สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

รายละเอียดโครงการ
เลขที่ข้อตกลง เลขที่ 61-
ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
ชุดโครงการ แผนงานโซนใต้อันดามัน
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา
คณะทำงาน ?
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2561 - 15 มีนาคม 2562
งบประมาณโครงการ 100,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (คน) 20
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
จังหวัด ภูเก็ต
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9495535548108,98.284450856888place

หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย หลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้ จากข้อมูลสถิติขององค์การการท่องเที่ยวโลกระบุว่า ในปี 2555 การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศมากถึง 1,035 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์แนวโน้มในระยะยาว 10 ปี (ปี 2553-2563) ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.8 สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจถึง 1,075 ล้านเหรียญสหรัฐ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งมากที่สุด (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2556 และ UNWTO, 2013) อย่างไรก็ดีการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นผลกำไรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ยังคงเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของการท่องเที่ยวกระแสหลัก (Mass Tourism) ซึ่งมีอำนาจทางการตลาดเหนือกว่าการท่องเที่ยวในลักษณะอื่น (Mieczkhowski, 1995) เนื่องจากการท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นการเดินทางท่องเที่ยวตามกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยการให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เข้าถึงง่าย และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นพื้นฐานไว้รองรับ การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเมื่อขาดการจัดการที่ดีจะ ส่งผลให้เกิดการไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะเดียวกันทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว หรือตัวแหล่งท่องเที่ยวมีความสามารถในการรองรับอยู่อย่างจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น (ฉัตรเฉลิม องอาจธานศาล, 2551)
ปัจจุบันพลวัตรการพัฒนาทิศการท่องเที่ยวมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเสนอการท่องเที่ยวทางเลือก (Alternative tourism) ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะโดยมุ่งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่ม Mass คือ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับต่ำ มีการกระจายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตามความสนใจเฉพาะ มุ่งเน้นการการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาเรียนรู้ มีความซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจสูง (Mieczkhowski, 1995) คำนึงถึงความสามารถในการรองรับได้ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงขีดจำกัดทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และพยายามที่จะปกป้องรักษา เพิ่มพูนประสิทธิภาพฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความเป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่น (Wearing and Neil, 2009)

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ตัวชี้วัด / การดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / เป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

วัตถุประสงค์โดยตรง

เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

คุณภาพชีวิต รายได้ เศรษฐกิจชุมชน การศึกษา อัตราการเจริญโตของธุกิจท่องเที่ยวในบริเวณชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา

เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีความเชื่อมโยงภายในพื้นที่ใกล้เคียง (network) ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

กิจกรรมหลัก

วันที่ทำกิจกรรมชื่อกิจกรรมหลักงบประมาณ
(บาท)
กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
กิจกรรม
(ครั้ง)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
(ครั้ง)
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening) 20,000.00 20 2 29,700.00 2 22,800.00 more_vert
23-24 ก.ค. 61 กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening) 20 - -
13 ก.ย. 61 กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening) 20 - -
2 กิจกรรมสานสัมพันธ์ ม.อ. พบปะสมาชิกท่องเที่ยวชุมชนตำบลกมลา 9,900.00 20 1 9,900.00 - - more_vert
3 พ.ค. 61 กิจกรรมสานสัมพันธ์ ม.อ. พบปะสมาชิกท่องเที่ยวชุมชนตำบลกมลา 20 - -
3 ติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม 50,000.00 20 8 37,721.00 8 84,700.00 more_vert
29-30 ก.ย. 61 นำคณะนักศึกษาเข้าร่วมฐานกิจกรรมเพื่อประเมินความพร้อมและการจัดการของชุมชน 80 - -
21 ต.ค. 61 ติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม 20 - -
1-2 ธ.ค. 61 รายงานผลการศึกษาให้ชุมชนผ่านกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม 20 - -
18 ธ.ค. 61-3 พ.ค. 62 รายงานความก้าวหน้า ณ สจรส. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วข.หาดใหญ่ 15 - -
9 ก.พ. 62 ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์โครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม 80 - -
13 มี.ค. 62 รายงานผลแก่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม 50 - -
25 เม.ย. 62 แลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านจากจังหวัดนราธิวาสผ่านโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านหัวควน 45 - -
4-5 พ.ค. 62 รายงานผลการประเมินและสรุปแผนงาน 2 - -
รวม 79,900.00 60 11 77,321.00 10 107,500.00

คำเตือน : งบประมาณของกิจกรรมหลัก (79,900.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณของกิจกรรมย่อย (77,321.00 บาท)

คำเตือน : งบประมาณของโครงการ (100,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณของกิจกรรมหลัก (79,900.00 บาท)

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 น.

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
4 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 26 ตุลาคม 2562 17:51:27
Project owner
แก้ไขโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อ 2 กรกฎาคม 2563 13:59:45 น.

ชื่อกิจกรรม : รายงานผลการประเมินและสรุปแผนงาน

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานผลการดำเนินกิจกรรมการประเมินผลกระทบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

การรายงานผลการดำเนินโครงการของหัวโครงการ การประเมินผลกระทบจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา โดย ดร. อภิรมย์ พรหมจรรยา  และ ดร.จินดา สวัสดิ์ทวี

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. เพื่อรายงานผลการประะเมินผลกระทบในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  2. เพื่อทราบข้อเสนอแนะทีไ่ด้จากการการประเมินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

นักวิจัย 2 ท่าน จากการประเมินผลกระทบโดยชุมชนในจังหวัดพังงาและภูเก็ต

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

-

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
25 เมษายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 26 ตุลาคม 2562 14:04:32
Project owner
แก้ไขโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อ 2 กรกฎาคม 2563 13:59:07 น.

ชื่อกิจกรรม : แลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านจากจังหวัดนราธิวาสผ่านโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านหัวควน

  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

-

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

กลุ่มแม่บ้านจังหวัดนราธิวาส

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. เพื่อประเมินระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมและระดับการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  2. เพื่อประเมินผลกระทบของปัจจัยเชิงประชากรศาสตร์ (เช่น เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แหล่งที่มาของรายได้ และ ภูมิลำเนา ที่มีผลต่อปัจจัยการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  3. เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของระดับการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อปัจจัยการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

กลุ่มแม่บ้านจังหวัดนราธิวาส กลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านหัวควน ต กมลา จังหวัดภูเก้ต

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

แนะนำกิจกรรมชุมชน  สาธิตทำขนมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ส้มควาย ของบ้านหัวควร ตำบลกมลา  ซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อดำเนินโครงการหมูบ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มสมาชิกมีส่วนร่วม โดยที่ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านการท่องเที่ยว การบริการการท่องเที่ยว รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมการท่องเที่ยว และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
13 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 16:53:41
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 15:08:52 น.

ชื่อกิจกรรม : รายงานผลแก่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
วัตถุประสงค์

เพื่อเสนอและรายงานความก้าวหน้าของพื้นที่ศึกษาให้แก่คณะผู้บริหารจากกรมพัฒนาชุมชน (อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน)

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

สมาชิกกลุมวิสาหกิจชุมชนบ้านหัวควน
กรมพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต สภาการเกษตรจังหวัดภูเก็ต นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วข.ภูเก็ต

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. รายงานผลการดำเนินงานของชุมชนบ้านหัวควนของโครงการที่เข้าไปช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 60 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

คณะนักศึกษา คณะผู้บริหาร สื่อมวลชน กรมพัฒนาชุมชนและชาวบ้านหัวควน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ศึกษาดูงานในกิจกรรมต่างๆ ที่ โครงการรับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มงานอาชีพต่างๆ ของบ้านหัวควน เช่น ผลิตภัณฑ์ส้มควาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับคำแนะนำจากท่านอธิบดีกรมพัฒนาชุมชนให้ต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชุมชน นวัติวิถีให้แก่กลุ่มชาวบ้านตำบลกมลา

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดงบประมาณในการสนับสนุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ไม่มี

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ปรับภูมิทัศน์ของชุมชน ดูแลเรื่องความปลอดภัย

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
9 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 16:35:35
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 18:38:16 น.

ชื่อกิจกรรม : ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์โครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ผลงานของโครงการให้คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขต PSU Network 2562

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขต

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการและนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนแก่คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และผู้มาเยือน
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 80 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขต

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

นักศึกษา MBA และ ชุมชน นำเสนอโครงการที่ผู้วิจัยได้ลงพื้เนที่และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เสนอต่อคณะผู้บริหาร 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะผู้บริหารให้ความสนใจ สอบถามและให้คำแนะนำถึงกิจกรรมของโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ไม่มี

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ควรบอกรายละเอียด สรรพคุณของผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา เช่น ส้มควาย เป็นต้น

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
18 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 16:13:36
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 15:52:53 น.

ชื่อกิจกรรม : รายงานความก้าวหน้า ณ สจรส. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วข.หาดใหญ่

  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

รายงานผลความก้าวหน้า ครั้งที่ 1 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการ สจรส.

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 15 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

คณะทำงานโครงการ สจรส. พื้นที่ฝั่งอันดามัน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

นำเสนอรายงาน และตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานขั้นต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ความชัดเจนของการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวโดยขาดตัวชี้วัดความสำเร็จ

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ไม่มี

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ควรมีตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการในชุมชน

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
1 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 15:32:39
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 16:18:59 น.

ชื่อกิจกรรม : รายงานผลการศึกษาให้ชุมชนผ่านกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

คณะวิจัยและทีมนักศึกษา MBA
ตัวแทนชุมชน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. รายงานผลการศึกษาและพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ชุมชน
  2. รับฟังความคิดเห็นของชุมชนต่อการศึกษาที่ผ่านมา
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 40 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

สมาชิกชุมชนบ้านหัวควน นักศึกษา 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

รายงานผลการศึกษาจากการศึกษา พบว่า แนวทางการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความเป็นอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรม มีข้อจำกัดในการส่งเสริมและจัดรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาพื้นที่ 1.1 ควรมีการป้ายเส้นทางและบอกสถานที่ท่องเที่ยวให้ชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อความสะดวกกับการเดินทาง เนื่องจากเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บางแห่งเป็นเส้นทางที่อยู่ค่อนข้างอยู่ไกลและซับซ้อนกับการเดินทาง บางแห่งไม่มีป้ายบอกทางหรือบางแห่งป้ายขาดความต่อเนื่อง ทำให้เกิดหลงทางและหาแหล่งท่องเที่ยวไม่พบ 1.2 ควรมีการควบคุมและดูแลการใช้พื้นที่ของคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนมีการบุกรุกพื้นที่ส่วนร่วม หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อใช้เป็นที่ออกกำลังกายหรือทำมาค้าขาย โดยทำให้เกิดความไม่สวยงามและทำให้แหล่งท่องเที่ยวขาดเสน่ห์ 1.3 ควรมีการดูแลถนนหนทางและผิวจราจรให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและจรจร ถนนบางแห่งค่อนข้างขรุขระและยังเป็นถนนลูกรัง ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง 2. ด้านการพัฒนากิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ 2.1 ควรมีการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวช้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว 2.2 ควรมีหน่วยงานเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเนื่องจากคนในชุมชนมีความรู้เรื่องการท่องเที่ยววัฒนธรรมน้อย ทำให้ขาดความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว 2.3 มีการจัดโปรแกรมท่องเที่ยว ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนให้มากขึ้น เช่น การลองนุ่งผ้าปาเต๊ะ หรือกิจกรรมท่องเที่ยวที่เน้นให้นักท่องเที่ยวพักร่วมกับชุมชนแบบธรรมชาติ เช่น โฮมสเตย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมีความเช้าใจและสามารถดูแลรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป 2.4 ความมีการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวตามสถานที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ควรมีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ที่จะเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงระเบียบและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการเข้าชมและยังสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ได้ทันที 2.5 ควรเพิ่มการจัดนิทรรศการหมุนเวียนให้มากขึ้นและประชาสัมพันธ์ให้คนสนใจ ระบุวันเวลาในการหมุนเวียนล่วงหน้าให้ทราบ 3. การจัดการด้านการท่องเที่ยว 3.1 หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์น้อย 3.2 ควรมีศูนย์บริการนักท่องเทียวของภาครัฐกระจายตามจุดต่าง ๆ เนื่องจากศูนย์บริการท่องเที่ยวในจังหวัดมีแห่งเดียว ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อหรือสอบถามข้อมูล 3.3 ควรมีการบริการรถสาธารณะให้พอเพียงกับความต้องการ เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวบางแห่ง มีความซับซ้อนในการเดินทางและไม่มีรถโดยสารเข้าถึง ทำให้เดินทางลำบากและไม่ได้รับความสะดวก มีผู้เดินทางไปท่องเที่ยวน้อยมาก 4. การจัดการด้านอนุรักษ์ และจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 4.1 ส่งเสริมการแต่งกายสุภาพ เรียบร้อยในการไปเที่ยวยังสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เพื่อแสดงในการเคารพสถานที่ ไม่ทำให้สิ่งที่ลบหลู่ศาสนาหรือประเพณี 4.2 เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพื่อให้คนไทยเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมวิถีวัฒนธรรมมลายู หวงแหนและรักษาความเป็นวิถีวัฒนธรรมมลายูอย่างแท้จริง 4.3 เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นมัคคุเทศก์อาสาพาเที่ยวชมท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนบ้านหัวควนมีการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังได้อย่างต่อเนื่อง”การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวบ้านในการนำเสนอ“ของดี”ชุมชนให้คนภายนอกได้รับรู้ ทำให้เกิดการสืบค้น ถ่ายทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนมีการบริหารจัดการและร่วมกันกำหนดว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ชุมชนพร้อมในการนำเสนอและสร้างการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ตลอดจนมีแนวทางปฏิบัติตัวสำหรับนักท่องเที่ยวการที่มีนักท่องเที่ยวสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมคนท้องถิ่น เป็นตัวกระตุ้นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ และมีชีวิตชีวาในการนำเสนอข้อมูล สามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้กับนักท่องเที่ยวในกิจกรรมทางวัฒนธรรมของตน สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน และทำให้เยาวชนคนรุ่นหลังเห็นคุณค่าของชุมชนตนเอง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดไม่ต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ไม่มี

