สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดระนอง

รายละเอียดโครงการ
เลขที่ข้อตกลง 61-ข-051
ชื่อโครงการ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดระนอง
ชุดโครงการ ระบบสนับสนุนกระบวนการ HIA
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ
คณะทำงาน ? ผศ.ดร.สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์, ดร.สายสุนีย์ จำรัส, ดร. โปรดปราน คำอ่อน, ภญ.ศุศราภรณ์ สามประดิษฐ์, ดร.คชาพล นิ่มเดช, นายประวิช ขุนนิคม,
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 เมษายน 2562
งบประมาณโครงการ 55,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (คน) 50
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย
  • คณะทำงาน 15 คน โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจาก 6 ภาคส่วน คือ 1.ภาคราชการ 2.ภาควิชาการ 3.ภาคประชาสังคม 4.ภาคเอกชน 5.ภาคสื่อมวลชน 6.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองระนอง 21 คน

  • ผู้แทนกองทุนฯ 7 กองทุนๆละ 2 คน รวม 14 คน
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมือง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางนอน ตำบลบางริ้น ตำบลเขานิเวศน์ และ ตำบลปากน้ำ
จังหวัด ระนอง
ละติจูด-ลองจิจูด 9.900995,98.562106place

หลักการและเหตุผล

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยโครงการศูนย์ประสานงานวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ และยกระดับการทำงานทางวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ตลอดจนการสร้างกระบวนการพัฒนาโยบายสาธารณะในระดับภาค จังหวัด และระดับพื้นที่ รวมถึงการสร้างกระบวนการสร้างการทำงานแบบเครือข่าย อันนำไปสู่การผลักดันให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย รูปแบบ (Model) การทำงาน การสร้างเครือข่าย การเสริมสร้างศักยภาพคนทำงาน และผลงานด้านองค์ความรู้วิชาการที่นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่ภาคใต้อย่างกว้างขวาง (สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559)
ในปีงบประมาณ 2561 ศวสต. ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางมนุษย์ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยความร่วมมือกับเครือข่ายคือสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และภาคีเครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยใช้กลไกกองทุนสุขภาพตำบลและใช้เครื่องมือเรื่องการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเชิงสร้างสรรค์ กระบวนสมัชชาสุขภาพ และธรรมนูญสุขภาพ โดยโซนภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย ความมั่นคงทางมนุษย์ เด็ก เยาวชน ครอบครัว (ภาวะคุกคาม) และผู้ด้อยโอกาส แรงงานนอกระบบ เกิดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างๆ โดย 1) ยกระดับแผนสุขภาพตำบลที่จัดทำโดยกองทุนสุขภาพตำบลไปสู่แผนสุขภาพระดับอำเภอให้สอดคล้องกับการดำเนินงานเขตสุขภาพระดับอำเภอ (DHS/DHB) 2) บูรณาการกลไกการทำงานของ สสส .สปสช และ สช เข้ากับคณะกรรมการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ (District Health Board) 3) เพื่มขีดความสามารถของทีมพี่เลี้ยง พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อการขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น 4) ผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ด้านปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด เอดส์ อุติเหตุ เด็ก เยาวชน ในระดับพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ของเครือข่ายคนทำงาน และ 5) สนับสนุนกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดในพื้นที่นำร่องภาคใต้ตอนบน (สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559)

ภายใต้โครงการดังกล่าวของ ศวสต. จังหวัดระนองได้จัดทำโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ดำเนินงานด้านแรงงานนอกระบบและปัจจัยเสี่ยง 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพระบบสุขภาพในพื้นที่ให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในพื้นที่ และ 4) เพื่อหนุนเสริมกระบวนการทำงานให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมสื่อสารสู่สังคม โดยมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการประมาณ 15 เดือน ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2561 – มีนาคม พ.ศ. 2562 ดำเนินการในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอเมืองระนอง ได้แก่ ตำบลบางนอน ตำบลบางริ้น ตำบลเขานิเวศน์ และ ตำบลปากน้ำ (สมาคมชุมชนสร้างสุขจังหวัดระนอง, 2559) เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีกลไกติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนองขึ้น โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening) 2) กำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) 3) ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing) และ 4) ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review) มาทำการประเมินผลกระทบของโครงการ เพื่อหนุนเสริมการทำงานโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง ให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป นอกจากนี้ ผลการวิจัยนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการแรงงานนอกระบบของจังหวัดระนองต่อไป

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1) กลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening)
2) กำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) 3) ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing) 4) ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review)

