สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

Contents

65 items(1/7) 2 3 4 5 Next » Last »|
โดย Pawint Saeku on 25 ม.ค. 67 11:59

.-profile-btn:hover .menu-profile{ display:flex !important; } body{ height:unset;} .-main-content{margin-top:7em;background-color:#fff;  

โดย Pawint Saeku on 17 ม.ค. 67 11:37

<?php$init = (object)['load' => '.-loadContent','style' => '','tag' => 1212,'uid' => 2034,];$post = jsondecode(SG\api(['url' => 'htt

โดย Pawint Saeku on 14 ธ.ค. 66 12:11

<?php$post = json_decode(SG\api(['url' => 'https://ppi.psu.ac.th/api/project/actions?childOf=2185' ,'type' => 'json']));//debugMsg($post,'post');if($post->count == 0) ech

โดย Pawint Saeku on 21 พ.ย. 66 14:54

การดำเนินกิจกรรมโครงการ

  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมสรุปโครงการและพัฒนาข้อเสนอแนวทางต่อยอดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย : ....@06 พ.ย. 66 16:23
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย : .....@06 พ.ย. 66 16:19
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย : ...@06 พ.ย. 66 16:15
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมร่างแผน PA ภูเก็ต ครั้งที่ 3 : ..@20 ก.ย. 66 17:39
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ : .@20 ก.ย. 66 10:11
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมข้อมูลเวทีนโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ภายใต้งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 : .@19 ก.ย. 66 16:20
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมข้อมูลเวทีนโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ภายใต้งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 : .@19 ก.ย. 66 15:48
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าบริหารจัดการเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566 : .@18 ก.ย. 66 15:50
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย : .@18 ก.ย. 66 15:30
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    พัฒนาระบบติดตามและประเมินผล : .@18 ก.ย. 66 15:28
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    8. สรุปโครงการและจัดทำรายงาน : .@18 ก.ย. 66 14:18
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    สนส.ม.อ.ลงพื้นที่ร่วมงานเปิดตัวโครงการรองรับนักท่องเที่ยวและชุมชนของลาวิชต้า : พื้นที่ได้เปิดรองรับนักท่องเที่ยวและชุมชนสามารถเข้าไปใช้เพื่อฟื้นฟูดูแลสุขภาพได้ โดยมีพื้นที่สามารถมีกิจกรรมทางกายและฟื้นฟูสุขภาพดังนี้ 1. พื้นที่เด่นเล่นเที่ยวชมสวนสมุนไพร 2. พื้นที่โยคะ 3. คลินิกแพทย์แผนไทย 4. ร้านอาหารที่ใช้พืชสมุนไพร@18 ก.ย. 66 12:01
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต และถอดบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย : การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ตและถอดบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยได้รับเกียรติจากนายอำนวย พิณสุวรรณ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าววิสัยทัศน์แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ตและการส่งเสริมสุขภาพ/พื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต และได้รับเกียรติจาก นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าววิสัยทัศน์แนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเพิ่มกิจกรรมทางกายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกล่าวต้อนรับโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต การลงนามความร่วมมือทางวิชาการการขับเคลื่อนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันนโยบายสาธารณะและงานบริการวิชาการ วิจัย และประชาสัมพันธ์ วิทยาเขตภูเก็ต กับหน่วยงานของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 11 หน่วยงาน คือ จังหวัดภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองกะทู้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง Healthy Space Forum และสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย   กิจกรรมการขับเคลื่อนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ซึ่งมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีจังหวัดต้นแบบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่จะทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง ด้วยการมีกิจกรรมทางกายและจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในหลายด้าน มีการกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต 20 ปี (พ.ศ. 2566-2585) เรื่อง ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Wellness Hub) การท่องเที่ยวทางกีฬา (Sports Tourism) และเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy City) ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาของประเทศและของโลก และทั้งสามเรื่องสามารถผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้โดยภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ตซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกัน คือ “เมืองภูเก็ตสุขภาพดี มีวิถีชีวิตกระฉับกระเฉง ภายใต้สภาพแวดล้อมเหมาะสม” จึงทำความร่วมมือโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75 และจังหวัดภูเก็ตมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติรรมการบริโภค โดยข้อตกลงร่วมกันจะมีประเด็นดังนี้ 1. ร่วมกันพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ตในการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพคนภูเก็ตด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการปรับพฤติกรรมการบริโภค ให้กับประชาชนทุกช่วงวัย 2. ร่วมกันพัฒนาให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีความรอบรู้ทางสุขภาพ ที่จะนำไปสู่การใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง (Active Living) ของประชาชนทุกกลุ่มวัย ทุกอาชีพ และทุกสถานที่ 3. สนับสนุนและส่งเสริมด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของภูเก็ตให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็น เมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City) ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทจังหวัด ด้านศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Wellness Hub) การท่องเที่ยวทางกีฬา (Sports Tourism) และ เมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy City) 4. ร่วมกันพัฒนาเครือข่ายและกลไกในการขับเคลื่อนแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจังหวัดภูเก็ต 5. ร่วมสร้างสังคมภูเก็ตให้มีความกระฉับกระเฉง ที่จะนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ให้คนภูเก็ตมีเป้าหมายเดียวกันในการมีสุขภาวะด้วยการมีกิจกรรมทางกายและการปรับพฤติกรรมการบริโภค 6. ร่วมกันพัฒนาระบบสนับสนุนการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉงของจังหวัดภูเก็ต ให้เกิดการพัฒนาการวิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาฐานข้อมูล ที่สอดแทรกองค์ความรู้กิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง@15 ก.ย. 66 10:21
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค : วันที่ 7 กันยายน 2566 - กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ สถานการณ์กิจกรรมทางกายและความสำคัญการดำเนินงานพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการสร้างเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - นำเสนอการดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดภูเก็ต โดย คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ รักษาการหัวหน้างานงานบริการวิชาการ วิจัย และประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และคุณณัฐวิช วิเศษสินธุ สถาปนิกโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบฯ - นำเสนอ (ร่าง) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ภูเก็ต โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - ระดมความคิดเห็นแต่ละกลุ่ม 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ภาคีเครือข่ายอำเภอเมืองภูเก็ต 2. ภาคีเครือข่ายอำเภอกะทู้ 3. ภาคีเครือข่ายอำเภอถลาง 4. ภาคีเครือข่ายจังหวัดภูเก็ตหัวข้อ: แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อการขับเคลื่อนในพื้นที่/องค์กร โดย Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน - นำเสนอผลจากการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อ (ร่าง) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ภูเก็ต วันที่ 8 กันยายน 2566 - สรุป (ร่าง) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ภูเก็ต  โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ร่าง) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ภูเก็ต@15 ก.ย. 66 10:15
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมร่างแผน PA ภูเก็ต ครั้งที่ 2 : เตรียมแผนร่าง PA ภูเก็ต เตรียมกำหนดการและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุม ร่าง SWOT ร่าง แผน ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แนวทางและโครงการ วิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดแต่ละหน่วยงาน กำหนดองค์กรที่ร่วมเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อน PA ต่อในอนาคต@01 ก.ย. 66 11:21