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ให้้ตระหนักต่อความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอัตตลักษณ์ เนื่องจากที่ตั้งของชุมชนเป็นชุมชนเปิด บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงได้ง่าย โอกาสในเรื่องความเสี่ยงมีสูง

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
21 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 15:16:36
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 16:23:30 น.

ชื่อกิจกรรม : ติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินความพร้อมของชุมชนที่มีต่อการจัดกิจกรรมและสำรวจกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชน การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของชุมชน

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหัวควน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. เพือ่ติดตามประเมินความก้าวหน้าและพัฒนาการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 20 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหัวควน 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อติดตามประเมินผลโครงการและกิจกรรมที่ทีมวิจัยได้พัฒนา ให้ความรู้กับกลุ่มชุมชนตลอดจนการพัฒนาความก้าวหน้าของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเส้นทางการท่องเที่ยว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและแนวคิดชัดเจน คือเป็นการท่องเที่ยวที่จัดการโดยชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน  จุดเด่นของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ แต่ละชุมชนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความเป็นท้องถิ่นดั้งเดิม  เป็นการท่องเที่ยวที่เห็นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน  นักท่องเที่ยวสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชุมชนมีการนำเสนอจุดขายที่เหมือน ๆ กัน กล่าวคือ ที่พักและอาหารท้องถิ่น กิจกรรมนำเที่ยวก็คล้าย ๆกันคล้าย ๆ กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน  แต่สิ่งที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนแตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น คือ ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  ความรู้สึกเป็นเจ้าของ  และรูปธรรมที่จับต้องได้ว่าการท่องเที่ยวส่งผลประโยชน์ต่อชุมชนโดยภาพรวมอย่างไร  ทั้งเรื่องการพัฒนาชุมชนและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสถึงการต้อนรับที่อบอุ่น  มีอัธยาศัยไมตรี  มีโอกาสพบปะกับคนที่หลากหลายในชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดการต่อเนื่องในการทำกิจกรรม เนื่องจากสมาชิกชุมชนมีอาชีพหลักอยู่แล้ว การท่องเที่ยวชุมชนเป็นอาชีพรอง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

สนับสนุนให้ชุมชนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ใช้ความเป็นอัตตลักษณ์ของชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ชุมชน

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
29 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 14:31:48
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 16:42:15 น.

