สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

การจัดสวัสดิการชุมชนและความต้องการสวัสดิการชุมชนเพื่อสุขภาวะ ของเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา

by PPI_Admin @8 ต.ค. 59 11:43 ( IP : 192...39 ) | Tags : วิทยานิพนธ์
photo  , 741x631 pixel , 91,317 bytes.

ชื่อวิทยานิพนธ์ การจัดสวัสดิการชุมชนและความต้องการสวัสดิการชุมชนเพื่อสุขภาวะ  ของเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา

ผู้เขียน นางสาวขนิษฐา  ทองเย็น

สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการชุมชน และความต้องการสวัสดิการชุมชนเพื่อสุขภาวะ ของเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานกองทุนสัจจะฯ หรือตัวแทนที่ประธานมอบหมาย จำนวน 28 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้ค่า CVI เท่ากับ 0.86 และการระดมสมอง (Brainstorming) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) สวัสดิการของเครือข่ายสัจจะฯ และกลุ่มอื่น ๆ ในชุมชน สวัสดิการที่อยู่ในระเบียบเครือข่ายสัจจะฯ และกองทุนสัจจะฯทุกกองทุนจัดได้  ด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ สวัสดิการรับขวัญบุตร แม่คลอดนอนโรงพยาบาล และฌาปนกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ สวัสดิการคนทำงาน และด้านระบบบริการสาธารณสุข ได้แก่ สวัสดิการรักษาพยาบาล และสวัสดิการซึ่งกองทุนสัจจะฯ จัดได้เพียงบางกองทุน ด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ สวัสดิการจ่ายเงินกู้และเงินฝากให้แทนกรณีสมาชิกเสียชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ สวัสดิการเพื่อการศึกษา การช่วยเหลือผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
สวัสดิการที่ไม่อยู่ในระเบียบเครือข่ายสัจจะฯ แต่กองทุนสัจจะฯทุกกองทุนจัดได้ ได้แก่ สวัสดิการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี และกองทุนสัจจะฯ เพียง 1-2 กองทุน มีการจัดสวัสดิการร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ในชุมชน ได้แก่ สวัสดิการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนและแหล่งน้ำธรรมชาติ ความดี ฯลฯ เป็นเพราะคณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ในพื้นที่กับกองทุนสัจจะฯ เป็นชุดเดียวกัน
สวัสดิการของกลุ่มอื่น ๆ ในชุมชน พบว่า มีความเหมือนกับสวัสดิการของกองทุนสัจจะฯ ในสวัสดิการที่เป็นพื้นฐานในวงจรชีวิต และมีสวัสดิการที่หลากหลายกว่ากองทุนสัจจะฯ ทั้งสวัสดิการทางด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมซึ่งครอบคลุมปัจจัยกำหนดสุขภาวะ
2) การดำเนินการจัดสวัสดิการของกองทุนสัจจะฯ มี 2 ลักษณะ คือ จัดสวัสดิการโดยกองทุนสัจจะฯ ซึ่งส่วนใหญ่จ่ายเป็นเงิน และจัดสวัสดิการร่วมกับภาคีเครือข่ายในรูปกิจกรรม    ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ในชุมชนซึ่งรวมหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มในชุมชน จัดสวัสดิการโดยจ่ายเป็นเงิน และกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่
3) ความต้องการสวัสดิการเพื่อสุขภาวะของเครือข่ายสัจจะฯ ด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ อาหารบำรุงครรภ์มารดา ปลูกต้นไม้รับขวัญบุตร ฯลฯ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนและแหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ ด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ พัฒนาอาชีพ การศึกษาพิเศษ งดเหล้าในงานบุญ ฯลฯ ด้านระบบบริการสาธารณสุข ได้แก่ ธนาคารเลือด และเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ        การดำเนินการจัดสวัสดิการที่ต้องการเพิ่มส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการจัดกิจกรรมพัฒนา          ปัจจัยกำหนดสุขภาวะร่วมกับภาคีเครือข่ายที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เครือข่ายสัจจะฯ ควรทบทวนระเบียบการจัดสวัสดิการ โดยให้สมาชิกร่วมกำหนดและพัฒนาสวัสดิการที่ครอบคลุมปัจจัยกำหนดสุขภาวะ และส่งเสริมการจัดสวัสดิการที่ใช้ทุนของกองทุนสัจจะฯ ในรูปแบบการจัดกิจรรมพัฒนาสุขภาวะร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของกองทุน

Thesis  Title Community Welfare Management and Needs of Community Welfare for a Well-being of Songkhla One-Baht-Pledge Saving per Day Network for the People’s Welfare Sector

Author  Kanistha  Thongyen

Major Program Health System Management

Academic Year 2014

Abstract

    The objective of  this descriptive research was to study community welfare management and  needs of community welfare for a well-being of  Songkhla Sajja One-Baht-Pledge Saving per Day network for the people’s welfare sector. The sample used in this research comprised 28chairmen or representative of  Sajja-Network, selected by proportional stratified random sampling. Data were collected through a questionnaires which passed the content scrutiny from three experts with a CVI score of 0.86 and Brain-storming technique was also adopted. Data were analyzed using frequency, percentage and content analysis. The results showed that

1) Welfare of the Sajja-group and other group in the community. All Sajja-Network are able to provide all welfares regarding the regulations  including the individual side  such as rewarding for new-born child, hospital birth, cremation, the social environmental side, such as  welfare for Sajja group volunteers and for the public health serviced side, such as medical benefit and other welfare which Sajja-group is able to provide only some services including  the individual-side  such as welfare payments on loans and deposits in the case of death, and in  the social environmental side, welfare support for education, help for the disabled and the disadvantaged. For welfare which is not defined in the regulations but all Sajja group are able to provide, such as welfare for restoration of cultural heritage, there are only few group which join other group in the community to provide welfare, such as conservation and restoration of the community forest and the natural water source and support of the “Goodness Bank” as the same committee of these groups and Sajja-group. We also found that welfare of other groups in the community is similar with welfare provided by Sajja-group in the life-cycle welfare and more diversity than Sajja-network in physical environmental and social welfare which covers determinants of health. 2 ) There are two types of implementation of the Sajja welfare group; provision of welfare by the Sajja group itself and  provision welfare by joining with other partners in activity-based welfare. For Other groups in the community included government sector and welfare fund in the community which provided welfare by cash and activity. 3) The needs of welfare for well-being of the Sajja Network, for  the individual side  such as, maternal nutrition, tree planting for new born child, for the physical environment side such as, forest conservation and restoration of natural water source etc., for the social environmental side such as, career development, special education and  abstain from alcohol in religious ceremony,etc.and for the public health serviced side such as, blood bank, medical instrument, etc. Most of welfarethat needs to be added is activity-based welfare to joint by develop and define  the determinant of heath together with other relevant networks. Thus, the Sajja-network welfare should review their welfare regulations by member defining and developing the welfare for determinant of heath and promoting the use of resources of the Sajja group in activities for the determinant of heath together with other relevant networks without effecting the financial stability of the Sajja group.

Relate topics