สถาบันนโยบายสาธารณะ

TH | EN

10 ปีการพัฒนาวิชชาสมัชาสุขภาพ ภาคใต้ขึ้นแถวหน้าปฏิรูปประเทศ

การประชุมเวทีวิชาการสมัชชาสุขภาพภาคใต้ "10ปีพัฒนาวิชชาสมัชาสุขภาพ" ในวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนายสมพร ใช้บางยาง เป็นประธานอาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร รองประธาน และ นายสุริยา ยีขุน เป็นเลขานุการ

การปาฐกถา เรื่อง "สมัชชาสุขภาพกับการพัฒนานโยบายสาธารณะพื้นที่ภาคใต้" นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าสมัชชานั้นอยู่ที่เจตนารมณ์ ของประชาชนที่อยากเห็นประเทศไทยอย่างไร สมัชชาสุขภาพ เป็นตัวกลางที่ทำให้ทุกฝ่ายมาร่วมกันพัฒนานโยบายสาธารณะ ไม่ได้เป็นของใครแต่เป็นทุกส่วนร่วมกัน นับเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

"วันนี้มีการปฏิรูปประเทศไทย เป็นเครื่องมือโยงทุกภาคส่วน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเราทำมาแล้วด้วยสมัชชา ภาคใต้นำในเรื่องนี้ เพราะ ดูการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านมาทางสมัชชา จน ครม.เห็นชอบมาแล้ว"

เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าถ้ามองย้อนกลับไปสมัยก่อน ประชาชนไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการพัฒนา แต่หลังมีสมัชชาประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม

"อย่างไรก็ตามแม้จะได้ถึงเป็น มติ ครม. ประชาชนก็อย่างไว้วางใจ ต้องขับเคลื่อนต่อ เพราะ มติ ครม.จำนวนมากเหมือนกันที่ไม่ได้ส่งผลทางปฏิบัติจริง" นายแพทย์อำพลกล่าวว่า ขณะนี้การปฏิรูปประเทศไทย ไปไม่ถึงไหน ประเทศไทยพิการ ระบบผิดปกติ ยิ่งพัฒนายิ่งเหลือมล้ำ การที่สังคมไทยแตกแยกกัน กระบวนการสมัชชา จะช่วยให้ตรงนี้เข้ามาหากัน ที่ภาคใต้ กำลังเชื่อมหลายเรื่องให้คนคิดแบบองค์รวม เราทำงานไม่แยกส่วน มาร่วมกัน กลับไปทำสิ่งที่ตนเองทำได้ ที่ผ่านมาขาดเป้าหมายร่วมกัน แต่ตอนนี้ไปได้แล้วสำหรับภาคใต้ ถือว่า คึกคักที่สุด หลายเรื่อง โดยเฉพาะยังมีการที่จะใช้ช่องทางการสื่อสารสังคม ในการพัฒนาสังคม ซึ่งที่อื่นไม่ชัดเท่าภาคใต้

ที่ผ่านมาภาคใต้พยายามเชื่อมหลายส่วน แต่ทำได้ไม่มาก เพราะระบบการศึกษามักดูตามตำรา และทำตามฝรั่งบอก ที่สำคัญคือจัดการองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เป็นเรื่องใหญ่แล้ว การสื่อสารสังคมที่ต้องทำให้มากกว่านี้ การใช้สมัชชา จะใช้รูปแบบไหนก็ได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราจะได้นโยบายสาธารณะ ได้ประเด็น มติ มาทำได้เลยไม่ต้องรอส่วนกลาง โดยหัวใจสำคัญ คือกลไกจัดการขนาดเล็ก โดยคนจิตสาธารณะ โดยมีคนจัดการ อย่างที่ภาคใต้ทำได้ ไม่ใช่หน่วยงานเดียว แต่อยู่ที่นักจัดการ และมีคนมาช่วยมากมาย นี่คือหัวใจ ของความสำเร็จของการทำงาน ที่จะเชื่อมโยงคนสำคัญ ของสังคมไทย ที่จะเดินหน้าต่อไป