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ตัวชี้วัด / การดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / เป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

วัตถุประสงค์โดยตรง

เพื่อกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening)
  1. มีข้อมูลรายละเอียดโครงการ/แผนการดำเนินงาน (Full proposal) และโครงการอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
  2. มีข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเบื้องต้น
เพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping)
  1. กิจกรรมสำคัญของโครงการมีความครอบคลุม มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีข้อมูลข้อจำกัดการดำเนินโครงการ
  2. มีการกำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง/ส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (Stakeholder analysis) ครบทุกภาคส่วน
  3. มี mapping กิจกรรมหลักของโครงการและปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Social Determinant of Health; SDH) ที่ส่งผลกระทบถึงสุขภาวะทั้ง 4 มิติ
  4. มีข้อมูลสรุป SDH ที่สำคัญจัดทำร่างตัวชี้วัดการประเมิน
  5. ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอร่างตัวชี้วัดตาม SDH ที่จัดทำขึ้น
  6. มีเครื่องมือรวบรวมข้อมูลตามตัวที่วัดที่กำหนด
เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing)
  1. มีข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
  2. มีการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบซึ่ง ซึ่งครอบคลุม 2.1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 2.2 วิธีการขับเคลื่อนการผ่านกองทุนตำบล คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ(DHB) คณะกรรมการระดับจังหวัด
    (PHB) และคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป)
    2.3 มีข้อมูลปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาโครงการ

กิจกรรมหลัก

วันที่ทำกิจกรรมชื่อกิจกรรมหลักงบประมาณ
(บาท)
กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
กิจกรรม
(ครั้ง)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
(ครั้ง)
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening) 13,000.00 20 3 13,000.00 3 13,792.00 more_vert
1 มิ.ย. 61-31 ส.ค. 61 1) ทบทวนเอกสาร (Documentary review) แผนงาน/โครงการหลักและโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 20 - -
1 ก.ย. 61-31 ต.ค. 61 2) สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) หรือทำ Focus group ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยและพี่เลี้ยงจังหวัด 20 - -
1 พ.ย. 61-31 ธ.ค. 61 3) วิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากโครงการ 1 - -
2 การกำหนดขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping) 42,000.00 50 1 3,000.00 1 3,000.00 more_vert
1-31 มี.ค. 62 ุ6) จัดทำข้อเสนอแนะโครงการ 1 - -

กิจกรรมย่อยที่ยังไม่กำหนดกิจกรรมหลัก

20 ก.พ. 2562 1) วิเคราะห์กิจกรรมสำคัญของโครงการจากการทบทวนเอกสาร 0 5000.00
25 ก.พ. 2562 4) ติดตาม ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่จังหวัดระนอง 1 3000.00
27 ก.พ. 2562 2) เวทีรับฟังความคิดเห็น Public Screening and Scoping 50 25000.00
28 ก.พ. 2562 3) จัดทำร่างตัวชี้วัด และเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของโครงการ 0 3000.00
28 ก.พ. 2562 5) จัดประชุมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานทีมประเมิน 3 3000.00
รวม 55,000.00 70 9 55,000.00 9 57,768.00

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 น.

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
31 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 15:40:32
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 12:17:22 น.

ชื่อกิจกรรม : ุ6) จัดทำข้อเสนอแนะโครงการ

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนรายละเอียดของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และทบทวนโครงการลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากแผนงาน/โครงการ และใช้ผลการประเมินในการปรับแผนงาน /โครงการ ให้เหมาะสมมากขึ้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 1 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • สรุปข้อมูลแรงงานนอกระบบพื้นที่เป้าหมาย
  • จัดทำข้อเสนอเพื่อแนะนำโครงการ
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีข้อเสนอเพื่อแนะนำโครงการใน phase ต่อไป
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนพัฒนาแรงงานนอกระบบ
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  • ศึกษาข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมาย
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
28 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 13:48:32
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 15:33:40 น.

ชื่อกิจกรรม : 3) จัดทำร่างตัวชี้วัด และเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของโครงการ

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนรายละเอียดของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และทบทวนโครงการลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากแผนงาน/โครงการ และใช้ผลการประเมินในการปรับแผนงาน /โครงการ ให้เหมาะสมมากขึ้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

-

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

3) นำตัวชี้วัดที่ผ่านการพิจารณาจากข้อที่ 2 มาจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด (Template) มาพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผล โดยกำหนดร่าง (Template) ตามประเด็นสำคัญคือ ตัวชี้วัด คำนิยาม เกณฑ์เป้าหมาย ประชากร/กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล ระยะเวลาการประเมิน รายละเอียดการประเมิน วิธีการประเมิน เป็นต้น

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

-

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

-

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ทราบปัญหาการกำหนดกิจกรรมสำคัญของโครงการ ตัวชี้วัด และข้อจำกัดการดำเนินโครงการ
2) ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  • ควรทำการศึกษาข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่เป้าหมาย
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
28 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 15:29:54
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 12:12:35 น.

ชื่อกิจกรรม : 5) จัดประชุมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานทีมประเมิน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนรายละเอียดของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และทบทวนโครงการลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากแผนงาน/โครงการ และใช้ผลการประเมินในการปรับแผนงาน /โครงการ ให้เหมาะสมมากขึ้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

นางสาวโปรดปราน คำอ่อน

นางสาวสายสุนีย์ จำรัส

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 1 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบ
  • วางแผนการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีแผนดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาแรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมาย
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  • เร่งดำเนินการศึกษาข้อมูลแรงงานนอกระบบพื้นที่เป้าหมาย
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
27 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 15:15:08
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 11:52:58 น.

ชื่อกิจกรรม : 2) เวทีรับฟังความคิดเห็น Public Screening and Scoping

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนรายละเอียดของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และทบทวนโครงการลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากแผนงาน/โครงการ และใช้ผลการประเมินในการปรับแผนงาน /โครงการ ให้เหมาะสมมากขึ้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

1) คณะทำงาน 15 คน โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจาก 6 ภาคส่วน คือ

(1) ภาคราชการ

(2) ภาควิชาการ

(3) ภาคประชาสังคม

(4) ภาคเอกชน

(5) ภาคสื่อมวลชน

(6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองระนอง 21 คน

8) ผู้แทนกองทุนฯ 7 กองทุนๆละ 2 คน รวม 14 คน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

จัดทำร่างตัวชี้วัด และเครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของโครงการ เพื่อให้ข้อเสนอแนะและรับฟังความเห็นจากร่างตัวชี้วัดที่กำหนด หลังจากนั้นทีมประเมินปรับปรุงร่างตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินและนำมารับฟังความเห็นในกลุ่มใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยทีมประเมิน ทีมรับผิดชอบโครงการ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้ง

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 50 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

1) คณะทำงาน 15 คน โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจาก 6 ภาคส่วน คือ (1) ภาคราชการ

(2) ภาควิชาการ

(3) ภาคประชาสังคม

(4) ภาคเอกชน

(5) ภาคสื่อมวลชน

(6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองระนอง 21 คน

8) ผู้แทนกองทุนฯ 7 กองทุนๆละ 2 คน รวม 14 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

1) ประสานงานกับผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรม 2) จัดเตรียมพื้นที่และประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 3) ดำเนินการจัดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำเสนอร่างตัวชี้วัดที่จัดทำขึ้น 4) สรุปกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ภาคีเครื่อข่ายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบตรงกัน
  • มีการกำหนดแผนงานกิจกรรมร่วมกัน
  • เกิดแนวทางในการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมาย
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาแรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมาย
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  • ทำการศึกษาข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มเติม
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
25 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 15:25:15
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 10:59:02 น.

ชื่อกิจกรรม : 4) ติดตาม ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่จังหวัดระนอง

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนรายละเอียดของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และทบทวนโครงการลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากแผนงาน/โครงการ และใช้ผลการประเมินในการปรับแผนงาน /โครงการ ให้เหมาะสมมากขึ้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 1 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

1) ประสานผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบพื้นที่เป้าหมายเพิ่มเติม 2) สรุปข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบพื้นที่เป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มีข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่เป้าหมาย
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  • ควรเร่งดำเนินการศึกษาข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่เป้าหมาย
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
20 กุมภาพันธ์ 2562
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 13:31:58
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 10:57:07 น.

ชื่อกิจกรรม : 1) วิเคราะห์กิจกรรมสำคัญของโครงการจากการทบทวนเอกสาร

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

-

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

วิเคราะห์กิจกรรมสำคัญของโครงการจากการทบทวนเอกสาร เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ และผลกระทบทางสุขภาพ สรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกิดจากโครงการ

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 1 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

1) ประสานงานพื้นที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมกิจกรรม

2) ดำเนินการ Public Screening

3) สรุปกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทราบข้อมูลสภาพปัญหาและข้อจำกัดของการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ
  • Stake holder เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาแรงงานนอกระบบ
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบในพื้นที่ทำการศึกษา
  • ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาสถานการณ์ปัญหาแรงงานนอกระบบในพื้นที่ทำการศึกษาเพิ่มเติม
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  • ควรทำการศึกษาสถานการณ์ปัญหาแรงงานนอกระบบของพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจน ก่อนวางแผนแก้ไขปัญหาดังกล่าว
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
31 ธันวาคม 2561
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562 13:04:08
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 10:53:37 น.