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ถอดบทเรียนโครงการ PA ภูเก็ต : ประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เรื่องเครื่องมือและเทคนิค (Tool and technique) ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 1. ความเป็นมาของการเลือกพื้นที่ 5 แห่งสำหรับการพัฒนาเป็นพื้นที่สุขภาวะโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบฯ จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยวกระแสหลัก หลังจากที่มีการระบาดของ Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจของภูเก็ตได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยมูลค่าการท่องเที่ยวช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมในปี 2562 เท่ากับ 210,635 ล้านบาท และในปี 2564 เท่ากับ 38,527 ล้านบาท ลดลง -81,709 % ทำให้กลุ่มภาคเอกชน ภาครัฐ และ ภาคประชาสังคม ในจังหวัดภูเก็ต ได้มีการรวมตัวกันและจัดทำแนวทางการฟื้นฟูแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต 3 ระยะ 1. แผนระยะสั้น ต้องดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวให้กลับเข้ามาพำนักในจังหวัดให้มากที่สุด ทั้งในกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้สูง กลุ่มแรงงานทักษะสูง กลุ่มผู้อยู่อาศัยเป็นครอบครัว โดยเพิ่มกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงรุก 2. แผนระยะกลาง เป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเพิ่มรายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ คู่ขนานไปกับการท่องเที่ยว ได้แก่ อุตสาหกรรม Health and Wellness อุตสาหกรรมการศึกษา  อุตสาหกรรม Gastronomy  อุตสาหกรรม Sports and Events  อุตสาหกรรม Smart City 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart Tourism, Smart Health, Smart Safety, Smart Environment, Smart Education และ Smart Governance อุตสาหกรรม Marina อุตสาหกรรมส่งออกปลาทูน่า 3. แผนระยะยาว ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี จังหวัดภูเก็ตควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนเป็นอันดับแรก รองลงมาคือยังคงต้องเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล และเพิ่มการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ลำดับถัดมาคือการเป็นศูนย์กลางการประชุมและการจัดนิทรรศการนานาชาติ การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และ การเป็นเมือง Digital จะเห็นว่า จังหวัดภูเก็ต ได้ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นการท่องเที่ยวกระแสหลักเท่านั้น เป็นการเพิ่มการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ทั้งอุตสาหกรรม Health and Wellness อุตสาหกรรม Gastronomy  อุตสาหกรรม Sports and Events  อุตสาหกรรม Smart City 7 ด้าน โดยการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งนี้จะทำให้ภูเก็ตเป็นจังหวัดสุขภาวะ และจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบเมืองให้รองรับการเป็นเมืองสุขภาวะ เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองที่กระฉับกระเฉง (Healthy City is an Active City) เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย ร่วมกันจัดทำโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 2. เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของนักท่องเที่ยว 3. เพื่อสนับสนุนให้เมืองภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่กระฉับกระเฉง (Active Environment) 4. เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายระดับประเทศและนานาชาติ 5. เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการประเด็นกิจกรรมทางกายควบคู่กับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) พื้นที่เป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมาย ในเมืองภูเก็ตที่จะเป็นต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย ลำดับ พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย 1 พื้นที่บนบริเวณชายหาดป่าตอง ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร เทศบาลเมืองป่าตอง ชุมชนป่าตอง 2 พื้นที่ย่านเมืองเก่า ที่จะมีกิจกรรมการเดิน การละเล่น อาหาร และเป็นโครงข่ายเชื่อมพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางกายในเขตเมือง เทศบาลนครภูเก็ต ชุมชนย่านเมืองเก่า 3 พื้นที่สวนสาธารณะสะพานหิน ที่จะมีกิจกรรมเดิน วิ่ง จักรยาน การละเล่น กีฬา อาหาร 4 พื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น และ ศาสตร์แพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เทศบาลเมืองกะทู้ 5 พื้นที่ในโรงแรม ที่จะมีกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายโดยกีฬา การละเล่น อาหารและ ศาสตร์แพทย์แผนไทย สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย วิธีดำเนินการ 1. การทบทวนรูปแบบเมืองต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ 2. การประสานความร่วมมือกับ 8 กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นเครือข่ายและกลไกทางสังคม 3. การประชุมเชิงปฏิบัติการการออกแบบพื้นที่และสร้างร่วมมือ 5 ครั้ง 4. กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่และการสนับสนุนปฏิบัติการในพื้นที่ 5. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนและสรุปแบบพื้นที่และการวางแผนการดำเนินงาน 5 ครั้ง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. การประชุมรับฟังความเห็นและการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่าง หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนตัวแบบในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการนำไปประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ 7. การประชุมเพื่อวางระบบการติดตามประเมินผลของกลไกขับเคลื่อนในพื้นที่ 8. สรุปโครงการและจัดทำรายงาน กระบวนการทำงานพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในแต่ละพื้นที่ย่อย และเครื่องมือที่เลือกใช้ในแต่ละขั้น กระบวนการในภาพรวมของทั้งสองพื้นที่แบ่งการดำเนินการเป็น 3 เฟส ได้แก่ เฟส 1 : การสำรวจและเก็บข้อมูล เฟส 2 : การสร้างแนวคิดงานออกแบบ เฟส 3 : การนำแนวคิดไปทดสอบและปฏิบัติจริง ซึ่งทั้งสามเฟสนี้เป็นกระบวนการที่ทำซ้ำไปซ้ำมา เฟส 1: การสำรวจและเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1 การทำความเข้าใจปัญหา เครื่องมือและเทคนิคที่นำมาใช้ : - การทบทวนนิยาม (Reframing) เป็นการกำหนดขอบเขตสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในกลุ่มทำงานที่เกี่ยวข้อง - ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder Map) เป็นการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ - ระบุระบบต่างๆ (System Map) ระบุระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น การสัญจร, การเดินทาง, การเข้าใช้งาน 1.2 การเก็บข้อมูลเชิงลึก เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การลงรายละเอียดสิ่งที่ได้สังเกตมา (Observation Capture) บันทึกถ่ายภาพ และเขียนความรู้สึก - การสัมภาษณ์ (Interview Guide) สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่ - ทบทวนทำความเข้าใจปัญหา (Refine Your Approach) เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่ได้ทำไปแล้วถูกต้องหรือไม่ 1.3 การสังเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - สังเคราะห์ข้อมูล (P.O.I.N.T)เพื่อหาความเข้าใจเชิงลึก P Problems ปัญหาที่สังเกตพบ O Opportunities โอกาสในการแก้ปัญหา I Insights ความเข้าใจเชิงลึกที่ได้รับ N Needs ความต้องการของผู้ใช้ T Themes แนวคิดที่เกิดขึ้น เฟส 2: การสร้างแนวคิดงานออกแบบ ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1 การค้นหาแนวคิด เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การตั้งคำถามสู่โอกาส (What If) ) เพื่อมองหาโอกาสในแนวทางออกแบบ - การระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อเปิดรับไอเดียอย่างเปิดกว้าง - การจัดระเบียบข้อมูล (Genre Mapping) จำแนกรายละเอียดข้อมูลเพื่อช่วยให้เชื่อมต่อความต้องการของผู้ใช้ - การแบ่งปันเรื่องราว (Storytelling) การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกับพื้นที่ได้เล่าเรื่องราวหรือแนวคิดการใช้พื้นที่ 2.2 การร่วมกันสร้างสรรค์     เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert Panel) รับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ - การสุมหัวออกแบบ (Design Jams) การร่วมแบ่งปันไอเดียในการออกแบบกับนักออกแบบ 2.3 สรุปแนวคิดหลัก     เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - มองรายละเอียดการปฏิสัมพันธ์ (Zoom Out - Concepts) - มองรายละเอียดแต่ละสถานการณ์ (Zoom In - Scenarios) - มองรายละเอียดการปฏิสัมพันธ์ (Zoom Right In - Interactions) เฟส 3: การนำแนวคิดไปทดสอบและปฏิบัติจริง     เครื่องมือและเทคนิคนำมาใช้ : - การทำตัวแบบทดลอง (Mock Up) - การทำแบบจำลองภาพสามมิติ (3D Modeling) - การรับฟังความคิดเห็น (Feedback) - การทำให้เป็นเกมส์ (Gamification) 3. ผลที่ได้รับจากการใช้แต่ละเครื่องมือ ความเหมาะสมของเครื่องมือ อุปสรรคของการใช้เครื่องมือ และแนวทางการแก้ปัญหา - ผลที่ได้รับจากการใช้เครื่องมือ เครื่องมือช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจที่มาที่ไปของงานออกแบบ สามารถหาข้อสรุปงานออกแบบที่สามารถสร้างประโยชน์ได้เป็นรูปธรรม สร้างพื้นที่สุขภาวะที่มีความสนุก - ความเหมาะสมกับเครื่องมือ มีความเหมาะสม - อุปสรรคของการใช้เครื่องมือ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงาน - แนวทางการแก้ปัญหา การรวบรวมข้อมูลจากหลายภาคส่วนนำมาวิเคราะห์อาจทำให้มีการตกหล่นหรือมีทิศทางต่างออกไปเมื่อเกิดเป็นประเด็นปัญหา การพูดคุยแลกเปลี่ยน รับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้คนในพื้นที่โดยตรงเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพดี ที่มาของแนวคิดในแต่ละพื้นที่ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน ส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต แนวคิดหลักของพื้นที่คือ “พื้นที่สุขภาวะสร้างความเชื่อที่ดี” มาจากกระบวนการทำงานในการสำรวจและเก็บข้อมูล และ การสร้างแนวคิดงานออกแบบ ที่ทำให้ค้นพบว่า ผู้คนในพื้นที่ขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของพื้นที่ เครื่องมือในกระบวนการทำงานช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจ จุดเด่น จุดด้อย ของพื้นที่โครงการ นำมาสู่การพัฒนาแบบที่เหมาะสม ส่วนพื้นที่เขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แนวคิดในการออกแบบพื้นที่คือ “การสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน (Zero-Waste and Sustainable)” เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรองรับการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (AWC) ตามแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 และยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เครื่องมือในกระบวนการทำงานถูกนำมาใช้เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ในการออกแบบและแนวทางใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่สุขภาวะให้กับพื้นที่ ผลที่ได้รับ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน และวัตถุประสงค์โครงการ ส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เกิดเป็นงานออกแบบพื้นที่สุขภาวะที่นอกจากจะช่วยเพิ่มกิจกรรมทางกายแล้วยังเป็นการสร้างความเชื่อที่ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น บุคลากรในพื้นที่เล็งเห็นถึงการใช้ศิลปะและการออกแบบสร้างกิจกรรมในรูปแบบใหม่ๆ ส่วนพื้นที่เขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีการปรับเปลี่ยนผังโครงการให้เกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เครื่องมือช่วยให้เกิดการพูดคุยอยู่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เป็นการบรรเทาข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งในขั้นตอนการออกแบบ ช่วยให้โครงการดำเนินการอย่างราบรื่น Key factor ของการทำแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญของการทำแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ 1.คน > ทีมงานประจำโครงการที่ช่วยในการประสานงาน ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2.การผสมผสานแนวคิด > ผสานแนวคิดที่หลากหลาย เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันทำให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างสร้างสรรค์ 3.การรับฟังความคิดเห็น > เปิดเผยแนวคิดการออกแบบและรับฟังข้อคิดเห็น นำมาปรับปรุงเพื่อให้งานออกแบบดียิ่งขึ้น 4.การทำให้ง่าย > ออกแบบการใช้งานที่ง่าย สะดวกสบายต่อผู้ใช้ รวมถึงการซ่อมบำรุงดูแลรักษาในระยะยาว 5.การตอบสนองความต้องการที่แท้จริง > มองหาความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่และส่งเสริมจุดเด่นของพื้นที่ 6.ความยืดหยุ่น > เปิดพื้นที่ปรับเปลี่ยนแบบตามสถานการณ์เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุด@30 ส.ค. 66 14:55
