สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

รายละเอียดโครงการ
เลขที่ข้อตกลง สชต.นศ.010
ชื่อโครงการ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ตรัง
ชุดโครงการ แผนงานสื่อ
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.พรองค์อินทร์ธาระธนผล
คณะทำงาน ? 1.น.ส.พรองค์อินทร์ธาระธนผล2.นายชัยพรจันทร์หอม3.นายสมชายขุนอินทร์4.นายรอนนกรู้รักษ์ 5.น.ส.จารุวรรณผักน้ำ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณโครงการ 70,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (คน) 100
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย

 

พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัด ตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place

หลักการและเหตุผล

 

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

๑ พัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะทางสังคม โดยใช้ประเด็นร่วมพื้นที่ภาคใต้ ๒ สร้างอัตลักษณ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม กลยุทธ์

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ตัวชี้วัด / การดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / เป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

วัตถุประสงค์โดยตรง

1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม
  1. อธิบายกระบวนการสื่อสารและเนื้อหาในการสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
  2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับประเด็นที่ขับเคลื่อนในพื้นที่
  3. มีแนวปฏิบัติเรื่องจริยธรรมของนักสื่อสารชุมชน

กิจกรรมหลัก

วันที่ทำกิจกรรมชื่อกิจกรรมหลักงบประมาณ
(บาท)
กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
กิจกรรม
(ครั้ง)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
(ครั้ง)
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 สนับสนุนการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้(การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ)ผ่านรายการกินอิ่ม นอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ จังหวัดตรัง งวดที่ 1 70,000.00 50 1 6,480.00 1 5,500.00 more_vert
19 มี.ค. 61 เวทีสาธารณะ "คนเมืองตรัง บ้านโคกออก ร่วมจัดการ ชุมชนอยู่ดีมีสุข" 30 - -
รวม 70,000.00 50 1 6,480.00 1 5,500.00

คำเตือน : งบประมาณของกิจกรรมหลัก (70,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณของกิจกรรมย่อย (6,480.00 บาท)

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 น.

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
19 มีนาคม 2561 เวลา 09:00:16:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยวิลาสลักษณ์  แก้วบุญเรืองวิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรืองเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561 13:19:52
Project owner
แก้ไขโดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง เมื่อ 20 กรกฎาคม 2561 20:17:59 น.

ชื่อกิจกรรม : เวทีสาธารณะ "คนเมืองตรัง บ้านโคกออก ร่วมจัดการ ชุมชนอยู่ดีมีสุข"

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

1.เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่ง ท่องเที่ยวพื้นที่ใกล้เคียง  เขา ป่า นา เล      2. เพื่อเก็บรายละเอียดเนื้อหาและภาพ นำมาผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและนำมาลงสกู๊ป นสพ.ท้องถิ่น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

1.  กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่บ้านโคกออกและพื้นที่ใกล้เคียง 2.  กลุ่ม ภาคี สื่อชุมชน
3.  กลุ่ม ภาคี ในชุมชนผู้นำตำบล
4.  กลุ่มท้องถิ่น ราชการ พัฒนาชุมชน จำนวน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ลงพื้นที่สำรวจ ชุมชน บ้านโคกออก  ม.8  อ.หาดสำราญ
  2. เก็บข้อมูลรายละเอียดในชุมขนและกับแหล่ง ท่องเที่ยวพื้นที่ใกล้เคียง  เขา ป่า นา เล
  3. ผลิตรายการถ่ายทอดสด ทางเฟสบุคไลค์
  4. เก็บรายละเอียดเนื้อหาและภาพ นำมาผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
  5. เก็บรายละเอียดเนื้อหาและภาพ นำมาลงสกู๊ป นสพ.ท้องถิ่น
  6. ประชาสัมพันธ์ในเครือข่าย เฟสบุค / เพจ
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 22 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