ชื่อกิจกรรม : 3) วิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากโครงการ

คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

  เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากโครงการ

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

วิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากโครงการ

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 1 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

1) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ

2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริบทพื้นที่ และข้อมูลแรงงานนอกระบบของพื้นที่ศึกษา

3) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ

2) ทราบข้อมูลบริบทพื้นที่ และสภาพปัญหาของการดำเนินงานโครงการ

2) ทราบสภาพปัญหาของโครงการ และแนวทางแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ทำการศึกษา ทำให้ไม่สามารถวางแผนดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • แนวทางแก้ไข ควรทำการศึกษาข้อมูลสภานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่ก่อนวางแผนดำเนินงาน
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.
  • ควรกำหนดให้พื้นที่ศึกษาข้อมูลและระบุสถานการณ์ปัญหาให้ชัดเจน ก่อนสนับสนุนโครงการ
ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
31 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562 10:33:27
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 10:50:07 น.

ชื่อกิจกรรม : 2) สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) หรือทำ Focus group ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยและพี่เลี้ยงจังหวัด

  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนรายละเอียดของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ของโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง และทบทวนโครงการลักษณะที่คล้ายกัน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากแผนงาน/โครงการ และใช้ผลการประเมินในการปรับแผนงาน /โครงการ ให้เหมาะสมมากขึ้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการผู้รับผิดชอบโครงการย่อยและพี่เลี้ยงจังหวัด

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และทำ Focus group ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยและพี่เลี้ยงจังหวัด

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 12 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจาก
1) คณะทำงาน

2) หน่วยงานราชการ

3) หน่วยงานภาคประชาสังคม

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

1) ประสานพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบโครงการ (indept interview) 3) สนทนากลุ่ม (Focus group)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ทำให้ทราบบริบทของโครงการ และสภาพปัญหาของการดำเนินงานโครงการ 2) คณะทำงานได้ทบทวน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์ภาพรวมของโครงการ เช่น ข้อมูลสภาพปัญหา และสถานการณ์ปัญหาของแรงงานนอกระบบในจังหวัดระนอง
  • กลุ่มเป้าหมาย ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม
  • แนวทางแก้ไข ควรศึกษาข้อมูลภาพรวมของโครงการ และสถานการณ์แรงงานนอกระบบของพื้นที่ศึกษา เพิ่มเติม และพิจารณากลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

ข้อมูลรายละเอียดของโครงการ

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
31 สิงหาคม 2561
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยดร.พิเชตวุฒิ นิลละออดร.พิเชตวุฒิ นิลละออเมื่อ 23 พฤษภาคม 2562 18:19:59
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 23 สิงหาคม 2562 10:47:44 น.

ชื่อกิจกรรม : 1) ทบทวนเอกสาร (Documentary review) แผนงาน/โครงการหลักและโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนเอกสาร (Documentary review)

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

ดำเนินการทบทวนเอกสาร (Documentary review) แผนงาน/โครงการหลักและโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 1 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

นายพิเชตวุฒิ นิลละออ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  1. ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ และแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง
  2. ศึกษารายละเอียดของโครงการและกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
  3. สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการทบทวนรายละเอียดโครงการ กิจกรรม รวมถึงการทบทวนนิยามความหมายของแรงงานนอกระบบ
  • คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ ในบริบทของโครงการ
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีข้อมูลกิจกรรมที่ทำ แต่ขาดข้อมูลรายละเอียดของโครงการและรายละเอียดกิจกรรมสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ดังนั้นพื้นที่ควรมีการดำเนินการเขียนโครงการเพื่อแสดงให้เห็นสถานการณ์ปัญหา ข้อมูลเชิงสถิติต่างๆ เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบจังหวัดสุราษฎร์ธานี และรายละเอียดอื่นๆ 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.
  1. ทบทวนความหมายของแรงงานนอกระบบ
  2. รวบรวมข้อมูลแรงงานนอกระบบจังหวัดระนอง
  3. เพิ่มเติมรายละเอียดโครงการลดปัจจัยเสี่ยงแรงงานนอกระบบ
คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-