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมจัดทำร่างแผน PA ภูเก็ต และดูตัวชี้วัดประเมิน HIA PA/ zoom4 : ได้ร่างแผน PA ภูเก็ต ได้กรอบการประเมิิน HIA PA ภูเก็ต@29 ส.ค. 66 09:46
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมเตรียมข้อมูลสัมภาษณ์ถอดบทเรียน PA ภูเก็ต/zoom4 : เตรียมประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เรื่องเครื่องมือและเทคนิค (Tool and technique) ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 1 ความเป็นมาของการเลือกพื้นที่ 5 แห่งสำหรับการพัฒนาเป็นพื้นที่สุขภาวะโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบฯ 2 กระบวนการทำงานพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในแต่ละพื้นที่ย่อย และเครื่องมือที่เลือกใช้ในแต่ละขั้น 3 ผลที่ได้รับจากการใช้แต่ละเครื่องมือ ความเหมาะสมของเครื่องมือ อุปสรรคของการใช้เครื่องมือ และแนวทาง การแก้ปัญหา 4 ที่มาของแนวคิดในแต่ละพื้นที่ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน 5 ผลที่ได้รับ และความสอดคล้องจากผลที่ได้จากเครื่องมือในกระบวนการทำงาน และวัตถุประสงค์โครงการ 6 Key factor ของการทำแต่ละพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ@25 ส.ค. 66 17:09
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมเตรียมซักซ้อมความเข้าใจแบบสอบถามกิจกรรมทางกายกับทีมเก็บข้อมูล : ทีมเก็บแบบสอบถามมีความเข้าใจแบบสอบถามกิจกรรมทางกายและวางแผนการลงพื้นที่ต่อไป@25 ส.ค. 66 14:27
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมวางแผนการเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกายหลังการดำเนินโครงการ : กำหนดกลุ่มตัวอย่างและจำนวนการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1 ม.อ.ภูเก็ต เทศบาลเมืองกระทู้ กระทู้ ภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง 270 ชุด นักท่องเที่ยว 60 ชุด 2 เขาหลัก เทศบาลตำบลคึกคัก ตะกั่วป่า พังงา กลุ่มตัวอย่าง 200 ชุด นักท่องเที่ยว 60 ชุด 3 ย่านเมืองเก่า เทศบาลนครภูเก็ต เมือง ภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง 270 ชุด นักท่องเที่ยว 60 ชุด 4 สะพานหิน เทศบาลนครภูเก็ต เมือง ภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง 270 ชุด นักท่องเที่ยว 60 ชุด 5 ป่าตอง เทศบาลเมืองป่าตอง กระทู้ ภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง 270 ชุด นักท่องเที่ยว 60 ชุด@24 ส.ค. 66 09:06
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ PA ภูเก็ต : ข้อมูลสถานการณ์ PA รอบหลังโครงการ ความก้าวหน้าโครงการ PA ในชุมชน 2.1 นครภูเก็ต : กีฬาวู๊ดบอล 2.2 กะทู้ : กลองยาวผู้สูงอายุ 2.3 ป่าตอง : PA ในโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก 2.4 อื่นๆ ย่านเมืองเก่า ความก้าวหน้าการปรับสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรม 3.1 พื้นที่ ม.อ.ภูเก็ต 3.1.1 เส้นทางเดินวิ่ง/เสาสุขภาพ/ป้ายกระโดดแปะ 3.1.2 ลานเด็กเล่น 3.1.3 แผนผังพื้นที่ PA 3.2 ความก้าวหน้าพื้นที่เขาหลัก พังงา วางแผนการจัดประชุมเดือนสิงหาคม/กันยายน 4.1 วันที่ 13 กันยายน 2566 ทำแผน PA อำเภอและจังหวัด 4.2 สนส.ม.อ.ลงพื้นที่ถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ 3 โครงการ และติดตามความก้าวหน้าด้านสถาปัตกรรม มอ.ภูเก็ต / ย่านเมืองเก่า / ป่าตอง / เขาหลัก พังงา วางแผนค่าใช้จ่ายงบประมาณโครงการ@22 ส.ค. 66 16:48
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมเปิดตัวโครงการเพื่อสุขภาพแบบครบวงจรฯ : เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะผู้บริหารฯ ร่วมงานเปิดตัวโครงการเพื่อสุขภาพแบบครบวงจรฯ ณ LA VITA SANA KHAOLAK  ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ตัวโครงการประกอบไปด้วยร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ลา วิต้า ซาน่าเวลเนส สวนสมุนไพรและพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ อาคารสมาธิและพื้นที่กิจกรรม ซึ่งล้อมรอบด้วยต้นไม้ และสมุนไพรนานาชนิด มีการจัดสรรพื้นที่ภายในสวนให้เป็นลานกิจกรรม เปิดให้นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนได้ใช้พื้นที่ในการออกกำลังกายและมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปสุขภาพของชุมชน และหน่วยงานภายนอก มีอัฒจรรย์หญ้าขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบบึงน้ำ ให้ทุกคนได้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ ตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ติตดามรายละเอียดข้อมูลได้ที่ : ข่าวประชาสัมพันธ์เปิดตัวโครงการเพื่อสุขภาพแบบครบวงจร LA VITA SANA KHAOLAK รับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ https://www.77kaoded.com/news/anothai-ngandee/2467187?fbclid=IwAR2uPpp9yuw5G2ARL6XPKaBT4E9dQsEmb0cPK2vBahtJvRTjxvREyrT3lSU@22 ส.ค. 66 15:56
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    นโยบายสาธารณะและพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย “ACTIVE PEOPLE ACTIVE ENVIRONMENT” ในงานสร้างสุขภาคใต้ : ดำเนินการระดมสมองเพื่อระบุแนวทาง / กิจกรรม และผู้รับผิดชอบในแต่ละมติตามแผนกิจกรรมทางกาย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2567-2569) (ความคิดกลุ่ม) Active society มีมติ 2 ข้อ คือ 1.การรับรู้กิจกรรมทางกาย 2.การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งใน 2 มตินี้มีการดำเนินการไปแล้ว ซึ่งมีการรับรู้ในส่วนของตัวบุคคลและองค์กร แต่อาจจะยังไม่เต็มที่เท่าที่ควร ส่วนในด้านของการสื่อสาร ซึ่งต้องมีการขยับขับเคลื่อนต่อไป ในส่วนของหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบ ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน ควรมีนโยบายหรือหลักสูตรในระดับสถานศึกษา ในเรื่องกิจกรรมทางกาย รวมไปถึง อปท. อบต. อบจ. เทศบาล ควรมีนโยบายและการรณรงค์ แบบแผน 3 ปี สนส. สปสช. มีงบประมาณทั้งในเรื่องของส่วนกลาง กองทุนสุขภาพ ควรเข้ามาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รพ.สต. ก็ควรมีระบบของฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับทุกหน่วยงาน การยกระดับของปีที่ 2-3 ให้เป็นในเรื่องของการติดตามการยกระดับ และการทำอย่างต่อเนื่องและรวมไปถึงการถอดบทเรียนระหว่างทางด้วย และประเด็นของการสื่อสาร องค์กรสื่อในมติสมัชชาสุขภาพ พูดถึงประเด็นกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกฯ ซึ่งควรมีองค์กรที่เกี่ยวข้องมากกว่านั้น และควรสร้างกิจกรรมทางกาย ให้เป็นกระแสสร้างความต่อเนื่อง โดยอาจจะสร้างจาก influencer ผู้ที่มีอิทธิพลต่อความคิด อิทธิพลบนสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นไอเดียในการรณรงค์ในเรื่องกิจกรรมทางกาย เพื่อการสร้างสื่อและขยับการสร้างกระแส ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและยังคงกระแสไว้ได้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ Active environment   มีการดำเนินการไปแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ซึ่งในสิ่งที่ควรทำต่อ คือ ในเรื่องของพื้นที่ในการอกกำลังกาย สวนสาธารณะ สวนสาธารณะประโยชน์ทั่วไป ที่เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้และสร้างกิจกรรมทางกายได้ แต่ยังขาดระบบรักษาความปลอดภัย เช่น ไฟฟ้า แสงสว่าง และเครื่อง AED ในสถานที่ทำกิจกรรมทางกาย ซึ่งเป็นประเด็นแรกๆ ที่ควรทำและดำเนินการ มีการดำเนินการไปแล้วในปีที่1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมี อปท. ตำรวจ และสาธารณสุข และในส่วนเรื่องของสัญลักษณ์ของ environment ยังมีสัญลักษณ์ที่ไม่ชัดเจน จำเป็นจะต้องมีสัญลักษณ์แบ่งให้ชัดเจน เช่น สัญลักษณ์แบ่งเลนการขี่จักรยาน /วิ่งช้า/วิ่งเร็ว พื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ไม่เอื้อให้ทุกกลุ่มวัยในการทำกิจกรรมทางกาย ซึ่งควรจะต้องเป็นพื้นที่สามารถทำกิจกรรมทางกายได้ทุกกลุ่มวัย และสามารถทำกิจกรรมครอบครัวได้ จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบพื้นที่นั้นๆ ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกายได้ทุกกลุ่มวัย และในส่วนพื้นที่ที่มีบริเวณจำกัด อาจจะใช้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และทำกิจกรรมทางกายได้ อาจจะมีการออกแบบให้เหมาะสมในกลุ่มวัยต่างๆ การสร้างพื้นที่ทำกิจกรรมทางกายเหล่านี้ ควรคำนึงถึงสาธารณูปโภค ที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย เช่น ห้องน้ำ โทรศัพท์ และควรมีการจัดผังเมืองที่ระบุถึงพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกายได้ ด้านข้อกฎหมาย ในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ในบางพื้นที่ยังติดขัดในข้อกฎหมายในการใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งจริงๆ แล้ว ในพื้นที่สาธารณะ สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายในโรงเรียน อาจมีการจัดการพื้นที่ให้สามารถมีพื้นที่ ในการทำกิจกรรมทางกายได้ มีการจัดบริเวณสัดส่วนที่สามารถออกกำลังกายได้ ซึ่งจะต้องเสริมสร้างความคิดว่าการออกกำลังกายมีความสำคัญและควรทำอย่างต่อเนื่อง ข้อบังคับ การใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ในทุกๆองค์กรจำเป็นต้องมีระบบ ระเบียบ วิธีการ เพื่อมีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อใช้พื้นที่ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกายร่วมกันได้ ควรมีการกระจายพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกาย อาจจะมีการสร้างพื้นที่เล็กๆ เช่น โรงเรียน อบต. ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ว่างเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะในการทำกิจกรรมทางกาย        ทำให้เกิดความกระจายมากยิ่งขึ้น และครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ควรมีการสร้างพื้นที่ให้มีความหลากหลายในการออกกำลังกาย เช่น แบ่งโซนประเภทการออกกำลังกาย Active People     กิจกรรมที่เคยดำเนินไปแล้ว คือ การรณรงค์ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ จากกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดความรับรู้ เข้าใจ และตระหนัก การมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น สนับสนุนทำให้มีความรู้ เข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรม และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม และมองรวมไปถึงเรื่องประชาสัมพันธ์ กระบวนการการจัดทำโครงการ ในปีที่1 มีกิจกรรม เช่น งานวิ่ง ปั่นจักรยาน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบควรเป็นท้องถิ่น หรือโรงเรียน เพราะเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากที่สุด ในปีที่2 มองถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้มีลานกิจกรรมมากขึ้น จะได้มีกิจกรรมทางกายมากขึ้น หน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลควรเป็นในส่วนท้องถิ่น และความมีการสร้างความตระหนักในการจัดการความรู้ ควรมีต้นแบบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือจัดทำโครงการ ซึ่งผู้รับผิดชอบอาจจะเป็นภายในชุมชน หรือโรงเรียน โดยมีการเขียนโครงการเพื่อขอบประมาณต่างๆในการจัดทำโครงการ ส่วนกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ควรมีการจัดทำหลักสูตร ในปีที่2 โดยเน้นการเรียนรู้ที่ชุมชนเป็นฐาน หน่วยงานที่รับผิดชอบคือชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียน และสถานประกอบการ ในปีที่3 มองถึงหลักสูตรในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ควรจัดทำเป็นสื่อท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบควรเป็นภาคเอกชน และในปีที่2 จะมองถึงการมีฐานข้อมูลกิจกรรมทางกาย ผู้รับผิดชอบโครงการ จะเป็นมหาวิทยาลัย ชุมชน หรือรวมถึงท้องถิ่น ในวิจัยจะขยับในปีที่3 โดยจะมีสถานศึกษา และมหาวิทยาลัยเข้ามาดูแล Active system   มีการสร้างนโยบาย การส่งต่อนโยบาย และการทำข้อมูลสถานการณ์ ซึ่งมีการส่งต่อให้กับภาคีเครือข่าย โดยมีกระทรวงการกีฬาและการท่องเที่ยว ให้มีการจัดอบรมอาสาสมัครส่งเสริมกีฬาและการออกกำลังกาย จะทำให้กลไกเหล่านี้มีบทบาทในการทำกิจกรรมทางกายในพื้นที่  ด้านการวางแผนดำเนินการต่อในปีที่1-3 ในปีที่ 1 ดำเนินการโดยกองทุนมีการจัดประชาคม ส่วนในปีที่2 มีการยกระดับแผนกองทุนให้เป็นแผนของอำเภอ เป็นบทบาทของ พชอ. และการบูรณาการแผนรวมกันในระดับจังหวัดซึ่งตอนนี้มีจังหวัดพัทลุง ปัตตานี สตูล นำร่อง โดยนำเรื่องกิจกรรมทางกายเป็นอีกหนึ่งแผนงาน ถ้าหากทุกจังหวัดมีการทำแผนรวมทุนจัดทำกิจกรรมทางกาย สร้างนโยบายจะทำให้การขับเคลื่อนแผนงานกิจกรรมทางกายได้มากขึ้น   การส่งเสริม การสนับสนุน การให้ปฏิบัติในพื้นที่ ในปีที่1 จะมีผู้รับผิดชอบ สช. พชอ. พชต. ปีที่2 การส่งเสริม การสนับสนุน การให้ปฏิบัติในพื้นที่ จะมี พชอ. ในการขับเคลื่อน ส่วนในปีที่ 3 การส่งเสริม การสนับสนุน การให้ปฏิบัติในพื้นที่ สช. จังหวัด ขับเคลื่อนงานทั้งหมด และมีการพัฒนาข้อมูล และการจัดการข้อมูล ปีที่1 จะมีการจัดทำแผนและฐานข้อมูลในกิจกรรมทางกายในระบบ และในเว็บกองทุนตำบล เป็นบทบาทของกองทุนตำบล ปีที่2 แผนในระดับอำเภอบทบาทของ พชอ. ปีที่3 คาดว่ามีฐานข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น จะเป็นบทบาทของ พชอ. และกองทุนตำบล และมีการขอความร่วมมือ กับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว รวมด้วยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีแผนงานและนโยบาย โครงการ ในการส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ในปีที่1 จะมีการผลักดันให้มีแผนกิจกรรมทางกาย ระดับครอบครัวและภาคีเครือข่าย โดยการส่งเสริมจาด พมจ. และเครือข่ายครอบครัวเข้มแข็ง ในส่วนปีที่2 มีการผลักดันให้เกิดโครงการสู่การปฏิบัติภายในระดับพื้นที่ จะเป็นในส่วนของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ปีที่ 3 คือการสร้างเครือข่าย Network ในระดับตำบล ระดับอำเภอ เป็นเครือข่ายศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน กลไกความร่วมมือ ในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ ให้มีแผนงานเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย และสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายแผนเดียวของกระทรวงมหาดไทย และคิดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. อบจ. ต้องมีการยกระดับแผนงานในระดับเทศบัญญัติ ที่นำไปสู่แผนงานในปีที่ 2 และมีการประเมิน ติดตาม เพื่อยกระดับโดยมีท้องถิ่น เครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินและติดตามผล ในเรื่องของมาตรการภาษี เป็นบทบาทหลักของสถาบันวิจัยสาธารณสุข มีเรื่องกระบวนการจัดการเรียนรู้ การเผยแพร่  การประชาสัมพันธ์ ในเรื่องกิจกรรมทางกาย ให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี ในปีที่2 จะนำผลงาน จากปีที่ 1 เข้าแผนทำนโยบาย ส่วนปีที่ 3 จะเป็นการปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างสถาบันวิจัยสาธารณสุข เพื่อส่งเรื่องนโยบายไปสู่กระทรวงการคลัง@21 ส.ค. 66 10:02
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมออกแบบพื้นที่ ม.อ.ภูเก็ตกับสถาปนิกและผู้บริหาร : ทาง ม.อ.ภูเก็ต ตั้งเป้าหมายให้บุคลากร นักศึกษาและชุมชน ได้มีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายในพื้นที่ของ ม.อ.ภูเก็ต มีโมเดล 2 แบบ คือ 1) การออกแบบพื้นที่จูงใจให้คนมี PA 2) การจัดกิจกรรมสอดรับกับการออกแบบ ที่ผ่านมาทางสถาปนิกได้รับโจทย์ไปออกแบบโดยผ่านกระบวนมีส่วนร่วมของบุคลากร นักศึกษา และชุมชน และได้สำรวจสถานการณ์ PA ก่อนเริ่มโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว สิ่งที่ดำเนินการต่อ ได้แก่ ป่ายบอร์ดพื้นที่ PA เสาสุขภาพตามเส้นทางเดินวิ่งใน ม.อ. พื้นที่เล่น ติดกับตลาดบ่านซ้าน ม.อ. พื้นที่กีฬา extreme@17 ก.ค. 66 17:05
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมอัปเดตงานกับทีม PA ภูเก็ต : ข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ใน ม.อ.จากชุมชน 1. กลุ่มไลน์แดนซ์ 2. การเดินวิ่งในเส้นทางรอบ ม.อ. 3. ตลาดบ่านซ้าน การเก็บข้อมูล PA หลังกิจกรรมโครงการ 1. สำรวจจากแบบสอบถาม 2. กระบวนการกลุ่มเชิงคุณภาพ โครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ 1. โครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกระทู้ / ผู้ดำเนินการ: กระทู้ 2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกีฬาวู้ดบอลสำหรับเยาวชน / ผู้ดำเนินการ: เทศบาลนครภูเก็ต 3. โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ /ผู้ดำเนินการ: ป่าตอง 4. พื้นที่จุ่ยตุ๋ย เตรียมงาน 9-10 ส.ค.66 เป้าหมาย : ได้ roadmap 3 ปี ที่จะทำต่อในอนาคต ทำในระดับพื้นที่ภาคใต้แล้วดูว่าจะหยิบประเด็นอะไรไปทำต่อ กระบวนการ: - นำเสนอความก้าวหน้ามติ PA - แลกเปลี่ยนพื้นที่รูปธรรม ได้แก่ 1. การยกระดับกองทุนสุขภาพสู่ พชอ. 2. การส่งเสริม PA ในกองทุนสุขภาพตำบลนาท่อม จ.พัทลุง 3. บทเรียนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 4. บทเรียนการจัดงานวิ่งท่าข้ามเทรล 5. นวัตกรรมการส่งเสริม PA ในโรงเรียน 6. มุมมองสื่อจากประสบการณ์ PA ในชุมชน - แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิด ผู้เข้าร่วมจากจังหวัดภูเก็ต : ทีม ม.อ.ภูเก็ต/ สภาเด็กและเยาวชน / อปท.ในพื้นที่กระทู้ ป่าตอง นครภูเก็ต (ประมาณ 2-3 ท่าน) - โครงการ PA ภูเก็ต จะนำเสนอ 1. โมเดลPAในสถานศึกษา ม.อ.ภูเก็ต : เตรียม PPT นำเสนอ 2. โมเดลสวนสมุนไพร จ.พังงา สรุปประเด็นที่ดำเนินการต่อ 1. จัดทำรายงาน 2. การดำเนินโครงการ 4 โครงการ 3. การออกแบบพื้นที่จะดำเนินการต่อใน ม.อ. 4. เวทีสร้างสุข PA@17 ก.ค. 66 16:26
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    จ้างการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง งวดที่ 1 : จ้างการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง งวดที่ 1@11 ก.ค. 66 11:13
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 4 : ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 4@11 ก.ค. 66 10:49
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 3 : ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 3@11 ก.ค. 66 10:48
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าตรวจสอบเอกสารการเงินและรับรองบัญชี งวดที่ 3 : ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 3@11 ก.ค. 66 10:46
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าตรวจสอบเอกสารการเงินและรับรองบัญชี งวดที่ 2 : ค่าตรวจสอบเอกสารการเงินและรับรองบัญชี งวดที่ 2@11 ก.ค. 66 10:45
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าวัสดุสิ้นเปลืองและอุปกรณ์สำนักงาน : ค่าวัสดุสิ้นเปลืองและอุปกรณ์สำนักงาน@11 ก.ค. 66 10:43
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ค่าบริหารจัดการเดือนมกราคม-กรกฏาคม 256ุ6 : ค่าบริหารจัดการเดือนมกราคม-กรกฏาคม 256ุ6@11 ก.ค. 66 10:42
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    (PSU งวด 3)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 3 : (PSU งวด 3)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 3@11 ก.ค. 66 10:38
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    (PSU งวด 2)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 2 : (PSU งวด 2)การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และในพื้นที่โรงแรม ทั้งบริเวณในและนอกอาคารโรงแรม งวดที่ 2@11 ก.ค. 66 10:37
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    (HSF งวด 3) การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า และพื้นที่สวนสาธารณะ (สะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) งวดที่ 3 : (HSF งวด 3) การสนับสนุนปฏิบัติงานวิชาการ กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และการสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่บริเวณชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า และพื้นที่สวนสาธารณะ (สะพานหิน เขารัง และสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) งวดที่ 3@11 ก.ค. 66 10:36
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    กิจกรรม “Finding Pattern in Phuket Old Town ตระเวนส่องมองเมืองเก่า” ในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2566 ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต : วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 คณะทำงานโครงการฯ ลงพื้นที่ ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อเตรียมจัดกิจกรรม “Finding Pattern in Phuket Old Town ตระเวนส่อง มองเมืองเก่า” โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และคณะ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เรียนรู้สถาปัตยกรรมเมืองเก่า ผ่านอาคาร บ้านหม่อเส้ง     โดย คุณเผด็จ วุฒิชาญ ผู้อนุรักษ์และจัดตั้ง "หม่อเส้งมิวเซียม" เริ่มกิจกรรมเดิน “Finding Pattern in Phuket Old Town ตระเวนส่อง มองเมืองเก่า” โดยมีทั้งหมด 3 เส้นทางคือ ตระเวนส่องตึกเก่า เล่าเรื่องพิพิธภัณฑ์ ตระเวนส่องแลนด์มาร์ค ภาพจำเมือง Instagramable ตระเวนส่องวิถีตลาด วัตถุดิบเมืองเก่า” โดยในแต่ละเส้นทางจะมีการทำกิจกรรม Mini Workshop ที่แตกต่างกัน คือ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว,บ้าน 92 และ Momentary cafe     โดย ทีมงาน Healthy Space Forum , ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน เทศบาลนครภูเก็ต และคนในชุมชน กิจกรรม นำเสนอ Pattern ที่ไปเจอมาจากเมืองเก่าในสายตาเด็กๆ ณ Momentary cafe โดย ทีมงาน Healthy Space Forum และ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ ปิดกิจกรรมและถ่ายรูปร่วมกัน ณ Momentary cafe@05 ก.ค. 66 15:17
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในพื้นที่บริเวณย่านเมืองเก่า : ได้แผนติดตามความก้าวหน้าโครงการ@05 ก.ค. 66 15:11
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมจัดการประชุมความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่มกิจกรรมทางกาย : ได้ข้อมูลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่มกิจกรรมทางกาย ได้ร่างแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย@05 ก.ค. 66 14:15
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับ คณะทำงานทีมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต : ได้แผนติดตามประเมินผลโครงการฯ@05 ก.ค. 66 13:58
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานพื้นที่เขาหลัก จ.พังงา : สวนสมุนไพรดำเนินการเสร็จสิ้น 70 เปอร์เซ็นและมีการเปิดตัววันที่ 12 สิงหาคม 2566@03 ก.ค. 66 17:06
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2 : ได้แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดภูเก็ต โดยแบ่งตามช่วงวัย ได้โครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 3 โครงการ ในท้องถิ่นกระทู้ ป่าตอง และนครภูเก็ต@03 ก.ค. 66 16:56
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ทีมงาน สนส.ม.อ.เตรียมการประชุม (งาน 28-29 มิ.ย.) : เตรียมสถานที่, คอนเฟริมผู้เข้าร่วมประชุม, เตรียมวิทยากร, username password เข้าระบบทำแผนและโครงการ , เอกสารการประชุม@29 มิ.ย. 66 07:30
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    อัปเดทงานพื้นที่สุขภาวะ ม.อ.ภูเก็ต : อัพเดทจากที่ได้ประชุมกับทางทีมสถาบันนโยบาย ม.อ.เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา เรื่องที่ 1 หาข้อสรุปในการทำชิ้นงานในพื้นที่มอ ภูเก็ต ได้ข้อสรุปว่าจะมีงานออกแบบที่จะทำการติดตั้งลงในพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้งหมด 4 ชิ้น ป้ายสถานที่และสอบถาม ป้ายกระโดดแตะตามทางเดิน 20 ป้าย สติ๊กเกอร์หุ้มเสาให้ข้อมูลสุขภาพ ยางล้อรถยนต์ปลูกสมุนไพร เรื่องที่ 2 พื้นที่เขาหลัก พังงา อัพเดทงานล่าสุดอยู่ในขั้นตอนก่อสร้างและการเขียนแบบเพื่อให้เปิดทันใช้งานวันที่ 12สิงหาคมนี้@29 มิ.ย. 66 07:26
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมอัปเดทงานกับทีมสถาปนิก pa ม.อ.ภูเก็ต / ZOOM ๔ : วางแผนการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ PA ใน ม.อ.ภูเก็ต เสาสุขภาพ ป้ายกระโดดแปะ สวนสมุนไพร ป้ายระดมความคิดเห็นต่อการออกแบบ เขียนรายงานผลภายในวันที่ 31 กรกฏาคม 2566@19 มิ.ย. 66 16:22
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมอัปเดทงานกับทีม pa ม.อ.ภูเก็ต / ZOOM ๔ : 1) ความก้าวหน้าพื้นที่สุขภาวะ ม.อ.ภูเก็ต - กิจกรรมดำเนินการที่ผ่านมา ได้แก่ 1) จัดเดินวิ่งสะสมแต้มใน ม.อ. 2) กิจกรรมบาสเกตบอลทำให้เกิดชมรมบาสใน ม.อ. 3) กิจกรรมเต้นแอโรบิค 4) กิจกรรมตลาดบ้านซ่าน ม.อ. 5) กิจกรรมอบรมด้านสุขภาพแพทย์แผนไทย - วางแผนงานด้านการปรับสภาพแวดล้อม เช่น สีอัฒจันทร์ พื้นที่เดินเท้าใน เสาสุขภาพ - วางแผนเรื่อง สวนสมุนไพร และลานเด็กเล่น - กิจกรรมสวนสมุนไพร ปลูกพืชสมุนไพรที่จะทำลูกประคบ แล้วจัดอบรมผู้สูงอายุทำลุกประคบ และส่งลุกประคบเข้าไปในโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย - กิจกรรมสวนแปลงผัก เนื่องด้วยมีแม่บ้านและคนงานได้ปลูกผักปลอดสารพิษขาย นำไปสู่การต่อยอดแนวคิดการทำแปลงผักปลอดสารพิษที่ใช้นวัตกรรมทางสิ่งแวดล้อมและสถาปัตย์ออกแบบพื้นที่แปลงสวนผัก ผักจากการปลุกสามารถจำหน่ายในตลาดบ่านซ้านใน ม.อ.ในอนาคตได้ 2) ความก้าวหน้าเขาหลัก - วางแผนการเชื่อมพื้นทีเส้นทางการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนในพื้นที่ - วางแผนการจัด workshop โปรแกรม Post covid  และวางแผนกิจกรรมส่งเสริม PA ที่เชื่อมโยงกับชุมชน - วันที่ 20-21 มิ.ย. 2566 และ วันที่ 24-26 มิ.ย.66 ทางทีมอาจารย์ฝน ลงพื้นที่โรงแรมจังหวัดพังงา@16 มิ.ย. 66 10:47
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    วางแผนการเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกาย : วางแผนเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในช่วยวัยเด็ก กับวัยผู้สูงอายุ เพิ่มเติม สุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการให้ครอบคลุม แนวทางการดำเนินงาน ลงพื้นที่ทำแบบสอบถามอีกครั้งด้วยชุดคำถามเดิม ในแบบสอบถามให้ระบุช่วงอายุไว้ด้วย เพิ่มสถานที่การสอบถามให้หลากหลาย@11 พ.ค. 66 10:42
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย : หารือแนวทางร่วมกัน ดังนี้ กิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อน PA "คน Active เมือง Active เพื่อการพัฒนาเมือง" การสำรวจสถานการณ์ PA เพียงพอในกลุ่ม เด็ก/วัยทำงาน/ผู้สูงอายุ ความต้องการในการเพิ่ม PA ของแต่ละกลุ่ม 1) การสัญจร เดิน/จักรยาน 2) การเรียน / การทำงาน 3) นัทนาการ/ออกกำลังกาย/กีฬา การทำแผนเพิ่ม PA ของกองทุนสุขภาพท้องถิ่น/งบประมาณของท้องถิ่น การพัฒนา/เขียนโครงการ เพื่อขอการสนับสนุนจากท้องถิ่น โดยเป็นโครงการของชุมชน/หน่วยงาน/ท้องถิ่น "สอดคล้องกับสถาปัตย์เมือง" 1) การสัญจร เดิน/จักรยาน 2) การเรียน / การทำงาน 3) นัทนาการ/ออกกำลังกาย/กีฬา การดำเนินงานตามโครงการ การสรุป/ประเมินผลสถานการณ์ PA ในชุมชน@21 เม.ย. 66 12:02
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมคณะทำงาน PA ภูเก็ต วางแผนการดำเนินงานในไตรมาส 3 : แผนการดำเนินงาน พื้นที่ ม.อ.ภูเก็ต 1. จัดกิจกรรมในเชิงรูปธรรมในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมอย่างง่าย เช่น การมีส่วนของนักศึกษา ชุมชน ร่วมกิจกรรมปรับสภาพแวดล้อมสีอัฒจันทร์ตามคณะ 2. เสาสุขภาพตามทางเดิน เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ตรงกับวันตลาดบ้านซ่าน 4. จัด Workshop เรื่องความรู้ความเข้าใจกิจกรรมทางกายและการดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย แผนการดำเนินของเขาหลัก 1. การประสานเชื่อมสวนสมุนไพรกับสวนสาธารณะของตำบล 2. การสร้างเยาวชนในชุมชนให้เป็นโค้ชเชิร์ฟบอร์ดทางบกและทะเล@21 เม.ย. 66 11:42
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมเตรียมเวทีหารือการทำแผนและโครงการ : ได้กำหนดการประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเก็ตโฮ่ ชั้น 5 อาคาร 7 (อาคารสำนักงานอธิการบดี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 2.2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย Mapping ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ อปท. ผู้นำชุมชนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม อสม. กลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัด ผลลัพธ์ที่ได้ ควรเป็นแนวทางการดำเนินงาน และแผนงานร่วมกันในการขับเคลื่อนเมืองสุขภาวะส่งเสริมกิขกรรมทางกายของประชาชนและนักท่องเที่ยว@21 เม.ย. 66 11:32
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมคณะทำงานเตรียมเวทีการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่ม PA กับ HSF / zoom4 : ได้แผนและกำหนดวันจัดประชุม 3 เวที ดังนี้ วันที่ 20 เม.ย.66 เวทีทำแผนและโครงการที่สำคัญ เพื่อส่งเสริม PA ในจังหวัดภูเก็ต ตัวชี้วัด ได้โครงการที่สำคัญ เป็นโครงการที่ตอบโจทย์และส่งเสริม PA ได้จริงในจังหวัดภูเก็ต โดยการมีส่วนของประชาชนและการสนับสนุนของผู้บริหารในพื้นที่ วันที่ 27-28 เม.ย.66 เวทีลงรายละเอียดแผนและโครงการ ว่าใครควรทำอะไรเพื่อขับเคลื่อนแผน PA ในจังหวัด และโครงการมีวิธีการอย่างไร ใช้งบประมาณจากแหล่งทุนใดในการขับเคลื่อน /โดยภาพรวมควรขับเคลื่อนเรื่องกิจกรรมส่งเสริม PA ในพื้นที่โดยใช้งบจากกองทุนสุขภาพตำบล และการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ PA จากการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่สุขภาวะ วันที่ 24 พ.ค.66 เวที MOU แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับจังหวัดภูเก็ต เป็นเวทีผลักดันร่างแผน PA สุู่ผู้บริหารในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนแผน PA ในจังหวัด และส่งเสริมกิจกรรมทางกายใ้ห้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป และสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองต้นแบบส่งเสริม PA ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถัดไป@04 เม.ย. 66 14:37
