สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

การประยุกต์ใช้แผนที่ผลลัพธ์ในการประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

by PPI_Admin @8 ต.ค. 59 13:35 ( IP : 192...39 ) | Tags : วิทยานิพนธ์
photo  , 688x676 pixel , 91,000 bytes.

ชื่อวิทยานิพนธ์ การประยุกต์ใช้แผนที่ผลลัพธ์ในการประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ผู้เขียน นางสาววิภาดา มณีน้อย

สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาเรื่อง การประยุกต์ใช้แผนที่ผลลัพธ์ในการประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์แผนที่ผลลัพธ์ในการประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ประกอบด้วย กลุ่มภาคีหลัก กลุ่มภาคียุทธศาสตร์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการวิจัยคือ ประเด็นแนวคำถามและการอภิปรายในการประชุมกลุ่ม  แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง และแนวทางในการสนทนากลุ่มแบบบันทึกผลลัพธ์ตามคู่มือแผนที่ผลลัพธ์ 12 ขั้นตอน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงทุกเครื่องมือไม่น้อยกว่า 0.6 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการในการนำแผนที่ผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้ประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ โดยการลงพื้นที่เข้าร่วมการประชุมตามวาระต่างๆ ของแต่ละหมู่บ้าน และทำการสำรวจสถานการณ์สุขภาพเพื่อทำ SWOT analysis 2) การกำหนดพันธกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ และจัดทำแผนงานโครงการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยให้มีกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ 3) การกำหนดภาคีหุ้นส่วน เพื่อกำหนดบทบาทตามประเด็นยุทธศาสตร์ และการมอบหมายงานตามความรับผิดชอบ 4) การกำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ โดยกองทุนฯ ต้องจัดทำเป็นแผนดำเนินงาน และติดตามความก้าวหน้า รวมถึงมีการศึกษาดูงาน พัฒนาศักยภาพแกนนำ และเพิ่มกิจกรรมร่วมกับชุมชน 5) การกำหนดเกณฑ์บ่งชี้ความก้าวหน้า โดยกำหนดตัวชี้วัดร่วมกับแกนนำชุมชน ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ 6) การกำหนดแผนที่ ยุทธศาสตร์ ด้วยการใช้ข้อมูลจากการสำรวจปัญหาสุขภาพ ข้อมูลจากการทำประชาคม ใช้ตัวอย่างยุทธศาสตร์จากอำเภออื่นๆ ใช้แผนกองทุนฯ ใช้ยุทธศาสตร์เทศบาล ใช้แนวคิดและมุมมองของผู้นำ 7) การดำเนินงานระดับองค์กร โดยผลักดันให้มีการบรรจุไว้ในแผนเทศบาล กำหนดผู้รับผิดชอบ และให้แกนนำชุมชนเป็นผู้คิดและร่วมดำเนินการ 8) การจัดลำดับการติดตามการทำงาน โดยมีการประเมินยุทธศาสตร์ของแผนงาน และคำนึงถึงการบรรลุผลลัพธ์ของภาคีหุ้นส่วน เพื่อติดตาม รายงานผลการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของภาคีหุ้นส่วน 9) แบบบันทึกผลลัพธ์ เป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของภาคีหุ้นส่วนทั้ง 10 ประเด็น 10) แบบบันทึกยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ในแต่ละยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 3 มาตรการ เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคีหุ้นส่วน 11) แบบบันทึกการดำเนินงานขององค์กร ได้กำหนดเกณฑ์ของทั้ง 8 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม หลักฐานเชิงประจักษ์ และบทเรียน 12) การวางแผนการประเมินผล โดยผลการประเมินจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม และการตัดสินใจในการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ซึ่งผลการประเมินควรนำไปใช้ระหว่างดำเนินการตามแผน และในการวางแผนครั้งต่อไป สำหรับประโยชน์ของการนำแผนที่ผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้ โดยสรุปคือ (1) แผนที่ผลลัพธ์สามารถนำมาใช้ในกระบวนการวางแผนดำเนินการ และ การติดตามและประเมินผล (2) การนำแผนที่ผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างภาคีหุ้นส่วน และนำไปสู่การพัฒนาในทุกขั้นตอนของแผนที่ผลลัพธ์ (3) การนำแผนที่ผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้เหมาะสมกับการวางแผน และการค้นหาศักยภาพของภาคีหุ้นส่วน นอกจากนี้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ (1) ความจำเพาะของศัพท์ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะทาง ทำให้กลุ่มตัวอย่างขาดความเข้าใจและต้องใช้เวลานานในแต่ละขั้นตอน (2) การนำแผนที่ผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้จะได้ผลน้อยลงหากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีการโยกย้าย เพราะทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง (3) ควรมีการประเมินความพร้อมในการมีส่วนร่วมของภาคีหุ้นส่วนก่อนนำแผนที่ผลลัพธ์ไปใช้ (4) การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนควรให้ผู้มีประสบการณ์เข้าร่วมกำหนดประเด็นให้ชัดเจน และสื่อสารให้ผู้ร่วมเวทีเข้าใจได้โดยง่าย และ (5) แบบบันทึกมีจำนวนมาก ซึ่งไม่เหมาะกับกลุ่มภาคีหุ้นส่วนที่เป็นคนในชุมชนที่ไม่มีความถนัดในการทำบันทึก เช่นในการศึกษาครั้งนี้ หากต้องนำไปใช้ควรมีการเตรียมเจ้าหน้าที่ช่วยในการบันทึก หรือปรับแบบบันทึกให้เข้าใจได้ง่าย และสั้นกระชับ
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หากเครือข่ายฯ จะนำแผนที่ผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินการงานมีความเหมาะสมในภาพรวม โดยต้องมีการปรับการใช้ไปตามบริบทของพื้นที่  ซึ่งบุคคลที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน ทั้งในด้านการวางแผนเชิงนโยบาย และการประเมินผลคือ ภาคีหลักและภาคียุทธศาสตร์ทั้งนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ แผนที่ผลลัพธ์สามารถนำมาใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับท้องถิ่นอื่นๆ ได้แต่ควรพิจารณา ถึงระดับความรู้ของเครือข่ายฯและขอบเขตให้มีความสอดคล้องกับสภาพและบริบทของพื้นที่ในแต่ละแห่งหรือแต่ละระดับ