ชื่อกิจกรรม : นำคณะนักศึกษาเข้าร่วมฐานกิจกรรมเพื่อประเมินความพร้อมและการจัดการของชุมชน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินความพร้อมของชุมชนที่มีต่อการจัดกิจกรรม

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

นักศึกษาคณะการบริการและการท่องเที่ยว จำนวน 60 คน กลุ่มแม่บ้านบ้านหัวควน ตำลบกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 20 คน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. เพื่อประเมินระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมและระดับการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

  2. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อปัจจัยการในการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 80 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

กลุ่มนักศึกษาคณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วข.ภูเก็ต
กลุ่มแม่บ้านบ้านหัวควน ตำลบกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 20 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

นำคณะนักศึกษาลงพื้นที่ เพื่อทดสอบกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์และเสอนแนะให้กับชุมชนเพื่อปรับปรุงต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนได้เตรียมความพร้อมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดการออกแบบที่สร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ติดตามประเมินผลร่วมกับทีมวิจัย

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

เรื่องการอนรุักษก์และจัดการสิ่งแวดล้อม

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
13 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 14:13:21
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 16:49:34 น.

ชื่อกิจกรรม : กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)

  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

เนื่องจากในชุมชนบ้านหัวควนมีบุคลากรที่มีความรู้และปราชญ์ชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆในหลายๆแขนงทางชุมชนจึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะมีทั้งหมด 10 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์ไก่ชน เป็นการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาและต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าพันธุ์ไก่ “ชมรมค่ายไก่ลูกกมลา” เป็นชมรมไก่ชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนพื้นบ้านโดยนำเอาสายพันธุ์ไก่จากต่างจังหวัดที่มีความเก่งและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนำมาผสมและเพาะพันธุ์ลูก ปัจจุบันพ่อพันธุ์ไก่ชนตัวเด่นของค่ายไก่ลูกกมลามีชื่อว่า “ณเดชน์ ลูกกมลา”  นอกจากนี้ยังเป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างกัน เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ชาวบ้านไม่ได้เจอกัน กลุ่มอนุรักษ์ไก่ชนจึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรมสร้างสายสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในชุมชนได้อีกด้วย
2.กลุ่มผ้าประเต๊ะเพ้น เป็นอาชีพเสริมต่อจากการแปรรูปส้มควาย เนื่องจากส้มควายมีฤดูกาลในการให้ผลผลิต ในช่วงที่มีเวลาว่างจากการแปรรูปส้มควาย การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นอาชีพเสริมที่ทำให้ชาวบ้านที่มีความถนัดมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าจาก  200 บาท เป็น 1,000 – 1,500 บาท ซ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าทำกิจกรรมกับชาวบ้านได้ ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์ทางชาวบ้านได้นำไปจำหน่ายในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต ตามร้านขายผ้าต่างๆ หรือเมื่อมีการจัดงานแสดงสินค้า OTOP เป็นการเผยแพร่เรื่องผ้าปาเต๊ะเพ้นท์ของชาวบ้านซึ่งสามารถส่งออกทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีตลาดประเทศมาเลเซีย
3.กลุ่มจักรสาน ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างในช่วงสายหรือเย็นมาช่วยกันถักทอ  รูปแบบงานจักรสานต่างๆจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรราชการ งานจักรสานเกิดจากการที่นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวบริเวณชายหาดกมลาเข้ามาสอบถามว่างานจักรสานที่ชาวบ้านทำว่าเป็นของสำเร็จรูปหรืองานฝีมือ เมื่อชาวบ้านบอกว่าเป็นงานฝีมือ นักท่องเที่ยวได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักท่องเที่ยวได้ตระหนักถึงการลดสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ชาวบ้านได้มองเห็นช่องทางการหารายได้เพิ่มเติมจากงานจักรสานอีกด้วย
4.กลุ่มขนมพื้นบ้าน ขนมท่อนใต้เป็นขนมที่ใช้ในการทำพิธีต่างๆของชาวบ้าน มีรสชาติหวาน เหนียวหนึบๆ วัตถุดิบคือแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาล ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง
5.กลุ่มอาหารแปรรูป  การทำปลาดุกร้า เลี้ยงภายในชุมชน มีบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ เพื่อเป็นอาหาร และมีการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า ขนาด 5 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม อายุปลาดุก 6 เดือน การทำปลาดุกร้ามีความพิถีพิถันเน้นความสะอาด และมีขั้นตอนพิเศษ ขั้นตอนหมักต้องตัดชิ้นส่วนและมีการหั่นแบบพิเศษ เกลือ 300 กรัม น้ำตาลทรายแดง  300 กรัม ไม่มีการขัดสี ได้สีที่สวยงามและมีกลิ่นหอม คลุกเคล้าให้ทั่วกันจากนั้นนำไปหมัก ให้เวลาประมาณ 3 วัน โดยนำไปหมักในโอ่ง ในการหมักปลาดุกนั้น เกลือและน้ำตาลจะมีการละลายกลายเป็นน้ำ ซึ่งทางชาวบ้านจะนำน้ำที่ละลายนั้นนำมาล้างตัวปลาดุกอีกครั้ง และนำไปตากแดด
6.กลุ่มแปรรูปส้มควาย มีการนำผลผลิตของส้มควายออกไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ      เพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
7.กลุ่มผ้ามัดย้อม ได้นำสีจากธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนไม่ว่าจะเป็นใบหูกวางหรือใบส้มควาย    ก็สามารถนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติมาใช้ได้ในการทำเป็นผ้ามัดย้อม
8.กลุ่มกระเป๋าของที่ระลึก นำเศษผ้าที่ได้จากผ้ามัดย้อมหรือผ้าปาเต๊ะมาทำเป็นลวดลายกระเป๋าของที่ระลึก เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
9.กลุ่มเครื่องแกงพื้นบ้าน เป็นการนำเครื่องแกงพื้นบ้านของชุมชนมาเผยแพร่และจัดจำหน่าย เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมเครื่องแกงพื้นบ้านที่มีรสชาติดั้งเดิมของชมชน
10.กลุ่มผ้าปักลูกปัด  เป็นการนำเอาผ้าสำเร็จมาปักลายเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าและสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