"วันนี้เรามี อปท.มากมายที่ขับเคลื่อนโยบายสาธารณะได้เลย"

นายสมพร ใช้บางยางกล่าวว่า ความพยายามสร้างความเข้มแข้งให้ท้องถิ่นกับประชาบนถ้าทำได้จะดีกว่าเก่ามาก โดย ไม่ต้องรอส่วนกลางกำหนด เพราะหัวใจคือการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พี่น้องที่ทำงานต่างๆ กำลังทำให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง กระบวนการมีหลายระบบ หลายช่อง หลายวง มาเชื่อมโยงถึงกัน หากไม่ต่างคนต่างทำ พลังเข้มแข็งจะเกิด เป้าหมายอยู่ร่วมกันอยู่เย็นเป็นสุข

การนำเสนอกรณีศึกษาการพัฒนานโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ

นายสมยศ ฤทธิธรรมนาถ ตัวแทนจังหวัดสตูล กล่าวว่ากระแสสุขภาพแนวใหม่ เริ่มมีความเคลื่อนไหวในพื้นที่ราว 1 ปีที่ผ่านมา กระบวนการปฏิรูปทางสุขภาพ เกิดขึ้น และเชื่อมร้อยอย่างชัดเจน สตูลวางเป้าหมายของการขับเคลื่อจัดการตนเอง หรือพูดกับแบบภาษาถิ่นว่าจังหวัดแก้หราตนเอง นอกจากทุกภาคส่วนแล้ว กลไกศาสนาเป็นส่วนสำคัญ

นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวังกล่าวว่า กระบวนการสมัชชา ได้ใช้แนวคิดในสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขานำมาใช้สำเร็จ ทุกภาคส่นไม่ว่าการเมืองท้องถิ่น อย่างอบจ.มาให้ความสำคัญ เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม คนรากหญ้าได้เสนอสิ่งที่ตนเองต้องการ ขณะที่ภาคราชการ ก็ปรับท่าที หลายหน่วยงานเข้ามาร่วม มีการแก้ปัญหา จัดการร่วมประสานความร่วมมือ เกิดจากเวทีสมัชชา เกิดนโบายสาธารณะ และกระบวนการจัดการ

"ถ้าเราทำให้สังคมอยู่อย่างเป็นสุข ดูแลตัวเองได้ จะก้าวส่ปฏอรูปปรเศไทยง่ายดาย โดยคนรากหญ้า"

สุวิทย์ ชูโชติ สำนักการศึกษา อบจ.ยะลา การพัฒนานโยบายสาธารณะประเด็นเด็กและเยาวชน มีการเชิญท้องถิ่นมาประชุมเพื่อระดมความคิด แลกเปลี่ยน ขอความร่วมมือจากท้องถิ่นให้รับสมัครเยาวชนเป็นสมาชิก ประชุมแต่ละอำเภอ ให้เขาคัดเลือกคณะทำงานแต่ละอำเภอมาทำงาน เมื่อได้ตัวแทนก็เชิญเยาวชนมาอบรม ให้รู้ภาระหน้าที่ ได้เยาวชนทั้งหมด จนได้ข้อเสนอของเยาวชนที่ต้องการคือเล่นกีฬา ในปี53 จึงเสนอข้อเสนอแนะ เรื่องนี้ให้กับผู้บริหาร ได้เห็นชอบตั้งงบประมาณซื้ออุปกรณ์กีฬาแจกทุกศูนย์ที่ตั้ง

การติดตามการทำงาน ได้ปัญหา ข้อเสนอแนะที่จะจะทำในปี 54

มาเรียม ชัยสันทนะ กล่าวว่ายะลา มีเป้าหมายในการพัฒนาชัดเจน มีหลายหน่วยงานที่เข้ามา ร่วมเป็นทีมงาน ค้นหาองค์ความรู้ทางกิจกรรมว่าจะทำอย่างไร ค้นหาสิ่งดีๆในหมู่บ้าน ที่ผ่านมาได้ทำหลายอย่างเช่น การทำหอกระจายข่าว จัดกลุ่มดูแลกันเอง น่าจะครบองค์รวม หลังทำแล้วมีองค์ความรู้ และภาคีที่จะเดินต่อไปข้างหน้า