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพี่มกิจกรรมทางกาย : วัตถุประสงค์ - เพื่อรับฟังความคิดเห็นผลการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ของพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายทั้ง 5 พื้นที่ (ชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า สวนสาธารณะสะพานหิน พื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และพื้นที่โรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพ) ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย - เพื่อประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย ผู้เข้าร่วมประชุม   คณะผู้เข้าร่วม จำนวน  60 คน ประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต มอบ ผอ.กองสาธารณสุข นายกเทศมนตรีตำบลคึกคัก นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง มอบผอ.กองช่าง และสถาปนิก นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ มอบรองนายก ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต นายกสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย และเลขา ชุมชนโดยรอบมอ ภูเก็ต 19 ชุมชน หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ประธานชุมชนชาร์ตเตอร์แบงค์ ประธานชุมชนบ่านซ้านจุ้ยตุ๋ย และคณะ ประธานชุมชนย่านเมืองเก่า ประธานชุมชนหาดป่าตอง รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต คณะแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทย คณะทำงาน สนส มอ. และ ทีม HSF กิจกรรมการประชุมความร่วมมือ ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองกะทู้และเทศบาลตำบลคึกคัก จังหวัดพังงา รวมทั้งเครือข่ายภาคธุรกิจ จากหอการค้าจังหวัดภูเก็ต สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย และภาคประชาสังคมพื้นที่ย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต ภาคประชาสังคมพื้นที่เทศบาลเมืองกะทู้ และภาคประชาสังคมพื้นที่หาดป่าตอง ซึ่งการประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นผลการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ของพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายทั้ง 5 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชายหาดป่าตอง ย่านเมืองเก่า สวนสาธารณะสะพานหิน พื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และพื้นที่โรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพ ตำบลคึกคัก จังหวัดพังงา ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเพื่อเป็นการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย และได้หารือแนวทางการพัฒนาภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยตั้งผลลัพธ์ไว้ ดังนี้ 1. ประชาชนเข้ามาในพื้นที่เพื่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดโรคภัยไข้เจ็บจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในขณะที่อยู่ในเมืองภูเก็ต และสามารถสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชน 3. เกิดเครือข่ายและกลไกทางสังคมที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตอย่างต่อเนื่องให้เป็นเมืองที่มีการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยมีแผนการขับเคลื่อนในทุกภาคส่วน 4. สู่การเป็นเมืองต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในระดับนานาชาติต่อไป ข่าวประชาสัมพันธ์ - https://kathucity.go.th/public/list/data/detail/id/8250/menu/1559 - https://web.facebook.com/prpkcity1/posts/pfbid0zrwDAhi3fNMFopirsFgexGmcNkatiDoy4Zj3q3G4zBsyPnrmqVwU74hsamBhuW2vl@03 เม.ย. 66 10:46
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมอัปเดทงานกับทีม HSF : ทีม HSF จะจัด city lab ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า เป็นการเพิ่มกิจกรรมทางกายโดยการเดินท่องเที่ยว โดยจะส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวและชุมชนสามารถเดินชมตามจุดต่างๆ พื้นที่ที่ทางทีมออกแบบไว้ 4 แห่ง ได้แก่ 1) Pocket park ลานชาร์เตอร์ 2) Museum park พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว 3) Hidden park ตรอกตัวแจ้ 4) Market park ตลาดบ่านซ้าน กิจกรรมที่จะจัด city lab ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า คือ จะชวนเยาวชนในพื้นที่มาเรียนรู้พื้นที่ที่ออกแบบไว้ 4 แห่ง โดยเป็นมัคคุเทศก์น้อยนำนักท่องเที่ยวเดินเที่ยวในชุมชนย่านเมืองเก่า โดยส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดินเฉลี่ย 1 วันให้ได้ประมาณ 7,000 – 10,000 ก้าว และให้นักท่องเที่ยวและชุมชนได้ตระหนักต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดโรค NCDs ต่อไป@03 เม.ย. 66 10:31
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ครั้งที่ 1 : อ.พงค์เทพ แนะนำการทำแผน การทำแผน มี 4 คำ คือ 1. อยู่ไหน 2. จะไปไหน 3. ไปอย่างไร 4. ไปถึงแล้วยัง 1) อยู่ไหน : สถานการณ์ปัญหามีมากน้อยแค่ไหน  / คนภูเก็ต มีกิจกรรมทางกายกี่เปอร์เซ็นต์ รู้ปัญหาไม่พอ ต้องรู้ขนาดปัญหาด้วย มีคนออกกำลังกายกี่เปอร์เซ็นต์ ปัญหามีมากน้อยแค่ไหน 2) จะไปไหน: เป้าหมาย จะเพิ่มคนออกกำลังกายเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ วัตถุประสงค์โครงการจะทำอะไร /มีเป้าหมาย/ลดปัญหา/เพิ่มการพัฒนามากน้อยเพียงใด 3) ไปอย่างไร : วิธีการเป้าหมายที่จะไปถึงวิธีการ วิธีการจะต่างกัน การเต้นแอโรบิค 40 คน เพิ่มเป็น 400 คน การสร้างคนนำเต้น จะมีวิธีการกิจกรรมอะไรบ้าง/ใครต้องทำอะไร/ใช้เงินเท่าไหร่ 4) ไปถึงแล้วยัง : ร่วมประเมินผล ตัวชี้วัดความสำเร็จ/จะวัดอย่างไร จับหลักให้ได้ ทำไมทำเรื่องนี้ สาเหตุจากอะไร จะลดปัญหา Input 1) หลักการทำแผนและโครงการผ่านกองทุนสุขภาพตำบล 2) เครื่องมือระบบเว็บไซต์ทำแผนและเขียนโครงการ 3) แนวคิดเมืองสุขภาวะ/แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย process 1) แนวคิดเมืองสุขภาวะ/แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) ปฏิบัติการทำแผนและโครงการ - รู้สถานการณ์ PA - รู้เป้าหมาย - ออกแบบโครงการที่ควรดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา Output outcome 1) ได้แผนส่งเสริมกิจกรรม 4 กองทุน ได้แก่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลตำบลวิชิต เทศบาลเมืองป่าตอง เทศบาลตำบลฉลอง 2) ได้โครงการที่ควรทำดำเนินการทั้งหมด 33 โครงการ  (แสดงดังไฟลืแนบ)@31 มี.ค. 66 15:23
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    หารือการเชื่อมโยงข้อมูลกองทุนฯกับ active thai ม.เกษตรฯ : ได้แนวทางในการเชื่อมระบบเพื่อนำข้อมูล PA ไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการเพิ่มกิจกรรมทางกายในเชิงนโยบายและขับเคลื่อนในพื้นที่ต่อไป@31 มี.ค. 66 14:57
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมผลการออกแบบกับทีม HSF และเทศบาลนครภูเก็ต : ผลการออกแบบลานชาเตอร์ย่านเมืองเก่าจะเป็นแบบนำร่องในการไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต@31 มี.ค. 66 13:54
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    เตรียมเวทีทำแผนและโครงการ PA ม.อ.ภูเก็ต : ได้รายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้ร่างกำหนดการประชุมทำแผนและโครงการ ดังนี้ Number One ชั้น 1 อาคาร 5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต วัตถุประสงค์การประชุม 1 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ 2 เพื่อจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) 3 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของนักท่องเที่ยว 4เพื่อสนับสนุนให้เมืองภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่กระฉับกระเฉง (Active Environment) ร่างกำหนดการ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย... รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต ข้อมูลสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และความสำคัญของโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย...นายธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ รักษาการหัวหน้างานงานบริการวิชาการ วิจัย และประชาสัมพันธ์ แนวคิดการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ     รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระดมความคิดจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงาน โดย Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง - เทศบาลนครภูเก็ต, เทศบาลเมืองป่าตอง, เทศบาลเมืองกระทู้ - ภาคประชาสังคม ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต, พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, ชุมชนชาร์เตอร์เเบงค์, ชุมชนบ่านซ้านจุ้ยตุ่ย และชุมชนรอบ ม.อ.ภูเก็ต - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) - สาธารณสุข/รพสต. - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน - ชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย กีฬา ฯลฯ รับประทานอาหารกลางวัน ระดมความคิดจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรั้ง (NCDs) (ต่อ) แลกเปลี่ยนเรียนรู้/นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงาน โดย Stakeholders ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สรุปการประชุม โดย... ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ     รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์@31 มี.ค. 66 11:59
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    การประชุมประชาพิจารณ์ร่างแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573 (ฉบับปรับปรุง) : ปรับปรุงยุทธศาสตร์แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ยุทศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมกิจกรรมทางกายประชาชนทุกกลุ่มวัย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสังคมกระฉับกระเฉงและส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย  ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย@31 มี.ค. 66 11:30
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่น กีฬาของปรชาชน (Calories Credit Challenge: CCC) : นำแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge: CCC) ไปใช้กับกิจกรรมเดินวิ่งในโครงการต่อไป@30 มี.ค. 66 15:17
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    อัปเดตการออกแบบพื้นที่กับทีมPAภูเก็ต / zoom4 : การออกแบบพื้นที่มาจากความต้องการของชุมชนที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ใน ม.อ. ด้วยวิสัยทัศน์ของ ม.อ.ที่ให้ความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและร่วมกันพัฒนาชุมชนด้วยกัน ทางทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการความคิดเห็นต่อการสร้างพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมสุขภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้ประชาชนมีสุขภาพคุณภาพชีวิตที่ดี ผลจากการสำรวจทางคณะทำงานและสถาปัตย์โครงการนำมาออกแบบ มีองค์ประกอบงานออกแบบ ดังนี้ 1. ป้ายและองค์ประกอบพื้นที่ 2. เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางกาย ระดับปานกลาง 3. พื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็ก 4. พื้นที่สมุนไพรและให้ความรู้ 5. พื้นที่กิจกรรมตลาด รายละเอียด ดังนี้ 1. ป้ายและองค์ประกอบพื้นที่ ป้ำยแผนที่ แนะน ำกิจกรรม ประกาศความเชื่อมั่นในศักยภาพ พื้นที่มหาวิทยาลัยและช่วยให้ ผู้คนเข้าใจพื้นที่ 2. สีอัฒจันทร์ตำมสีคณะ เชื่อว่าสีสันจะช่วยให้เกิดความสนุก ในการใช้พื้นที่มากขึ้น 3. เส้นทำงเดิน – วิ่ง หลากหลายทางภาษา เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ และกา รได้เห็นภาษาตัวเอง ใ น ต่ า ง ถิ่น จ ะ ช่ ว ย ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม รู้ สึ ก ถึ ง ความเป็นเจ้าของต่างชาติ 2. เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางกาย ระดับปานกลางใช้ป้ายกระโดดแปะ เชื่อว่าถ้ามา มอ.