สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

การพัฒนาคู่มือปฏิบัติการการทำแผนที่ทุนมนุษย์เพื่อสุขภาวะของเครือข่าย ชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการ

by PPI_Admin @8 ต.ค. 59 11:51 ( IP : 192...39 ) | Tags : วิทยานิพนธ์
photo  , 869x798 pixel , 152,382 bytes.

ชื่อวิทยานิพนธ์ การพัฒนาคู่มือปฏิบัติการการทำแผนที่ทุนมนุษย์เพื่อสุขภาวะของเครือข่าย ชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จังหวัดสงขลา

ผู้เขียน นางสาวลัดดาวรรณ  นวลสงค์

สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคู่มือปฏิบัติการการทำแผนที่ทุนมนุษย์เพื่อสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท
เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จังหวัดสงขลา โดยทุกขั้นตอนของการพัฒนาคู่มือฯ อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาเครือข่ายสัจจะฯ ตัวแทนทุนมนุษย์ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของโซนพื้นที่ ประธานและแกนนำของกองทุนสัจจะฯ ที่สมัครใจทดลองใช้คู่มือฯ จำนวน 4 กองทุน จาก 4 พื้นที่โซน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินคุณภาพคู่มือฯ แบบประเมินคู่มือฯ
และแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัย ระยะเวลาที่ใช้พัฒนาคู่มือฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2556
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการพัฒนาคู่มือฯ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการคู่มือ พบว่าเครือข่ายต้องการให้มีคู่มือฯ เนื่องจากสามารถนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลทุนมนุษย์ของเครือข่าย และนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาสุขภาวะได้ 2) การออกแบบคู่มือ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ 2.1) การยกร่างคู่มือฯโดยผู้วิจัย โดยจัดทำคู่มือฯฉบับร่างจากการศึกษาเอกสาร การเข้าร่วมประชุมประจำเดือน และการจัดประชุมเพื่อสำรวจความต้องการคู่มือฯ2.2) การพัฒนาคู่มือฯแบบมีส่วนร่วมจากเครือข่าย โดยการประชุมเพื่อนำเสนอคู่มือฯฉบับร่าง และ2.3) การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือฯ ด้านองค์ประกอบและเนื้อหา ด้านภาษา และด้านรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน 3) การทดลองใช้คู่มือฯ โดยการนำคู่มือไปทดลองใช้กับกองทุนสัจจะฯ 4 กองทุน และ 4) การประเมินผล ปรับปรุงแก้ไขคู่มือฯฉบับสมบูรณ์ ประเมินผลคู่มือฯโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัย การใช้แบบประเมินคู่มือฯ และการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้คู่มือ และนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาคู่มือฯฉบับสมบูรณ์ 2. องค์ประกอบ เนื้อหา ภาษา และรูปแบบของคู่มือฯ พบว่า ด้านองค์ประกอบและเนื้อหา คู่มือฯมีองค์ประกอบและเนื้อหา 2 ส่วน คือ 1) ส่วนนำของคู่มือฯ ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ และบทนำ และ 2) สาระสำคัญของคู่มือฯ มีเนื้อหาประกอบด้วย คำชี้แจงแนวทางการทำแผนที่ทุนมนุษย์เพื่อสุขภาวะ และขั้นตอนการทำแผนที่ทุนมนุษย์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนย่อย คือ การเริ่มต้นค้นหาทุนมนุษย์ การสืบเสาะเชิงลึกในพื้นที่ และการประกอบแผนที่ทุนมนุษย์ ซึ่งมีเนื้อหาในแต่ละขั้นตอนประกอบด้วย ชื่อขั้นตอน วัตถุประสงค์ กิจกรรมในแต่ละขั้นตอน และเอกสารหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ ด้านภาษา พบว่าคู่มือฯใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้คู่มือ และด้านรูปแบบ พบว่ารูปแบบของคู่มือฯเหมาะสม เนื่องจากใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ อ่านง่าย มีขนาดที่พกพาสะดวก มีภาพที่สื่อความหมายและสอดคล้องกับเนื้อหา และมีการแทรกกล่องข้อความช่วยเตือนและร่วมตัดสินใจอยู่ในเนื้อหา 3. เงื่อนไขการนำคู่มือฯไปใช้ พบว่า ผู้ใช้คู่มือฯควรเป็นประธานและแกนนำของกลุ่มที่สามารถอ่านออกเขียนได้ และผ่านการอบรมทักษะการสัมภาษณ์ ผู้ใช้คู่มือฯควรเป็นผู้กำหนดระยะเวลาและสถานที่ที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน การทำแผนที่ทุนมนุษย์ควรแยกจากกิจกรรมอื่น และควรมีการนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เนื่องจากช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
เพื่อให้ได้แผนที่ทุนมนุษย์เพื่อสุขภาวะของเครือข่ายสัจจะฯที่สมบูรณ์ เครือข่ายสัจจะฯควรนำคู่มือฯฉบับสมบูรณ์ที่ได้จากการวิจัย ไปใช้ในทุกกองทุนสัจจะฯที่เป็นสมาชิกของเครือข่าย โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้คู่มือฯ

Thesis  Title The Participatory Development of Human Capital Mapping for a Well- being Operational Manual of Community Network Case study : Songkhla Sajja One-Baht-Pledge Saving per Day Network for the People’s Welfare Sector

Author Laddawan Nuansong

Major Program Health System Management

Academic Year 2014

ABSTRACT

The objective of this research was to develop an operating manual of human capital mapping for well-being of the Cooperative Songkhla Sajja One-Baht-Pledge Saving per Day Network for the People’s Welfare Sector. All stages of manual development relied on the involvement of stakeholders, including the board of directors and advisors of the network and agents of human capital, who had been selected to represent the zone. The volunteer president and leaders of the network fund used the guide with 4 funds from 4 zones. Instruments used for data collection were the sessions recording form, assessment form of manual quality, assessment form of manual, and the observation form for the involved researchers. The duration for manual development was from January 2013 to December 2013. The results showed that. The manual development process. This consisted of four stages. 1) Studying of the basics and the manual needs. It was found that the networks required the manual because it could be used to collect data on human capital network. The data should be used in the well-being development. 2) Designing the guide, the consisting of three sub-stages, which were 2.1) drafting the manual by the researcher. This was done by the preparation of the draft documents. In the manual attending monthly meetings, and setting up conventions to explore the needs of the manual, 2.2) developing the manual with involvement from the network, a conference was set up to present the draft manual, and 2.3) ensuring the quality of the manual by three luminaries, the quality covered the composition, language and form. 3) Testing the guide with four funds. 4) Evaluation of the complete revision of the manual. The manual was rated by observation of the involved researchers, using the assessment guide and providing a platform for knowledge sharing about using the manual. The results were used to develop the complete manual. The composition, content, language, and format of the guide. It was found that the composition and content consisted of two parts: the first part of the manual contained a cover, a table of contents, preface, and introduction, and the second past was essence of the manual containing statement of human capital mapping for well-being and the process of mapping the human capital, which was divided into three sub-stages, starting to search for human capital, in-depth inquiry, and human capital entrepreneurship. The content of each step contained the name of the step, the purpose of the activity of that stage, and the required documentation or materials. The language of the guide was easy to understand and suitable for the user. The form of the manual was suitable because the characters were large, easy to read, and portable. In addition, the content included meaningful pictures, which were relevant to the content, and  a warning text and decision-making boxes. Manual using. The manual's users should be the president and leaders who can read and write, and have been trained to develop interview skills. Each user should determine the time and place for each stage. Mapping the human capital should be separated from other activities and should be presented using the program that can access the data easily. In order to map the human capital for health of the networks completely, the networks should use the complete manual of the research in all network groups that are members of the network by following the terms of the manual.

Relate topics