นายสำราญ สมาธิ ตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์ตรัง นำเสนอว่าทุกเรื่องถ้าไม่มีคนรุ่นใหม่มาสานต่อ อนาคตคงลำบาก สำหรับสังคมไทย สำหรับเครือข่ายเด็กและเยาวชน ได้รับอิทธิพลมาจากครูเปลื้อง คงแก้ว หรือเทือก บรรทัด นักเขียน และกวีผู้ล่วงลับ ได้สอนให้ทุกคนคิดนอกรอบจากห้องสี่เหลี่ยม พบว่า กระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นเราจะพบประสบการณ์สำคัญ

"เมื่อพบความจริงทำให้ค้นพบความงาม กลายเป็นความรักที่ถูกทอในหัวใจ ของคนในสังคม เราก็มาหาทางว่าทำอย่างไรให้ชุมชนดีขึ้น ซึ่งมติจังหวัดแก้ปัญหาสังคม โดยใช้เรื่องเด็กและครอบครัวเป็นฐาน"

นายทวีชัย อ่อนนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกระบี่กล่าวว่า การแก้ปัญหาความรุนแรงเด็กและเยาวชน ตำบลเกาะกลาง จังหวัดกระบี่ ด้านสังคมยกระดับให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างเช่น กายม ซึ่งนำมาแสดงให้เวทีสมัชชารับชมด้วย นอกจากนั้นยังส่งเสริมประเพณีที่ เข้าถึง ชาวพุทธและมุสลิม

"การดำเนินการที่ผ่านมา ได้สร้างกติกาการไม่สร้างความรุนแรงในเยาวชน ตั้งองค์การบริหารเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เชื่อมร้อยสู่กับเด็กและเยาวชนกลุ่มอื่น ยกระดับให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์

จังหวัดภูเก็ต จากการทำสมัชชา พบปัญหาว่าเชื่อมโยงกับปัญหา โรคอ้วนระบาดไปทั่วโลก และภาคใต้ครองแชมป์ ที่ภูเก็ตจึงพูดเรื่องอนามัย การกิน ออกกำลังกาย เชื่อมโยงกับประเด็นโรคอ้วนและเพื่อเชื่อมกับคนรุ่นใหม่ จึงได้เปิดเฟชบุ๊ค เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

การนำเสนอกรณีศึกษาการพัฒนานโยบาสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชาสุขภาพ ในวันนั้น ยังมีการนำเสนอกรณีศึกษาของจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดระนอง นำเสนอเรื่องการอนุรักษ์พันธ์ปลาท้องถิ่น ตำบลละอุ่นเหนือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำเสนอเรื่องการอนุรักษ์วังปลาคลองยัน จังหวัดพังงานำเสนอเรื่องการอนุรักษ์ดูแลลุ่มน้ำคลองพังงา จังหวัดพัทลุง นำเสนอการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง จังหวัดสงขลา นำเสนอแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา จังหวัดชุมพร นำเสนอท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพ ตำบลบ้านควน จังหวัดปัตตานีนำเสนอ หลักประกันกองทุนสุขภาพ กองทุนแม่และเด็ก ตำบลนาเกตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนออาสาสมัครสร้างสุขชุมชน ตำบลวังหิน จังหวัดนราธิวาส นำเสนอการแก้ปัฯหาที่ดินอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหปาดี

ในการวิพากษ์และเติมเต็มการพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะมีความเห็นที่น่าสนใจและหลากหลาย

นางพรรณิภา โสถิพันธุ์ ผู้บริหารไทยทีวี กล่าวว่าอยากมองเห็นกระบวนการพัฒนาแต่ละจังหวัด รวมถึงกระบวนการทางสมัชชา และที่สำคัญได้พาประเด็นนี้ไปสู่ความเป็นมนุษย์ได้หรือไม่ ถ้าอย่างนั้นไปไม่ถึงไหน

"ชื่นชมสมัชชาตรัง มีแนวคิดชัด มองเห็นต้นทางปัญหา อย่างเป็นระบบ มองว่าทุนทางสังคมที่จะดึงเข้ามา เอาพลเมืองที่ใส่ใจบ้านเมือง มองเห็นความเชื่อมโยงเครือข่ายเกี่ยวข้องมาเสริมพลังเด็ก ได้ มองเห็นความพยายามของตรัง ที่มองว่ามาทำเรื่องเยาวชน เพราะมองเห็นปัญหาการศึกษาว่าเป็นต้นเหตุจะให้เด็กเป็นอย่างไร นำมาเป็นโจทย์สร้างกิจกรรมต่างๆ ที่โยงใยไปถึงต้นทางคือครอบครัว ถือว่าการตั้งโจทย์ชัดและเชื่อมกับเรื่องแผ่นดิน ไม่อย่างนั้นปัญหาดั้งเดิมของเด็กก็จะยังไม่คลี่คลาย"

นางพรรณิภากล่าวว่า หลายพื้นที่ ถ้าเติมกระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรม นำมาต่อให้เป็นความหมายเครือข่ายที่แท้จริง มากกว่าจะติดอยู่กับภาพลวง บางอย่าง ทำความเป็นมนุษย์ให้เขา

"เวลาที่เรามองเป็นรูปธรรม อาจมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ เวลาทำเรื่องเด็กเป็นนามธรรมมาก ต้องเอาจริงเอาจังเรื่องนามธรรม ให้มาก อาจต้องใช้เวลานาน เงื่อนไข เราไม่รู้ว่าใช้เวลานานเท่าไร ในเวลาจำกัดอาจมองไม่เห็น ที่สุดตั้งโจทย์ให้ชัด โดยเฉพาะการเอมกับโจทย์ แผ่นดิน ใส่ใจในเรื่องความเป็นมนุษย์"

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลากล่าวว่า สิ่งที่ต้องมองอย่างหนึ่งคือปัญหาสังคมในวันข้างหน้า เราอย่ามองแค่ในวันนี้ ทุกวันนี้ความขัดแย้งไม่มากนักในการอยู่ร่วมกัน แต่ถ้าเยาวชนที่โตขึ้นมาโดยไม่มีกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันในการข้ามวัฒนธรรม ทำให้ภูมิคุ้มกันสังคมน้อยลง เพราะ ความขัดแย้งที่เกิด พบว่าเกิดจากขัดแย้งทางศาสนามากกว่าการเมือง ซึ่งในสังคมพหุวัฒนธรรม ต้องวางน้ำหนักเอาไว้ เอาเพื่อไม่ให้คน แบ่งแยก และเปิดกวาง สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ เป็นฐานราก

"หลายพื้นที่ของภาคใต้ต้องมาคิด เพราะ เมื่อมีความขัดแย้ง สุขภาวะไม่เกิด แต่ถ้าสงบสุข อย่างน้อยยังมีสุขภาวะทางใจ การสร้างคนไม่เหมือนสร้างเมือง เพราะการสร้างคนไม่จบสิ้น เราสร้างคนตอบโจทย์ปัญหาบ้านเมืองและยั่งยืนด้วยต้องคิดว่าจะต้องปลูกฝังอย่างไร อย่างที่ประเทศจีน ที่จะถามเด็กทุกวันว่าทำอะไรเพื่อประเทศชาติหรือยัง เป็นกระบวนการที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง"

รศ.ดร. เริงชัย ตันสกุล ประธานสภาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

กล่าวถึงกรณีที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ว่า ปัญหามาจากพื้นที่ 4 จังหวัดคือ ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา พัทลุง แสดงให้เห็นถึงการพัฒนามากขึ้น คนมีความต้องการมากขึ้นในทุกเรื่อง เป็นที่มาของความขาดแคลน แต่ละแห่งจะมีปัญหาแตกต่างกันไป การแก้ปัญหาแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่า 4 พื้นที่ต่างกัน แต่การแก้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง หารูปแบบที่เหมาะสมในปัจจุบัน มีการรวมตัวของชุมชนที่มีปัญหาเหมือนกัน ในทีสุดจะเกิดผลงาน ที่ผ่านการจะเห็นถึงการทดลอง เมื่อใช้เวลาหนึ่งมีการเปลี่ยนไปให้เหมาะสม

"ที่เหมือนกันทั้ง 4 โครงการคือพื้นที่ได้แก้ปัญหาเอง จนได้วิธีปฏิบัติ ดำเนินการ และแก้ปัญหามาได้จนกระทั่งปัจจุบัน ทฤษฎีมักล้มเหลวในทางปฏิบัติ แต่ ที่นำเสนอ ถือว่าการที่ยืนหยัดอยู่ได้ น่าสนใจรายละเอียดเป็นอย่างไร"

ดร.เลิศชาย ศิริชัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่ากลุ่มผู้เคลื่อนไหวเชิงสังคม หรือสมัชชา ไม่ได้ทำสิ่งหนึ่ง เพื่อสิ่งหนึ่งโดยตรง แต่เป็นการเชื่อมโยงกับปัญหาที่ยิ่งใหญ่ เช่นการทำวังปลา ที่สุราษฎร์ธานี ไม่ได้หวังแค่ตัวปลา แต่หวังผลที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับประชาชน

"เดิมเรามีทรัพยากรอยู่มาก ใช้ร่วมกัน มีความทรงจำร่วม เผชิญปัญหา ร่วม แต่เมื่อสังคมต่างคนต่างอยู่ พื้นที่ร่วมหายไป จึงเห็นคุณูปการของโครงการว่านี่คือการจัดการเพื่อรับมือปัญหา การเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีวิธี"

ดร.เลิศชายมองว่า คิดว่าเอากระบวนการเล็กๆ ไปสู่กระบวนการเรียนรู้ เป็นการสร้างนโยบายสาธารณะ เพราะไม่ใช่ระดับรัฐ แต่ยังมีระดับชุมชน สำหรับ สจรส. ทำให้เห็นว่าหลายฝ่ายกำลังมาคุยกันเห็นร่วมกัน ซึ่งนโยบายสาธารณะชุมชนสำคัญ ขณะที่หลายเรื่องชุมชนไม่เอาธุระเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว

"ถ้าเราไม่เคลื่อนไหวให้คนทุกกลุ่มในชุมชนมาเข้าใจร่วมกัน จะทำให้มีเราอยู่กลุ่มเดียว แต่ถ้าเป็นนโยบายจะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า" ดร.เลิศชายกล่าว และยังเห็นว่าอย่ามองปัญหาแบบแช่แข็งปัญหา เมื่อ 20ปีที่แล้ว เพราะจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้

อาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตรรองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกจังหวัดแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงทุกกภาคส่วน ท้องถิ่นเข้ามาเคลื่อน ภาคราชการมีมากขึ้นแม้ ไม่มากนัก อย่างนโยบายเด็กและเยาวชนทำอย่างไรทำให้กลไก คณะทำงาน ผู้ใหญ่ มาหนุนเด็ก ให้สองขบวนไปด้วยกันอย่างกลมกลืนไม่ใช่ ใครไปเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ต้องมองการพัฒนาเด็กเชิงระบบ มองเป็นระบบไม่ใช่แยกกันทำ ต้องปรับวิธีคิดกันใหม่ และสิ่งสำคัญคือสิ่งที่คิดทั้งหมด จะนำไปปฏิบัติย่างต่อเนื่องได้อย่างไร ให้เป็นจริงต่อเนื่องด้วย

โดย ถนอม ขุนเพ็ชร์

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง