สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

ยุทธศาสตร์หลัก การดำเนินงานของ สจรส.ม.อ.

ยุทธศาสตร์หลัก การดำเนินงานของ สจรส.ม.อ.

  1. ใช้กระบวนการทางวิชาการและงานวิจัย เป็นเครื่องมือและกลไกในการประสานงาน
  2. ใช้การทำงานแบบเครือข่าย โดยระดมนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เครือข่ายประชาคมสุขภาพ องค์กรชุมชนท้องถิ่น ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และนักวิเคราะห์ระบบในพื้นที่ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายทำงานและจัดการประเด็นสำคัญในระบบสุขภาพภาคใต้
  3. ใช้กระบวนการบริหารจัดการความรู้ การสร้างองค์กรและสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในเครือข่ายระดับต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นพลังในการขับเคลื่อนและจัดการระบบสุขภาพระดับท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง
  4. ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ในการผลักดันนโยบายสุขภาพทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาคและระดับประเทศ

แนวทางการเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นกลวิธีการปฏิบัติงาน

  1. การปรับกระบวนทัศน์ของนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้คิดเชิงระบบมองเห็นถึงความเชื่อมโยงของระบบสุขภาพ โดยอาศัยการทำ Research and Policy Mapping และ การแลกเปลี่ยนในเวทีวิชาการ
  2. การสร้างทีมนักวิจัย นักจัดการ ทั้งกลุ่มที่มี ศักยภาพสูง ปานกลาง และกลุ่มที่ยังต้องการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยมีลักษณะเป็นเครือข่ายความรู้ (Knowledge Network) และใช้ระบบพี่เลี้ยง (Research Counselors : RC)ทั้งเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น
  3. การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการ ได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบติดตาม ระบบการประเมินผล ระบบการเงินและงบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ
  4. การพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยและพัฒนา ทั้งเชิงระบบและเชิงนโยบาย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้ประโยชน์จากงานในแต่ละประเด็น และ การสร้างเวทีวิชาการ เวทีนโยบายเพื่อการติดตามความก้าวหน้าและการผลักดันนโยบาย
  5. การพัฒนากลไกและวิธีการในการจัดการเพื่อให้งานวิจัยและพัฒนา ที่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ (research utilization) โดยการดึง stakeholder ซึ่งรวมทั้ง User เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การตั้งโจทย์ การร่วมศึกษา และร่วมผลักดัน เพื่อทำให้เกิดคุณค่าตรงกับความต้องการของ user
  6. ใช้การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ และสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำวิจัยเชิงระบบและการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย