สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ

banner1


ข่าวประชาสัมพันธ์ ศวสต.

สื่อรณรงค์ ช่วยกันสู้โควิด วิธีดูแลตัวเอง และ คู่มือวัคซีนสุ้โควิด ฉบับประชาชน

@7 พ.ค. 64 16:40
ชวนคนไทยการ์ดอย่าตก สสส ส่งสื่อรณรงค์คู่มือวัคซีนสุ้โควิด ฉบับประชาชน ช่วยกันสู้โควิด สู้ โควิด ไปด้วยกันวิธีดูแลตัวเอง-เพื่อรับมือไวรัสโคโรนา-19ที่ มา สสส

สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. ร่วมมือกับ กยท. พัฒนาศักยภาพเกษตกรพืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

@7 เม.ย. 64 12:31
สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. ร่วมมือกับ กยท.จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพเกษตกรพืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และลงพื้นที่ดูงาน การสร้างแปลงต้นแบบวนเกษตรยางพารา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ณ. อ.ถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. จับมือ 10 อปท. ใน อ.แว้ง อ.สุไหงปาดี และ อ.สุไหงโกลก ดำเนินแผนงานตำบลบูรณาการระบบอาหา

@7 เม.ย. 64 12:19
สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. จับมือ 10 อปท. ใน อ.แว้ง อ.สุไหงปาดี และ อ.สุไหงโกลก ดำเนินแผนงานตำบลบูรณาการระบบอาหาร เพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร บริโภคอาหารที่ปลอดภัย และคนในชุมมชนมีโภชนาการที่สมวัย วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ณ. สำนักงานเทศบาลตำบลแว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส

คณะกรรมการกำกับทิศ ศวสต และคณะ ลงพื้นที่ จ.พังงา (15/2/62)

@16 ก.พ. 62 07:06
คณะกรรมการกำกับทิศโครงการ ศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.) และคณะ ลงพื้นที่ ทำงานของเครือข่าย ชุมชนมอแกนบ้านทับตะวัน อ.ตะกั่วป่า และ ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติ บ้านน้ำเค็ม อ.เขาหลัก จังหวัดพังงา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

ทีมศวสต ลงจัดเวทีในพื้นที่ ในขั้นตอนการกลั่นกรองโดยสาธาณะ (Public screening) และการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธาธาณะ (Public scoping)

@21 ธ.ค. 61 12:14
ทีมศวสต. สจรส.ม.อ. ร่วมกับ ทีมพี่เลี้ยง/ทีมนักประเมินฯ ประชุมเตรียมงาน และจัดเวทีในพื้นที่ ในขั้นตอนการกลั่นกรองโดยสาธาณะ (Public screening) และการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธาธาณะ (Public scoping) สำหรับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษาโครงการปัจจัยเสี่ยงโซนภาคใต้ตอนบนระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2
READ ALL หัวข้อทั้งหมด:news

หัวข้อทั้งหมด

การดำเนินกิจกรรมโครงการ

  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ประชุมวางแผนพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อเพื่อการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะ : ปรับกำหนดการใหม่ ได้แผนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ ให้เครือข่ายสื่อทำคอนเทนต์ (Content) มาก่อนถึงวันประชุม@27 มี.ค. 67 14:20
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : สถาบันนโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (สนส.ม.อ.)  ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายท้องถิ่นอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 20 แห่ง ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104 วัตถุประสงค์การประชุมวันนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชน ผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ได้แก่ ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ภ.ก.สมชาย  ละอองพันธ์  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา (สปสช.) คุณจงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี คุณธนพนธ์ จรสุวรรณ คณะทำงานพี่เลี้ยง และคณะทำงานเก็บข้อมูลจากท้องถิ่น 20 แห่ง@27 มี.ค. 67 09:01
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง : สถาบันนโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (สนส.ม.อ.)  ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง การพบปะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ได้ร่วมเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 10 ประเด็น เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนมาร่วมวิเคราะห์จัดทำแผนและโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณสมนึก นุ่นด้วง คุณวาลัยพร ด้วงคง และคณะพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง (เดิน/ปั่นจักรยานไปที่ต่างๆ ในชุมชน ) 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย “กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย” วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ  และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ  พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับท้องถิ่น 10 แห่งในจังหวัดตรัง ท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลย่านตาขาว 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ 3) ทต.นาโยงเหนือ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 5) องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม 6) เทศบาลตำบลโคกหล่อ 7) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 10) องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ โดยเน้นแผนงานกิจกรรมทางกายเป็นหลักในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประเด็นอื่นๆ ร่วม 10 ประเด็น เพื่อการออกแบบโครงการสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆ แบบบูรณาการได้  โดย 10 ประเด็นมี คือ 1) แผนงานกิจกรรมทางกาย 2) แผนงานขยะ 3) แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม 4) แผนงานยาสูบ 5) แผนงานสุรา 6) แผนงานสิ่งเสพติด 7) แผนงานอาหารและโภชนการ แผนงานสุขภาพจิต 9) แผนงานความปลอดภัยทางถนน 10) แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ หลักการทำแผน มี 4 คำ (อยู่ไหน, จะไปไหน,ไปอย่างไร, ไปถึงแล้วยัง) คือ  1) อยู่ไหน : สถานการณ์ 2) จะไปไหน : เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ 4) ไปถึงแล้วยัง : ประเมินผลลัพธ์ (คู่มือการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย: https://localfund.happynetwork.org/upload/forum/plandoc_pa.pdf) กระบวนการการจัดประชุม: 1) สร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 2) ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org 3) แลกเปลี่ยนนำเสนอโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู่ร่วมกัน ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้แผนสุขภาพตำบล 10 ประเด็น จำนวน 10 ท้องถิ่นนำร่องในจังหวัดตรัง และได้โครงการที่จะดำเนินการในพื้นที่ ในครั้งถัดไป คือ “ขั้นตอนที่ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ” เป็นการเขียนโครงการที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายในท้องถิ่น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสร้างกลไกความร่วมมือสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในท้องถิ่นต่อไป@27 มี.ค. 67 08:37
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 1-6

    ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลปี 2567 ในกองทุนศูนย์เรียนรู้อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร และ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เขต 3 : 1.มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  42 คน 2.ทีมพี่เลี้ยงและแกนนำอำเภอโพทะเล บันทึกแผนปี 2567 จำนวน 167  แผน  โครงการจำนวน 52 โครงการ ติดตามโครงการ  10 โครงการ และอำเภอสรรคบุรีบันทึกแผนปี 2567 จำนวน 92  แผนงาน ยังไม่มีการบันทึกโครงการและ ติดตามโครงการ 3.ทีมพี่เลี้ยงและแกนนำเตรียมการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่อำเภอโพทะเล 13 กองทุน ได้แก่ กองทุนเทศบาลตำบลโพทะเล ตำบลทุ่งน้อย ตำบลบางคลาน และตำบลท่าเสา  อบต.โพทะเล ท้ายน้ำ ทะนง ท่าบัว ท่าขมิ้น ท่าเสา วัดขวาง บ้านน้อย และท่านั่งและ อำเภอ สรรคบุรี จำนวน 8 พื้นที่@22 มี.ค. 67 14:06
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 1-6

    ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลปี 2567 ในกองทุนสมัครใจ บรรพตพิสัย เก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่เขต 3 : 1.มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม อำเภอบรรพตพิสัย 13 คนและอำเภอเก้าเลี้ยว 10 คน รวม 23 คน มีแกนนำที่มีทักษะในการจัดทำแผนงานและโครงการได้เพิ่มขึ้น จำนวน 2 คน 2.ทีมพี่เลี้ยงและแกนนำอำเภอ บรรพตพิสัยบันทึกแผน ปี2567  จำนวน 18 แผน  6 โครงการและติดตาม 5 โครงการ และ เก้าเลี้ยวบันทึกแผน ปี2567  จำนวน 25 แผน 35 โครงการ ติดตาม 0โครงการ 3.ทีมพี่เลี้ยงและแกนนำเตรียมการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่กองทุนตำบลในอำเภอบรรพตพิสัย และอำเภอเก้าเลี้ยว จำนวน อำเภอละ 5 กองทุน รวม 10  กองทุน@22 มี.ค. 67 13:15
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 1-6

    การประชุมทีมพี่เลี้ยงในการติดตามการจัดทำแผนการสร้างเสริมสุขภาวะฯกองทุนนำร่องเขต1และ3 : 1.มีการจัดประชุม จำนวน 1 ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  38 คน ร่วมประชุม online 11 คน 2. ในการแลกเปลี่ยนพบว่า • แบบฟอร์มที่ดีต้องใช้ความอดทน ใช้เวลา • กลไกพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนกลไกพี่เลี้ยงมีความจำเป็นโดยเฉพาะจากภายนอก • การพัฒนาศักยภาพคน กลไกวิชาการมีความจำเป็น  นายกฯเข้าใจผู้ช่วยเลขากองทุนมีกรรมการกองทุนเข้าร่วม workshop ทำแผนและเขียนโครงการ    อนุกรรมการช่วยในการติดตามประเมินผล และต้องการความรู้และทักษะด้านการติดตามประเมินผลอย่างมากตำบลบ้านเหล่า สูงเม่นและตำบลแม่ใส มีนโยบายของผู้บริหารสนับสนุนภารกิจเช่นการเอาข้อมูลผู้สูงอายุไปใช้ในการวางแผนร่วมกันนำไปสู่การทำธรรมนูญสังคมสูงวัย ศักยภาพของคนดีขึ้นมาก คณะกรรมการเดิมเช่นผู้บริหารกองทุนปัจจุบันท้องถิ่นเป็นผู้บริหารกองทุนเจ้าหน้าที่อบตต้องมีความเข้าใจการทำแผนและวิธีเขียนโครงการและการเชื่อมกลไกต่างๆ ข้อจำกัด ของท้องถิ่นคือโครงสร้างแตกต่างกัน คณะกรรมการกองทุนมีการนำเสนอให้กรรมการรับทราบ คนเขียนโครงการยังไม่ค่อยเปลี่ยนมีข้อจำกัดของการเขียนโครงการ  การเขียนโครงการใช้งบประมาณของส่วนใหญ่ในการให้ความรู้ การเชื่อมกลไกต่างๆระหว่างท้องถิ่นกับหน่วยงานเช่นรพสต ชุดความรู้ยังไม่ค่อยเกิดขึ้น ข้อเสนอ  พี่เลี้ยงจะช่วยประสานเพิ่มการรับรู้การมีส่วนร่วมของกรรมการผู้รับผิดชอบควรใช้เว็บเพื่อการเรียนรู้การทำงานระหว่างพชอ /อบจ • การใช้เครื่องมืออื่นๆเข้ามาประกอบการทำงานและควรพัฒนาต่อ@22 มี.ค. 67 12:56
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 1-6

    การประชุมทีมพี่เลี้ยงในการติดตามการจัดทำแผนการสร้างเสริมสุขภาวะฯกองทุนทั่วไปเขต1-6 : 1.มีการจัดประชุม จำนวน 1 ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  13 คน 2. ในการแลกเปลี่ยนพบว่า • แบบฟอร์มที่ดีต้องใช้ความอดทน ใช้เวลา • กลไกพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนกลไกพี่เลี้ยงมีความจำเป็นโดยเฉพาะจากภายนอก • การพัฒนาศักยภาพคน กลไกวิชาการมีความจำเป็น  นายกฯเข้าใจผู้ช่วยเลขากองทุนมีกรรมการกองทุนเข้าร่วม workshop ทำแผนและเขียนโครงการ    อนุกรรมการช่วยในการติดตามประเมินผล และต้องการความรู้และทักษะด้านการติดตามประเมินผลอย่างมากตำบลบ้านเหล่า สูงเม่นและตำบลแม่ใส มีนโยบายของผู้บริหารสนับสนุนภารกิจเช่นการเอาข้อมูลผู้สูงอายุไปใช้ในการวางแผนร่วมกันนำไปสู่การทำธรรมนูญสังคมสูงวัย ศักยภาพของคนดีขึ้นมาก คณะกรรมการเดิมเช่นผู้บริหารกองทุนปัจจุบันท้องถิ่นเป็นผู้บริหารกองทุนเจ้าหน้าที่อบตต้องมีความเข้าใจการทำแผนและวิธีเขียนโครงการและการเชื่อมกลไกต่างๆ ข้อจำกัด ของท้องถิ่นคือโครงสร้างแตกต่างกัน คณะกรรมการกองทุนมีการนำเสนอให้กรรมการรับทราบ คนเขียนโครงการยังไม่ค่อยเปลี่ยนมีข้อจำกัดของการเขียนโครงการ  การเขียนโครงการใช้งบประมาณของส่วนใหญ่ในการให้ความรู้ การเชื่อมกลไกต่างๆระหว่างท้องถิ่นกับหน่วยงานเช่น รพสตใ ชุดความรู้ยังไม่ค่อยเกิดขึ้น ข้อเสนอ  พี่เลี้ยงจะช่วยประสานเพิ่มการรับรู้การมีส่วนร่วมของกรรมการผู้รับผิดชอบควรใช้เว็บเพื่อการเรียนรู้การทำงานระหว่างพชอ /อบจ • การใช้เครื่องมืออื่นๆเข้ามาประกอบการทำงานและควรพัฒนาต่อ@22 มี.ค. 67 12:40
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ภาคใต้ : สุราษฎร์ธานี)

    ประชุมกลั่นกรองโครงการ ทำข้อตกลงรับทุน : กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมตามแผน 18 คน โครงการได้รับการทำข้อตกลง 5 โครงการ( ในชุมชน 3 โครงการ /ในสถานศึกษา 2 โครงการ งบประมาร 140,000 บาท)   2.1  ข้อตกลงเลขที่ 67-ข-037  โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาและสันทนาการอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา 35,000บาท   2.2  ข้อตกลงเลขที่ 67-ข-038  โครงการส่งเสริมการการออกกำลังกาย ในกลุ่มเสี่ยง NCDs  35,000บาท   2.3  ข้อตกลงเลขที่ 67-ข-039  โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง NCDs ในตำบลป่าร่อน  35,000บาท   2.4  ข้อตกลงเลขที่ 67-ข-040  โครงการพิชิตกายแข็งแรงด้วยกิจกรรมทางกาย  15,000 บาท   2.5  ข้อตกลงเลขที่ 67-ข-041  โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุตำบลชลคราม 20,000 บาท@21 มี.ค. 67 20:14