สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

การศึกษาปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดในกลุ่มกิจกรรมบำบัด ผู้ป่วยจิตเวช กรณีศึกษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

by PPI_Admin @8 ต.ค. 59 11:22 ( IP : 192...39 ) | Tags : วิทยานิพนธ์
photo  , 730x692 pixel , 72,217 bytes.

ชื่อวิทยานิพนธ์  การศึกษาปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดในกลุ่มกิจกรรมบำบัดผู้ป่วยจิตเวช กรณีศึกษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้เขียน นางสาวอารีนา อับดุลเลาะ

สาขาวิชา การจัดการระบบสุขภาพ

ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดของผู้ป่วยนอกจิตเวชที่เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ชนิดของโรคจิตเวช ระดับความรุนแรงของโรค และความถี่ของการเข้ากลุ่มกับคะแนนปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัด เป็นการศึกษาเชิงสำรวจในกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยจิตเวชที่เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัดระหว่างเดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนมีนาคม 2557 จำนวน 53 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประเมินตนเองประกอบด้วยแบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสำรวจการรับรู้ปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัด 60 ข้อย่อยของยาโลม หลังจากผู้ป่วยได้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนการรับรู้ปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดกับตัวแปรที่ศึกษาด้วยสถิติทดสอบความแตกต่างค่าที (t-test) กรณีเปรียบเทียบกลุ่ม 2 กลุ่ม และใช้สถิติการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับทดสอบค่าเฉลี่ยตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป
ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดที่ผู้ป่วยมีประสบการณ์สูงสุด 5 อันดับแรก คือ การเรียนรู้ระหว่างบุคคลต่อสิ่งที่ได้รับจากกลุ่ม คะแนนเฉลี่ย 29.5 (SD=4.3) สัจจะแห่งการดำรงอยู่ของชีวิต คะแนนเฉลี่ย 29.3 (SD=3.9) การเกิดความหวัง คะแนนเฉลี่ย 29.2 (SD=4.2) ความรู้สึกร่วม คะแนนเฉลี่ย 29.0 (SD=4.6)  และความรู้สึกผูกพันภายในกลุ่ม คะแนนเฉลี่ย 28.9 (SD=4.3) ตามลำดับ และปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดที่ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความเข้าใจตนเอง คะแนนเฉลี่ย 27.2 (SD=4.8) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดกับปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับเพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค ชนิดของโรคจิตเวช และระดับการศึกษา แต่มีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.03) โดยผู้ป่วยที่แต่งงาน (อยู่ด้วยกันกับคู่สมรส) มีคะแนนการรับรู้ปัจจัยการเป็นผู้มีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่นสูงกว่าผู้ป่วยที่เป็นโสดหรือหม้าย และมีความสัมพันธ์กับความถี่ของผู้ป่วยที่เข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยที่เข้ากลุ่ม 13 ครั้งขึ้นไปคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ปัจจัยความรู้สึกผูกพันภายในกลุ่ม  (p=.02)  และปัจจัยความรู้สึกร่วม (p=.05) สูงกว่าผู้ป่วยที่เข้ากลุ่มน้อยกว่า 13 ครั้ง
เมื่อนำผลที่ได้อภิปรายเพิ่มเติมกับผู้ปฏิบัติงานกลุ่มกิจกรรมบำบัดทำให้เห็นว่าการเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดเป็นหนึ่งในกระบวนการดูแลต่อเนื่องที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เตรียมความพร้อมของตนเองก่อนกลับสู่บ้านและชุมชนได้ดี อีกทั้งมีการพัฒนาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยที่เข้ากลุ่มได้ดีและสม่ำเสมอจะได้รับการเสริมทักษะเพื่อกลับคืนสู่ชุมชนโดยผ่านกิจกรรมพิเศษ ได้แก่ กิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมชุมชน กิจกรรมค่ายครอบครัวล้อมรั้วด้วยรัก กิจกรรมจิตสบายร่างกายแข็งแรง และกิจกรรมรดน้ำดำหัว ซึ่งในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพการบำบัดและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษข้างต้น เพื่อได้แนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Thesis Title A STUDY OF THERAPEUTIC FACTORS IN GROUP THERAPY OF PSYCHIATRIC PATIENTS: CASE STUDY IN SONGKLANAGARIND HOSPITAL

Author  Arina Abdulloh

Major Program Health System Management

Academic year 2014

Abstract

This study aimed to examine therapeutic factors of group therapy for psychiatric patients and the relationships between sex, age, marital status, education, type of psychiatric disorder, severity of disease and frequency of the group therapy with therapeutic factor. A survey was conducted in psychiatric patients who attended group therapy between December 2013 and February 2014, Fifty-three patients were sampled. Data were obtained using demographic data and Yalom’s self-assessment questionnaire, containing 60 items, collected after finished group therapy. Data were presented as descriptive statistics and comparisons were made using the t-test and ANOVA. By self–evaluation, the psychiatric patients ranked every one of the 12 therapeutic factors, according to their importance. The highest-ranking therapeutic factors in group therapy were: interpersonal learning-input, average score 29.5 (SD=4.3), existential factors, average score 29.3 (SD=3.9), installation of hope, average score 29.2 (SD=4.2), universality, average score 29.0 (SD=4.6), and cohesiveness, average score 28.9 (SD=4.3), respectively. And the lowest-ranking therapeutic factors was self-understanding factor, average score 27.2 (SD=4.8). The correlation of score therapeutic factors and personal factors were not significant statistical with sex, age, education, type of psychiatric disorder, severity of disease. But is associated with marital status was significant (p=.03) in patients who married have score of altruism factor more than patients who are single or widowed. And correlated with the frequency of the group therapy was significant, the patients who attended group therapy 13 times have score of cohesiveness factor (p=.02) and score of universality factor (p=.05) more than patients who attended group therapy less than 13 times. To discuss the outcomes of the study with the group facilitators; we could conclude that the group psychological intervention is one of the promoting processes, which supported patients’ recovery after discharging and also prepared themselves to live their normal life in community context. Patients would on going practice their life skills from the particular activities; for instance, community and home visit activity, a homestay family camp, sound mind in sound body and Songkran day Thai traditional for psychiatric patients. Hence the patients, who have participated both group intervention and these activities regularly, would show superior social skills which assist them to live in community following hospitalization. Regarding suggestion for further studies; there is necessary to find out the factors promoting effectiveness of group intervention and the clinical outcomes of those particular activities (i.e. community and home visit activity, a homestay family camp, sound mind in sound body and Songkran day Thai traditional for psychiatric patients), to develop efficient strategy of mental rehabilitation.

ไฟล์ประกอบเอกสาร
  1. abstract - Download
  2. บทที่ 1-5 - Download

Relate topics