Thesis Title Application of Outcome Mapping for Profect Evaluation Performance Network Health Promotion and Families in Kokmuang Sub-District, Khowchaison District Phatthalung Province.

Author Ms. Wipada Maneenoy

Major Program Health System Management

Academic year 2014

Abstract

The descriptive study of the outcome mapping application for evaluating the overall results of the health promotion’s network and family in Khok Moung Sub-district. Khao Chaison District, Phatthalung Province. The objective of this research was to study the approach of outcome mapping application for evaluating the network’s operation. The key informants consisted of Major Associate Group, Strategic Associate Group and Expert Group, a total of 30 persons. The research instruments were the interview issues for the focus group discussion, structural interview form, approach for group discussion and outcome journal in accordance with the 12 steps of outcome mapping. The research instrument, the outcome journal, were assessed a content validity index (CVI) by the experts, a total of            3 persons, with a CVI result of all instruments were not less than 0.6. The results of this study found that the procedures were as follows:          1) visions designation, by approaching the areas to participate in meeting of each villages and survey a health’s current situation for the SWOT analysis. 2) missions designation, for establishing network of health promotion and planning projects to be more efficiency by arranging the activities that covering in all ages 3) partnership associates designation, for specifying a crucial role in accordance with the strategic issues and assigning jobs as the responsibilities 4) desired results designation, by  assigning the local fund to make an action plan and monitoring a progression, including studying on site visiting to improve the proficiency of the leaders and arranging more activities with the communities 5) progressive indication criterion designation, by specifying the indicators with the  community’s leaders in accordance with the Local Fund’s strategy 6) strategic map designation, by using data from the health problems exploration, community’s meeting, the strategic model from other districts, the Local Fund’s plan, the municipality’s strategy and the perspectives of the leaders 7) organizational operation, by promoting activities and projects in the municipality’s plan and assigning the responsible person and specifying the leaders to create and arrange the activities and projects 8) the prioritized arrangement, by evaluating the plan’s strategy, including a monitoring and reporting for a progression, change and development of the partnership associates 9) the outcome journal was the change of the partnership associates in 10 issues 10) the strategic journal was relevant to the 4 strategies, each of them consisted of 3 measures for motivating to be changed in the network’s operation of the partnership associates 11) the outcome journal was specified into 8 indicators, each of them consisted of substantial examples, empirical evidences, practices, and 12) evaluation planning, as the results will show the behavioral change and decision making of network’s operation for using during perform an action plan and the further of planning. The conclusion of the benefits of outcome mapping for applying consisted of 1) the outcome journal can be used for planning, performing, monitoring and evaluating process 2) the initiative of learning process towards the outcome mapping development and 3) the application of outcome mapping, in particular, for planning and searching for a proficiency of the partnership associates. The problems of the outcome mapping application consisted of 1) a technical terms made a lack of sample’s understanding and spent long times in each procedures 2) the transference of the officials made a less of effective in applying the outcome mapping because of a discontinuity of the operation 3) should be evaluating the readiness of participation of the partnership associates before using the outcome mapping for implementation 4) in each procedures, it should be inviting the experts to participate for specifying the issues clearly and making an easy of understanding communication to the participants 5) the outcome journal was abundant and not suitable for the partnership associates group, which were the community’s people and do not have a skills of recording, likewise of this study. It should be prepared for the recording such as the officials providing or adjusting the outcome journal to be short, compact and easy of understanding.
The results of the study showed that if the network will use the outcome mapping to apply for planning, overall, it would be proper by adjusting in accordance with the context of the area. The persons who will use the research results for applying in working both in policy planning and evaluating, were the major associates and strategic associates. The outcome journal application can be used for the case study in the other local areas but it should be considered about the level of network’s knowledge and scope to be consistent with the context of each levels or areas.

ไฟล์ประกอบเอกสาร
  1. abstract - Download
  2. บทที่ 1-5 - Download

Relate topics