แล้วกระโดด แตะป้ายครบ 30 ป้ายตามทางเดิน จะถูกหวย / สอบผ่าน / ได้แฟน เกิดการบอกต่อและดึงดูให้คนมาใช้พื้นที่ 3. พื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็ก ได้แก่ 1. Play Street fUniversity ทดลองปิดถนน ให้เด็กๆมาวาดชอล์คพบนพื้น สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กได้เล่น สร้างความเชื่อให้กับชุมชนถึง การเปิดกว้างในการการใช้พื้นที่ ของมหาวิทยาลัย สร้างความเชื่อในความชอบ ของเด็กๆแบะได้เรียนรู้อาชีพ 2. ลำนเด็กเล่น สร้างพื้นที่เล่นลงบนบริบทเดิม เป็นลักษณะ Pop-up ที่ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนเพื่อทดลองการใช้งาน เป็นงานโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน โดยมีวัสดุที่ใช้คือ ห่วงยางรถยนต์ และ ไม้ไผ่ 4. พื้นที่สมุนไพรและให้ความรู้ สร้างความเชื่อที่ถูกต้องในการใช้สมุนไพร สร้างความเชื่อที่ถูกต้องด้วยความรู้จากสสส. สร้างความเชื่อมั่นในร่างกายตนเอง 5. พื้นที่กิจกรรมตลาด อาจจะต้องคุยกันเพิ่มเติม เพื่อขอข้อมูล เช่น งบประมาณ จำนวนผู้ค้า การจัดการขยะ เป็นต้นเพื่อนำาไปสู่การออกแบบที่ตอบโจทย์ผู้จัด แลกเปลี่ยนและวางแผนการดำเนินงานขั้นถัดไป 1. กิจกรรมตลาดวางแผนไว้จะเปิดวันที่ 10 มีนาคม 2566 ทางอาจารย์ได้แนะนำให้ปรึกษากับทีมตลาดเกษตร ม.อ. 2. ให้ตระหนักถึงความยั่งยืนของโครงการ เช่น การทำตลาดสุขภาพให้วิเคราะห์ทำอย่างไรให้ยั่งยืน 3. จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของคน และการเข้าถึงพื้นที่ ม.อ. นำไปสู่การดำเนินกิจกรรมของโครงการ 4. กิจกรรมเต้นแอโรบิค ทำอย่างไรให้คนไม่มีกิจกรรมทางกาย หันมาออกกำลังกาย โดยบุคลากรใน ม.อ.ภูเก็ตมีจำนวน 300 คน สำรวจเบื้องต้นมี PA ที่เพียงพอ 20 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือคือ 80 เปอร์เซ็นต์ไม่มี PA คำถามที่จะก้าวไปต่อเพื่อหาแนวทางจัดการ คือ จะทำอย่างไรให้คน 80 เปอร์เซ็นต์มี PA ที่เพียงพอด้วย 5. การออกแบบทั้งหมดจะสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมได้ เช่น ประชาชนมาเที่ยวตลาดสุขภาพด้วย พาลูกหลานมาเล่นที่ลานเด็กเล่นด้วย รวมทั้งไปเล่นกีฬาที่ศูนย์กีฬา หรือมาเดินวิ่งเต้นแอโรบิคใน ม.อ. ซึ่งจะทำให้เห็นพื้นที่เกิดการ Active ชุมชน บุคลากร นักศึกษา เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพต่อไป 6. อาจชวนผลิตภัณฑ์จากโครงการ U2T เข้ามาร่วมในตลาดสุขภาพด้วย 7. ให้นำเสนอข้อมูลการออกแบบพื้นที่ทั้ง 5 พื้นที่ กับทางคณะกรรมการต่อไปในเดือนมีนาคม 2566 /ผ่านระบบออนไลน์@16 ก.พ. 66 11:33
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2565 : มีบทความเกี่ยวกับ PA จำนวน 36 เรื่อง แบ่งได้ดังนี้ 1) Active People จำนวน 11 เรื่อง มีประเด็น ได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กและเยาวชน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง 2) Active Environment จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ Whole-of-school programmers, Active urban design, Active travel/transport, Work places 3) Active Society จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ การรณรงค์ ชุดความรู้ ความเสมอภาค 4) Active System/Policy จำนวน 16 เรื่อง ได้แก่ Health Innovation/Application, Informatic System, Policy ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายได้ โดยเฉพาะประเด็น Active Environment@16 ก.พ. 66 10:39
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    ประชุมรายงานความก้าวหน้ากับทีม ม.อ. ภูเก็ต : ผลการประชุม 1. สรุปพื้นที่ป่าตอง 2. อัปเดตการออกแบบ 2 พื้นที่ ได้แก่ ย่านเมืองเก่าและสะพานหิน - พื้นที่น้ำท่วมน้ำลดได้ออกแบบให้รองรับกิจกรรม PA ได้ทุกสถานการณ์ - พื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน - พื้นที่ย่านอาหาร แหล่งพบปะผู้คน - พื้นที่เชื่อมวัฒนธรรมชุมชน 3. มีแนวทางการทดลองจัดกิจกรรม 3 ทางเลือก 3.1 เส้นทางเดินลัดเลาะรอบเมืองเก่า (Old town park journey) 3.2 วางป้ายเก็บแบบสอบถาม (Interactive panal) 3.3 วางสตรีทเฟอร์นิเจอร์และสังเกตการใช้งาน แนวทางขับเคลื่อนต่อ : เสนอผลการออกแบบกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อนำไปสุ่การดูแลและใช้ประโยชน์ในการเพิ่มกิจกรรมทางกาย 1. จัดประชุมนำเสนอผลการออกแบบพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมใน 5 พื้นที่ ได้แก่ คือ 1. ม.อ.ภูเก็ต 2. เขาหลักพังงา 3.ย่านเมืองเก่า 4. ป่าตอง 5. สะพานหิน 2. ทำแผน MOU การดูแลพื้นที่ต่อในอนาคต โดยเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกับพื้นที่ เข้ามาร่วมประชุม 3. นัดประชุมเพื่อคือนำเสนอผลการออกแบบในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566@13 ก.พ. 66 18:03
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    เปิดพื้นที่ทดลอง “แล เล่น รักษ์ เล” เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบ ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวันให้กับประชาชน : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และเทศบาลเมืองป่าตอง เปิดพื้นที่ทดลอง CityLab Patong “แล เล่น รักษ์ เล” ณ ลานโลมา หาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวคิด “CityLab” การทดลองปรับปรุงพื้นที่สาธารณะชั่วคราวในรูปแบบที่ทำง่าย รวดเร็ว และใช้ต้นทุนต่ำ พร้อมติดตามผลตอบรับจากผู้ใช้งาน และสรุปผลเป็นแนวทางการออกแบบพื้นที่ เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองในระยะยาว ในการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สุขภาวะใกล้บ้านที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ให้มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า “การพัฒนาพื้นที่ แล เล่น รักษ์ เล เป็นหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างสร้างสรรค์ผ่านพื้นที่เล่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัว” โดยมีการจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) พื้นที่ “แล” ในภาษาใต้ คือ การมองดู โดยในงานจะมีพื้นที่นิทรรศการจัดแสดงถ่ายทอดความรู้ด้านพื้นที่สาธารณะ กิจกรรมทางกาย และการมีส่วนร่วม        (2) พื้นที่ “เล่น” คือ การเชิญชวนให้มาร่วมกิจกรรมนันทนาการและขยับร่างกายผ่านเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเล่น รวมถึงในบริเวณพื้นที่นิทรรศการที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นสนามเด็กเล่นได้ในภายหลังจบงาน        (3) พื้นที่ “รักษ์ เล” คือ การออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยสอดแทรกไปกับกิจกรรมทางกาย การจัดการขยะ ประกอบกับภายในงานยังมีของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้อีกด้วย ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. พนิต ภู่จินดา ผู้อำนวยการศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง กล่าว่า “พื้นที่แล เล่น รักษ์ เล มีแนวคิดในการออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยเปิดกว้างให้ทุกคนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างอิสระ ซึ่งทำให้มีโอกาสในการพบเจอผู้คนใหม่ๆ เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในเมือง ตลอดจนการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และทำให้เมืองเกิดบรรยากาศที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการคำนึงถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็นับเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ผ่านการสร้างสรรค์อุปกรณ์ต่าง ๆ จากวัสดุเหลือใช้ การออกแบบพื้นที่ส่งเสริมการแยกขยะเพื่อรวบรวมขยะพลาสติกส่งต่อสู่กระบวนการ Upcycling เป็น Street Furniture ในพื้นที่ชายหาดป่าตองต่อไป” ขณะที่ นายเฉลิมศักดิ์ มณีศรี นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง กล่าวว่า “การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายระดับท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสังคมให้กับประชาชนทุกระดับ มีโอกาสเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัย สอดรับกับการพัฒนาให้ภูเก็ตเป็นเมืองสุขภาพดี ทั้งนี้เทศบาลเมืองป่าตอง จึงให้การสนับสนุนโครงการ CityLab Patong เพื่อร่วมส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สาธารณะซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายและการมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ CityLab Patong “แล เล่น รักษ์ เล” ได้เปิดพื้นที่กิจกรรมเชิงทดลองเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างสร้างสรรค์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2565 บริเวณลานโลมา หาดป่าตอง ที่ผ่านมา พร้อมกับเชิญชวนชาวป่าตองและนักท่องเที่ยวมาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและกิจกรรมที่ตอบโจทย์กับพื้นที่บริบทชายหาดป่าตองอย่างแท้จริง เพื่อมุ่งไปสู่การปรับเปลี่ยนพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ชุมชน ตลอดจนส่งเสริมการมีกิจกรรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวันของชาวป่าตองและผู้มาเยี่ยมเยียนต่อไป@13 ก.พ. 66 17:55
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    Workshop ในหัวข้อ ชวนชุมชนออกแบบพื้นที่สุขภาวะให้กับย่านเมืองเก่าภูเก็ต ร่วมกับ 3 ชุมชน : เมื่อวันที่ 11-13 พฤศจิกายน Healthy Space Forum ได้เดินทางไปภูเก็ต เพื่อจัดกิจกรรม Workshop ในหัวข้อ “ชวนชุมชนออกแบบพื้นที่สุขภาวะให้กับย่านเมืองเก่าภูเก็ต” ร่วมกับ 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ชุมชนชาร์เตอร์เเบงค์ เเละชุมชนบ่านซ้านจุ้ยตุ่ย โดยเเต่ละชุมชนจะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ในชุมชนของตัวเองด้วย ซึ่งทางโครงการได้เสนอเเนวทางการออกแบบให้กับ 4 พื้นที่ ได้เเก่ ลานสีเขียวบริเวณสี่เเยกชาร์เตอร์ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ตรอกตั่วเเจ้ เเละพื้นที่ตลาดบ่านซ้าน การ Workshop ครั้งนี้ทำให้ทีมได้ลงไปพูดคุย เเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนในชุมชน ทั้งในด้านกายภาพเเละรูปแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในย่าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสาธารณะ งานเทศกาลประจำปี รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะชวนทุกคนมาเรียนรู้ผ่านชุมชน ซึ่งหลังจากนี้ทางทีมจะเอาสิ่งที่ทุกคนแชร์ไอเดียกันมาพัฒนาแนวทางการออกแบบและรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้ภูเก็ตก้าวสู่การเป็น Healthy City สำหรับทุกคน@13 ก.พ. 66 17:53
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    ประชุมเพื่อนำเสนอรายละเอียดการออกแบบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : เมื่อวันที่ 13-16 กันยายนที่ผ่านมา ทางทีม Healthy Space Forum ได้ลงพื้นที่ภูเก็ต เพื่อนำเสนอเเนวคิดเเละรายละเอียดการออกแบบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้เเก่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เเละชุมชนในพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนารายละเอียดการออกแบบ เเละเเนวทางในการจัดกิจกรรมสาธารณะที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดสภาพเเวดล้อมกระฉับกระเฉงหรือเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในเมืองภูเก็ต ซึ่งหลังจากนี้ทางทีมจะดำเนินการจัดกระบวนการมีส่วน ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันออกแบบเเละหาคำตอบให้กับเเนวทางการพัฒนาเมืองภูเก็ตสู่การเป็น Healthy City@13 ก.พ. 66 17:52
