สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม ความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรแผนกซักฟอกโรงพยาบาลชุมชน

by PPI_Admin @8 ต.ค. 59 12:24 ( IP : 192...39 ) | Tags : วิทยานิพนธ์
photo  , 773x695 pixel , 89,769 bytes.

ชื่อวิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม ความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรแผนกซักฟอกโรงพยาบาลชุมชน

ผู้เขียน นางสุวรรณดา  สงธนู

สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้    ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานแผนกซักฟอกโรงพยาบาลชุมชนขนาดไม่เกิน 150 เตียง ในพื้นที่เขตการตรวจราชการที่ 6 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 140 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงเนื่องจากลักษณะเฉพาะของงาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแอลฟาของครอนบาค แบบสอบถามประกอบด้วยข้อคำถามทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ปัจจัย        ส่วนบุคคล : ข้อมูลการปฏิบัติงานในแผนกซักฟอก ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.7 ส่วนที่ 2 การรับรู้    ความเสี่ยงจากการทำงาน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9 ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงาน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และวิเคราะห์      การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.6 เคยประสบอุบัติเหตุหรือได้รับการวินิจฉัยการเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งร้อยละ 5.7 ปวดกล้ามเนื้อแขนและบริเวณไหล่ รองลงมาร้อยละ 3.6 ลื่นล้มขณะซักผ้า ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงจากการทำงานโดยรวม    อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 60.7 การรับรู้พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงาน ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 47.9 สำหรับการรับรู้ความเสี่ยงจากการทำงานโดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.387, p<0.01) และพบว่า ปัจจัยเสริมหรือการได้รับการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด (β= 0.265, p<0.01) ของการรับรู้พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานของผู้ปฏิบัติงานแผนกซักฟอกโรงพยาบาลชุมชน โดยทำนายได้ร้อยละ 26.5 (adj-R2 = 0.265, P<0.01) ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อสนับสนุนการส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความเสี่ยงจากการทำงานและการสนับสนุนทางสังคมในสถานที่ทำงาน

Thesis Title  Factors Related to Risk Perception and Risk Prevention and Control Behaviors among Laundry Workers in Community Hospital

Author    Suwanda  Songtanoo Major Program Health System Management
Academic Year 2014

ABSTRACT

                  This cross-sectional survey aimed to explore factors related to risk perception and risk prevention and control behaviors among laundry workers community hospitals. The sample consisted of 140 laundry workers from community hospitals in the area of the 6th Health Sector, Ministry of Public Health. They were selected by purposive sampling according to specific job characteristics. Content validity was approved by three experts in occupational health and safety. The questionnaire consisted of one set with three parts, each tested for reliability using Cronbach’s alpha, and yielding values of 0.7, 0.9 and 0.7, respectively. Descriptive statistics were used in data analysis, including frequency, percentage, mean, standard deviation, Spearman correlation, and multiple regression analysis.   The results showed that the workers had health problems; 18.6% had an accident or had been diagnosed with illness from work in the past year, and 5.7% had muscle pain, especially in the arm and shoulder. Moreover, the results revealed less than 3.6% of the sample had fallen down due to slippery floor during the washing process. Most had a perception of risk and risk prevention and control behaviors at a high level, 60.7% and 47.9 %, respectively. The overall risk perception was positively related to risk prevention and control behaviors among laundry workers with statistical significance (r = 0.387, p <0.01). The best predictor of risk prevention and control behaviors among laundry workers in community hospitals was reinforcing factor or obtaining social support (β = 0.265, p<0.01). It explained 26.5% of the variance of risk prevention and control behaviors (adj-R2 = 0.265, P<0.01). These findings provide support for strategies promoting risk perception and social support at workplace.

Relate topics