องการโครงการบริการวิชาการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การพัฒนาตราสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้สินค้าของกลุ่มอาชีพสามารถสร้างรายได้จากการขายได้มากขึ้น รวมถึงเป็นการปรับปรุงสินค้าอันนำไปสู่การขอมาตรฐาน อาทิ อย. มผช. มาตรฐาน พช. ได้ในอนาคต ดังนั้นโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอาชีพสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้างนั้น มีเป้าหมายที่สำคัญที่ทำให้สมาชิกในกลุ่มอาชีพได้เล็งเห็นวามสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด ซึ่งจะนำมายังรายได้จากการขายและการขยายตลาดได้ในอนาคต

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การออกแบบตราสินค้า
  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 15:59 น.