1.  กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่บ้านโคกออกและพื้นที่ใกล้เคียง 2.  กลุ่ม ภาคี สื่อชุมชน
3.  กลุ่ม ภาคี ในชุมชนผู้นำตำบล
4.  กลุ่มท้องถิ่น ราชการ พัฒนาชุมชน จำนวน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  1. ลงพื้นที่สำรวจชุมชน ล่องแพ ในพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่สำรวจ ชุมชน บ้านโคกออก  ม.8  อ.หาดสำราญ
  2. เก็บข้อมูลภาพลกิจกรรมและจัดทำรายละเอียดในชุมขนและกับแหล่งท่องเที่ยว  พื้นที่เขารูปช้าง  คลองปรักเบน  บ้าหวี โคกออก
  3. ผลิตรายการถ่ายทอดสด ทางเฟสบุคไลค์ ผ่านสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้
  4. ผลิตรายการสัมภาษณ์สด ทาง วิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย คลื่น 91.25  สวท.ตรัง  และ รายการ ตรัง 360 องศา ทางคลื่น104.75 พะยูนเรดิโอ
  5. เนื้อหาและภาพ นำมาลงสกู๊ป นสพ.ท้องถิ่น
  6. ประชาสัมพันธ์ในเครือข่าย เฟสบุค / เพจ
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.  กลุ่มแกนนำ มีการพัฒนาความรู้เรื่องการทำสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น ในด้านการนำเสนอข้อมูลและเนื้อหาที่น่าสนใจ  เพื่อให้ผู้คนลงมาท่องเที่ยวในพื้นที่ 2.  แกนนำ มีการเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายอื่นๆ เช่น  กลุ่มเด็ก และเยาวชนให้ลงมาทำกิจกรรมในพื้นที่  ปลูกป่าชายเลน  ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  อนุรักษ์ธรรมชาติ

ผลลัพธ์ 1.  ทางกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกออกได้มีการจัดการวางแผนงานด้านการท่องเที่ยว  และพัฒนาผู้รับผิดชอบงานในกลุ่มชัดเจนขึ้น
2.  พฤติกรรมทางกลุ่มรวมตัวกันเข้มแข็งมากขึ้น  มีกลุ่มชุมชนองค์กร  เดินทางมาท่องเที่ยวและศึกษาดูงานเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งนำรายได้มาสู่กลุ่มมากกว่าเดิม
3.  สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังหน่วยงานท้องถิ่นได้เข้ามาสนับสนุน ความรู้และงบประมาณที่จะอำนวยความสะดวกให้พื้นทีท่องเที่ยวมีความสะอาดปลอดภัย 4.  ทางกลุ่มได้ขยายพื้นที่ของขนาดแพ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง ในชุมชน 5.  ทางกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว มาดูงานและทำกิจกรรมในพื้นที่  เช่น  อสม./    กลุ่มผู้นำจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / นักศึกษาและเยาวชนเดินทางมาทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.ชาวบ้านต้องดิ้นรนหาหนทางเอง  ขาดการหนุนเสริมจากหน่วยงานรัฐ 
2.หน่วยงานในพื้นที่ ให้ความสำคัญน้อย เช่น  อบจ. ทำให้ขาดการพัฒนาในเรื่องสาธารณปโภค  ถนนหนทางที่จะเดินทางไม่สะดวก  ห้องน้ำและการดูแลความปลอดภัย
3.ควรให้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่อง การท่องเที่ยว หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จับมือกันในการพัฒนาท้องถิ่น
4.ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญต้อการพัฒนาในพื้นที่ปล่อยให้คนที่ทำอยู่ก็ทำไป  ส่งผลให้ พื้นที่ไม่ได้รับการพัฒนาโดยทั่วถึง 5.มีการแบ่งฝักผ่าย และการกระจายงบไม่ชัดเจน
6.การจัดระบบ  ระเบียนการดูแลเรื่องสุขภาวะ ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
7.หน่วยงานที่เข้ามา สนับสนุนงานด้านการท่องเที่ยว โดยตรงยังทำงานไม่เต็มที่   

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

1.สสส.ควร  สนับสนุนให้มีแผนงานเชิงรุกเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและสนับสนุนให้เกิดโครงการในด้านต่าง ๆ  เช่น
-แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ -สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสร้างสุขภาวะในชุมชน 2. หนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารของการสร้างเสริมสุขภาพพื้นที่ชุมชน และภาคใต้ 3. สนับสนุนให้เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภูมิภาค เพื่อการขยายเครือข่ายการทำงานด้านสื่อสุขภาพในการขับเคลื่อนสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

1.ให้ผู้นำและ ชาวบ้าน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาในพื้นที่สนใจเรื่องการอนุรักษ์และดูแลธรรมชาติ
2.ควรสลายการแบ่งฝักผ่าย และการกระจายงบให้มีความชัดเจน มากขึ้น
3.ควรมีหน่วยงานหรือองค์กรมาการจัดระบบ  ระเบียบการดูแลเรื่องสุขภาวะและเรื่องอื่นๆ  ให้ได้มาตรฐาน
4.หน่วยงานที่เข้ามา สนับสนุนงานด้านการท่องเที่ยว ควรเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมให้เต็มที่

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-