ศึกษาบริบทของพื้นที่ศีกษามู่ที่ 5 บ้านหัวควน
หมู่บ้านนี้เดิมเรียกว่า “บ้านท่องช้าง (ทุ่งช้าง)”  เชื่อว่าในสมัยก่อนชุมชนแห่งนี้ผู้คนมีอาชีพเลี้ยงช้าง เป็นส่วนใหญ่  จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2352  ซึ่งเป็นปีที่ไทยถูกพม่ารุกราน ทำให้ผู้คนอพยพหนีพม่าไปอาศัยที่อื่น พม่าจึงใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งค่าย เมื่อสงครามสงบลง หมู่บ้านนี้ได้กลายเป็นหมู่บ้านร้าง ต่อมาราว ประมาณ พ.ศ. 2487 (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) มีนักธุรกิจเข้ามาเช่าที่แห่งนี้ทำเหมืองแร่ดีบุกพื้นที่บริเวณนี้ ตั้งอยู่ระหว่างเนินเขาเตี้ย ๆ (ภาษาใต้เรียกว่า “ควน”) จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า  “บ้านหัวควน”

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา มีประชากรตามทะเบียนราษฎร ณ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 ประชากร 6,865 คน เป็นชาย 3,269 คน และหญิง 3,596 คน มีครัวเรือน ทั้งหมด 5,598 ครัวเรือน สำหรับบ้านหัวควน มีประชากร ชาย 791 หญิง 900 คน รวมทั้งสิ้น 1,691 คน ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559

