สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

สุขภาวะของสมาชิกเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จังหวัดสงขลา

by PPI_Admin @8 ต.ค. 59 11:31 ( IP : 192...39 ) | Tags : วิทยานิพนธ์
photo  , 725x638 pixel , 73,666 bytes.

ชื่อวิทยานิพนธ์ สุขภาวะของสมาชิกเครือข่ายสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จังหวัดสงขลา

ผู้เขียน นางสาวจุฑารัตน์  ไชยเอียด

สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสุขภาวะของสมาชิกเครือข่ายสัจจะฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกเครือข่ายสัจจะฯ ที่ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามเท่ากับ 0.81 และนำแบบสอบถามไปหาความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับ 0.92 ด้านสุขภาวะทางกาย จิต สังคม และปัญญา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.71, 0.77, 0.85 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Kruskal-Wallis H Test เปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธี Tamhane’s T2 ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยสุขภาวะโดยรวมอยู่ในระดับดี (xˉ = 2.71, S.D. = 0.35) สุขภาวะรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสุขภาวะดีที่สุดคือ สุขภาวะทางจิต (xˉ = 2.88, S.D. = 0.49) รองลงมาคือ สุขภาวะทางสังคม (xˉ = 2.74, S.D. = 0.54) สุขภาวะทางกาย (xˉ = 2.65, S.D. = 0.32) และสุขภาวะทางปัญญา (xˉ = 2.56, S.D. = 0.40) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบสุขภาวะของสมาชิกเครือข่ายสัจจะฯในระดับโซน พบว่า พื้นที่โซนที่แตกต่างกันมีผลต่อสุขภาวะของสมาชิกเครือข่ายสัจจะฯทั้งโดยรวมและรายด้านคือ สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากผลการวิจัยเครือข่ายสัจจะฯ ควรมีการพัฒนาสุขภาวะทางกายให้กับสมาชิกด้วยการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และควรพัฒนากิจกรรมของเครือข่ายสัจจะฯที่ช่วยพัฒนาสุขภาวะทางจิต สังคมและปัญญาของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น

Thesis  Title The Well-being of Members of Songkhla Sajja One-Baht-Pledge Saving per Day Network for the People’s Welfare Sector

Author    Jutarat  Chai-Ead

Major Program Health System Management

Academic Year  2014

ABSTRACT

The objective of this descriptive research was to determine the well-being of members of Songkhla Sajja One-Baht-Pledge Saving per Day Network for the People’s Welfare Sector. The sample size was calculated using Yamane formula with 95% confidence level. The sample comprised 400 members of the network, selected by stratified random sampling. Data were collected using a questionnaire. The content of the questionnaire was approved by three experts, yielding an index of 0.81. The reliability of the questionnaire calculated by Cronbach’s alpha coefficient was 0.92. The data were analyzed using descriptive statistics, namely frequency, percentage, mean, and standard deviation, Kruskal-Wallis H Test and Tamhane’s T2. Results showed that the sample had a mean overall well-being at good level (xˉ = 2.71, S.D. = 0.35). Individual average levels of well-being of 4 aspects were good. Mental well-being had the highest mean level (xˉ = 2.88, S.D. = 0.49) followed by social well-being (xˉ  = 2.74, S.D. = 0.54), physical well-being (xˉ = 2.65, S.D. = 0.32) and spiritual well-being (xˉ = 2.56, S.D. = 0.40). Comparative results of district of residence of the overall well-being and of each aspect, namely mental well-being, social well-being, physical well-being, and spiritual well-being revealed significant differences at the 0.05 level.
In summary, the Songkhla Sajja One-Baht-Pledge Saving per Day Network for the People’s Welfare Sector should encourage the network members to have appropriate health promotion behavior, particularly regarding exercise and food intake. The network should have activities for enhancing mental, social and spiritual well-being.

Relate topics