สำรวจกลุ่มกิจกรรมของชุมชนเนื่องจากในชุมชนบ้านหัวควนมีบุคลากรที่มีความรู้และปราชญ์ชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆในหลายๆแขนงทางชุมชนจึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะมีทั้งหมด 10 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์ไก่ชน เป็นการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาและต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าพันธุ์ไก่ “ชมรมค่ายไก่ลูกกมลา” เป็นชมรมไก่ชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนพื้นบ้านโดยนำเอาสายพันธุ์ไก่จากต่างจังหวัดที่มีความเก่งและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนำมาผสมและเพาะพันธุ์ลูก ปัจจุบันพ่อพันธุ์ไก่ชนตัวเด่นของค่ายไก่ลูกกมลามีชื่อว่า “ณเดชน์ ลูกกมลา”  นอกจากนี้ยังเป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างกัน เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ชาวบ้านไม่ได้เจอกัน กลุ่มอนุรักษ์ไก่ชนจึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรมสร้างสายสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในชุมชนได้อีกด้วย
2.กลุ่มผ้าประเต๊ะเพ้น เป็นอาชีพเสริมต่อจากการแปรรูปส้มควาย เนื่องจากส้มควายมีฤดูกาลในการให้ผลผลิต ในช่วงที่มีเวลาว่างจากการแปรรูปส้มควาย การเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นอาชีพเสริมที่ทำให้ชาวบ้านที่มีความถนัดมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าจาก  200 บาท เป็น 1,000 – 1,500 บาท ซ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าทำกิจกรรมกับชาวบ้านได้ ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์ทางชาวบ้านได้นำไปจำหน่ายในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต ตามร้านขายผ้าต่างๆ หรือเมื่อมีการจัดงานแสดงสินค้า OTOP เป็นการเผยแพร่เรื่องผ้าปาเต๊ะเพ้นท์ของชาวบ้านซึ่งสามารถส่งออกทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีตลาดประเทศมาเลเซีย
3.กลุ่มจักรสาน ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างในช่วงสายหรือเย็นมาช่วยกันถักทอ  รูปแบบงานจักรสานต่างๆจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรราชการ งานจักรสานเกิดจากการที่นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวบริเวณชายหาดกมลาเข้ามาสอบถามว่างานจักรสานที่ชาวบ้านทำว่าเป็นของสำเร็จรูปหรืองานฝีมือ เมื่อชาวบ้านบอกว่าเป็นงานฝีมือ นักท่องเที่ยวได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักท่องเที่ยวได้ตระหนักถึงการลดสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ชาวบ้านได้มองเห็นช่องทางการหารายได้เพิ่มเติมจากงานจักรสานอีกด้วย
4.กลุ่มขนมพื้นบ้าน ขนมท่อนใต้เป็นขนมที่ใช้ในการทำพิธีต่างๆของชาวบ้าน มีรสชาติหวาน เหนียวหนึบๆ วัตถุดิบคือแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาล ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง
5.กลุ่มอาหารแปรรูป  การทำปลาดุกร้า เลี้ยงภายในชุมชน มีบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ เพื่อเป็นอาหาร และมีการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า ขนาด 5 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม อายุปลาดุก 6 เดือน การทำปลาดุกร้ามีความพิถีพิถันเน้นความสะอาด และมีขั้นตอนพิเศษ ขั้นตอนหมักต้องตัดชิ้นส่วนและมีการหั่นแบบพิเศษ เกลือ 300 กรัม น้ำตาลทรายแดง  300 กรัม ไม่มีการขัดสี ได้สีที่สวยงามและมีกลิ่นหอม คลุกเคล้าให้ทั่วกันจากนั้นนำไปหมัก ให้เวลาประมาณ 3 วัน โดยนำไปหมักในโอ่ง ในการหมักปลาดุกนั้น เกลือและน้ำตาลจะมีการละลายกลายเป็นน้ำ ซึ่งทางชาวบ้านจะนำน้ำที่ละลายนั้นนำมาล้างตัวปลาดุกอีกครั้ง และนำไปตากแดด
6.กลุ่มแปรรูปส้มควาย มีการนำผลผลิตของส้มควายออกไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ      เพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
7.กลุ่มผ้ามัดย้อม ได้นำสีจากธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนไม่ว่าจะเป็นใบหูกวางหรือใบส้มควาย    ก็สามารถนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติมาใช้ได้ในการทำเป็นผ้ามัดย้อม
8.กลุ่มกระเป๋าของที่ระลึก นำเศษผ้าที่ได้จากผ้ามัดย้อมหรือผ้าปาเต๊ะมาทำเป็นลวดลายกระเป๋าของที่ระลึก เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
9.กลุ่มเครื่องแกงพื้นบ้าน เป็นการนำเครื่องแกงพื้นบ้านของชุมชนมาเผยแพร่และจัดจำหน่าย เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมเครื่องแกงพื้นบ้านที่มีรสชาติดั้งเดิมของชมชน
10.กลุ่มผ้าปักลูกปัด  เป็นการนำเอาผ้าสำเร็จมาปักลายเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าและสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชน

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 25 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

กลุ่มสมาชิกของชุมชนบ้านหัวควน 20 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

การมีส่วนร่วมตำบลกมลา 1. การพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริงในระดับนโยบาย รัฐควรให้ความสำคัญแก่ประชาชนในท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรัฐจะต้องพยายามเชื่อมโยงประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการเปิดโอกาสมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสนอแนะปัญหา การวางแผน การดำเนินการ และการติดตามและประเมินผล ซึ่งถ้าหากรัฐได้เข้าใจถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้วจะทำให้เกิดความสอดคล้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งนี้โดยความร่วมมืออันดีระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวฝ่ายการเมือง ราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน 2. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีการจัดการและวางแผนอย่างเป็นระบบ สรรหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรการท่องเที่ยว เข้ามาพูดคุยกับผู้นำชุมชน ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทุกคนในพื้นที่ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อการท่องเที่ยว มีการออกแบบการใช้พลังงานทรัพยากรทางธรรมชาติให้น้อยลงหรือพัฒนาให้เป็นพลังงานสะอาด เพราะเป็นการสื่อถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จัดประชุมปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เพื่อหาวิธีป้องกันผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยว พร้อมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลจากผลกระทบทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 3. จัดตั้งชมรมหรือสมาคมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นในชุมชน โดยมีประชาชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สนใจร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยกันปกป้อง อนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กับมาเหมือนเดิม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนเกิดความตระหนักและหวงแหนทรัพยากรที่มีอยู่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมาชิกในชุมชนขาดความร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
4 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยนายอภิรมย์ พรหมจรรยานายอภิรมย์ พรหมจรรยาเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562 13:47:58
Project owner
แก้ไขโดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา เมื่อ 26 ตุลาคม 2562 17:06:00 น.

ชื่อกิจกรรม : กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)

  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

กลุ่มเป้าหมายสมาชิกในชุมชนวิสาหกิจบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) มีส่วนสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน “ความอยู่รอดของชุมชนขึ้นอยู่กับฐานทรัพยากรธรรมชาติวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นมีความเชื่อมโยงผูกพันกับทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 20 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

กลุ่มเป้าหมายสมาชิกในชุมชนวิสาหกิจบ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ทำการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยมีจุดม่งหมายเพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ด้านเศรษฐกิจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมการนำเอาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนมาพัฒนาให้เกิดเป็นรายได้จากพื้นฐานของวิถีชีวิตชุมชน ทีมีการดำรงชีพเป็นกิจวัตรประจำวัน ให้เกิดการถ่ายทอดสืบต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน และเมื่อนักท่องเที่ยวเกิดความชอบ สามารถนำมาประปรุงเพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน การประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนช่วยกันในการส่งเสริมทางการตลาดให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งมีการส่งเสริม การฝึกอบรมเพิ่มเติมให้กับชุมชนเพื่อต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ
  2. ด้านสังคม  จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการสร้างเครือข่ายในการสร้างฐานความรู้สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะการท่องเที่ยวชุมชน มีรากฐานจากชุมชนและต้องใช้ทุนทางสังคมต่างๆ เพื่อสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น การส่งเสริมให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้มีการฝึกอบรมเป็นการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสามารถให้คนในชุมชนมีความรู้ มีอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและท้องถิ่น และสามารถสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนหวงแหนในมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
  3. ด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยังใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนที่อยู่ในเขตอนุรักษ์และรักษาพันธุ์พืช
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ให้คณะทำงาน สสส.ลงพื้นที่ร่วมกับนักวิจัย

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนามากกว่าปัจจบัน

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-