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน)

    ลงพื้นที่สำรวจเเละเข้าสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่ : วันที่ 27 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2565 ทีม HSF ลงพื้นที่สำรวจเเละเข้าสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่ ได้เเก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง หอการค้าจังหวัดภูเก็ต สาธารณสุขจังหวัด เเละภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้จะนำไปสู่เเนวทางการออกแบบพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พร้อมทั้งการออกแบบรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับเเผนการพัฒนาเมือง เเละความต้องการของชาวภูเก็ต@13 ก.พ. 66 17:50
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    วางแผนเก็บข้อมูลสุขภาพ/ข้อมูลกิจกรรมทางกาย/การใช้พื้นที่สาธารณะ : สรุปประเด็นประชุม 10 ก.พ.66 การเก็บข้อมูล 1.ทางทีม ม.อ.ภูเก็ต จัดหาทีมเก็บข้อมูลภายในวันพุธ 15 ก.พ. 2. ทีม สนส.ม.อ.สรุปแบบสอบถามส่งภายในวันพุธ 15 ก.พ. 3. ค่าใช้จ่ายการเก็บข้อมูลและคีย์ข้อมูล 50 บาท/ชุด (สนส.30/ม.อ.ภูเก็ต20) 4. เก็บข้อมูลทั้งหมดเสร็จสิ้นวันที่ 28 ก.พ. ประชุม วันที่ 15 ก.พ.ประชุมอัปเดทงานการออกแบบพื้นที่ ม.อ.และการจัดตลาด บันซ้าน ม.อ./ผ่าน zoom วันที่ 9-10 มี.ค.ประชุมทำแผนและโครงการ PA ภูเก็ต/จัดในพื้นที่ วันที่ 22 หรือ 24 มี.ค. เวที MOU คืนข้อมูลการออกแบบพื้นที่ และวางแผน แนวทางจัดการต่อ/จัดในพื้นที่@13 ก.พ. 66 15:05
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    วางแผนงานขับเคลื่อนโครงการ : พื้นที่วิทยาเขตภูเก็ต ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ โจทย์เราต้องการให้พื้นที่เป็นพื้นที่ที่ทำให้คนมี PA เพียงพอ เพิ่มขึ้น เวลาเราจะวัดผล เราต้องวัดว่ากิจกรรมหรือ intervention ที่เราลงไป เขามี PA เพียงพอจริง ถ้าเราจะวัดผลแบบนี้ ต้องรู้ว่าก่อนเข้าร่วม หลังเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง สถาบันนโยบายสาธารณะ มีคน 10 คน มีคนที่มี PA เพียงพอ 2 คน เวลาทำกิจกรรมเต้นแอโรบิค คนเต้นก็คือคนที่มี PA อยู่แล้ว คือ 2 คน พอเราวัดเราก็บอกว่ากิจกรรมเรามีคนเข้าร่วม 2 คน และมี PA 2 คนที่เพียงพอ อันนี้ไม่ใช่โจทย์ แต่โจทย์คือ 8 คน ที่ไม่มี PA จะทำอย่างไรให้มี PA และมี PA ที่เพียงพอ เมื่อเราอยากรู้แบบนี้ ขั้นตอนแรก เราก็ต้องสำรวจดูว่า 10 คนนี้มี PA ระดับไหน ถ้าจะทำให้ 8 คน มี PA เพิ่มขึ้น และมี PA ที่เพียงพอจะทำอย่างไร จะเอาไปวิ่ง ไปว่ายน้ำ หรือไม่ แล้วถ้าเขาไม่อยากวิ่ง ไม่อยากว่ายน้ำ แต่อยากเข้าร่วมจะมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ แสดงว่าตอนที่เราไปถามคน เราต้องถามว่าถ้าเขาจะมี PA เพียงพอ เขาเหมาะกับ PA ลักษณะแบบไหน เพราะบางคนก็ไม่ได้ถนัดเต้นแอโรบิค ขั้นตอนที่สอง หลังจากที่เรารู้แล้วว่าใครมี PA มากน้อยแค่ไหน ใคร PA ไม่เพียงพอ ไม่มี PA เลย เราก็ต้องถามเขาว่าอยากมี PA อะไร อย่างไรบ้าง เราถึงจะมา design ว่า วิทยาเขตภูเก็ตจะออกแบบให้ตรงกับกลุ่มเหล่านี้ได้อย่างไร เวลาเรา design เราก็อาจดูว่าคนในชุมชนมีประเภทกลุ่มคนอย่างไรบ้าง วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ คนทำงานออฟฟิศ คนทำงานค้าขายตามร้านอาหาร แสดงว่าเราต้องดูกลุ่มวัย กลุ่มอาชีพ เป็นอย่างไร อะไรที่เหมาะกับเขา ช่วงเวลาไหนที่เขาสามารถมาใช้พื้นที่ของวิทยาเขตภูเก็ตได้ ช่วงเช้า กลางวัน เย็น หรือค่ำ เราต้องกลับมาดูว่าที่วิทยาเขตภูเก็ตมีอะไรบ้าง เรามีศูนย์กีฬา สนามกีฬา ลู่วิ่ง ต่าง ๆ จะจัดวิทยาเขตเราให้สอดคล้องกับเขาได้อย่างไร เรามีหน้าที่แค่อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ ถ้าเขาจะมาใช้ อย่างกลุ่มผู้สูงอายุ เขาจะมาหรือไม่ สามารถบริหารจัดการเองได้หรือไม่ ถ้ากลุ่มเด็กเยาวชนจะมาเล่นกีฬาบาสเก็ตบอล เทนนิส ว่ายน้ำ ซึ่งเรามี facilities เหล่านี้อยู่ เขาจะจัดการได้หรือไม่ มีกลุ่ม/ชมรมของเขาที่จะเข้ามาใช้สถานที่ของเราหรือไม่ คนแก่เข้ามาเดินแล้วอยากตั้งวงกินน้ำชา เขาจะสามารถจัดการเองได้หรือไม่ เราต้องทำให้พื้นที่เราเอื้อต่อความต้องการของแต่ละกลุ่มเพื่อทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ แต่ตอนนี้กระบวนการ คือ วิทยาเขตภูเก็ตไปจัดให้เอง มีจัดกิจกรรมอะไรบ้าง ทำให้วิทยาเขตมีพื้นที่มี PA เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประโยชน์ที่แฝงอยู่ด้วย คือ วิทยาเขตกำลังจะทำศูนย์สุขภาพนานาชาติ Wellness Hub ขึ้นมา อนาคตจะมีโรงพยาบาล มีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย อยู่ที่นี่ ทำอย่างไรให้คนรู้จัก ม.อ. มาใช้พื้นที่ อย่าง Wellness Hub ถ้าจะมีศาสตร์ของแพทย์แผนไทยมาทำเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ จะเข้ามาได้อย่างไร ยกตัวอย่าง คณะพยาบาลของ ม.อ. วันเสาร์-อาทิตย์ เครือข่ายผู้สูงอายุจะเข้ามาใช้พื้นที่ของคณะพยาบาลทำกิจกรรมของเขา เป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมของเขา แล้วเขามาเอง หาเงินเอง คณะพยาบาลแค่เอื้อเฟื้อสถานที่ แต่สิ่งที่ได้ คือ เวลาคณะจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ เครือข่ายผู้สูงอายุที่เข้มแข็งมากจะมาช่วยคณะในการจัดการต่าง ๆ ตลอด ในอนาคตถ้ามหาวิทยาลัยจะเป็น Wellness Hub ต้องเอาชุมชนเข้ามา ไม่ใช่เราจัดบริการอย่างเดียว ตอนนี้วิทยาเขตภูเก็ตเรามีศักยภาพสถานที่ ศูนย์กีฬา เราลองดูว่าจะจัดการกับมันอย่างไร ขณะเดียวกัน ปี 2566 จะมีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยเกิดขึ้น ถ้าคนจะมาใช้บริการต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธา ถ้ามีเครือข่ายชุมชนเข้ามาเห็นอยู่แล้วก็จะดึงคนเข้ามา อนาคตจะมีโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง มันต้องมีกลุ่มเครือข่ายที่มาทำงานร่วมกันอีกเยอะ เช่น เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายผู้ป่วย สมมุติว่าเมื่อเครือข่ายเข้ามาแล้วเรามีกิจกรรมบางอย่างไปสนับสนุนเขา เช่น มี PA แล้วจะช่วยควบคุมอาการโรคเรื้อรังไม่ให้มีเพิ่มขึ้น หรืออาจจะหายได้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนดีขึ้น จึงบอกว่าต้องเน้นกระบวนการ แต่ตอนนี้เหมือนกับเอาสิ่งที่เราคิดไปยัดให้กับชุมชน เราไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้ว่าชุมชนต้องการอะไร และอนาคตเราต้องทำความร่วมมือกับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว ต้องมาใช้บริการที่นี่ ไม่เช่นนั้น ใครจะมาใช้บริการโรงพยาบาล สิ่งที่คุณต้องเชื่อม คือ คุณกำลังจะทำ Post Covid Rehab Center ที่นี่ คณะแพทย์แผนไทยจะเปิดเดือนมกราคมนี้ ก็ต้องไปคุยกับแพทย์แผนไทยว่าศาสตร์ของแพทย์แผนไทยที่จะ Rehab จะใช้ Sport มาช่วยได้อย่างไร พื้นที่ต่าง ๆ ของ ม.อ. ภูเก็ต จะเอื้อต่อ Post Covid Rehab Program ได้อย่างไร ต้องมองภาพทั้งหมด อย่ามองแค่กิจกรรมที่จะจัดไม่เช่นนั้น ก็มีแต่เต้น Zumba แอโรบิค เป็น event สิ่งสำคัญตอนนี้ต้องไปดูว่าสถานการณ์ PA 3 กลุ่ม นักท่องเที่ยวถ้าได้ก็ดี แต่เน้น 2 กลุ่มหลัก คือ คนในชุมชน กับบุคลากรในวิทยาเขตต้องรู้แล้วว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร ต้องรู้ว่าถ้าเขาอยากจะมี PA เพิ่มขึ้นและเพียงพอ เขาจะมาใช้พื้นที่ ม.อ. อย่างไรบ้าง เมื่อรู้ตรงนี้แล้วเราก็คุยว่าเขามีกลุ่ม เครือข่าย อะไรบ้าง ถ้ากลุ่ม เครือข่ายจะมาช่วยจัดการ เราเอื้อเรื่องสถานที่ สนับสนุนกิจกรรมบางอย่าง แต่ถ้าเขาจะมาทำอย่างต่อเนื่อง เขาจะรับผิดชอบได้หรือไม่ ยกตัวอย่าง กลุ่มผู้สูงอายุ มีกิจกรรมออกกำลังกาย จัดกิจกรรมแต่ละสัปดาห์ เช่น สอนปลูกไม้ประดับ ทำเกษตร เอาเด็ก เยาวชน มาเรียนด้วย ผู้พิการเข้ามาแล้วจะมีโปรแกรมอะไร สามารถมาใช้บริการของกลุ่มกีฬาอะไรได้บ้าง หรือจะเสนอให้เขาเลยว่าถ้าผู้พิการ ผู้สูงอายุ จะมาใช้สนามกีฬาของ ม.อ. ถ้าเป็นสมาชิกจะลดราคา 50 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปที่จะมาเป็นสมาชิกมีแพ็คเกจอะไรบ้าง เพื่อสนับสนุนให้เขามาออกกำลังกาย เพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือกลุ่ม ชุมชน จะมาจัด event ใน ม.อ. ก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องมาออกกำลังกายอย่างเดียว อาจจะมีตามที่รองพันธ์เคยบอก ตลาดเกษตรทุกสัปดาห์ ก็ได้ กรณีแบบนี้มีกิจกรรมก็จะทำให้คน active Physical Activity คือ ทำอย่างไรให้คน active ตัว Activity = Active แต่ถ้า active แล้วให้ได้ดี คือ ต้องเพียงพอ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ กิจกรรมแบบสอบถามเป็นกิจกรรมหนึ่ง ส่วนอีกกิจกรรมเราจะลงชุมชน ทราบจากคุณธนวัฒน์ว่าการจะดึงชุมชนเข้ามาคุยใน ม.อ. ค่อนข้างยาก จึงจะใช้วิธีลงไปในชุมชนเอง โดยให้คุณธนวัฒน์ประสานกับชุมชน โดยเน้นชุมชนที่อยู่ติดกับรั้ว ม.อ. ก่อน คงไม่ครบทั้ง 19 ชุมชน แล้วลงไปคุย อาจจะ 2 – 3 วง คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับผู้นำชุมชน และประชาสัมพันธ์ว่าเรามีพื้นที่ในมหาวิทยาลัยยินดีให้ชาวบ้านเข้ามาใช้ มีกิจกรรม เช่น Zumba ก็มี feedback ชุมชนที่อยู่ไกล ๆ ห่างจากมหาวิทยาลัย 5 กิโลเมตร เขาจะบอกว่ามันไกลเกิน เพราะในกะทู้มีจุดให้ออกกำลังกายหลายจุด กลายเป็นว่ากิจกรรมที่เราเล่าให้เขาฟังอาจจะไม่ใช่กิจกรรมที่เขาต้องการ คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ มี feedback กิจกรรมที่เราสำรวจแล้ว และการทำ Focus Group เขาบอกว่าถ้าเรามีลานเด็กเล่น จะดึงดูดให้ผู้ปกครอง และทุกช่วงวัยเข้ามาในมหาวิทยาลัย ตอนนี้เราก็วางแผนอยู่ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ลานเด็กเล่น ดี เพราะเรารู้ว่า PA ในเด็กของประเทศไทย น้อยมาก ต่ำมาก แต่ของกะทู้เราไม่รู้ ต้องมีข้อมูลออกมา พอเห็นแล้วรู้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ ควรจะมีลานเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น เล่นกีฬาได้ ใครจะเป็นคนเข้ามาใช้บริการ พ่อแม่ เด็ก ครอบครัว หรือว่าต้องสื่อกับกลุ่มเครือข่ายครอบครัว ขณะเดียวกันกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดี เทศบาลที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีด้วยอยู่แล้ว ก็คุยกันว่าจะมีกิจกรรมอะไรมาเสริมกัน แต่คุณต้องทำให้เห็นว่าลานเด็กเล่นของคุณแตกต่างจากสนามเด็กเล่นสาธารณะทั่วไป เพราะเราเป็นสถาบันวิชาการ เราต้องบอกว่าเด็กวัยนี้ควรจะเล่นอะไร พัฒนาการควรจะเป็นอย่างไร เวลามีคนมาใช้บริการ พ่อแม่พาเด็กมาได้รับความรู้ด้วยว่ากิจกรรมอะไรควรทำให้กับเด็ก กลับไปเขาเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่พาเด็กมาเล่นอย่างเดียวแล้วจบ ถ้าทำแบบนี้ได้ต่อให้ระยะทางไกลเขาก็มา คุณธนวัฒน์ วงศ์ลักษณพันธ์ การสำรวจสถานการณ์ PA เป็นจุดด้อยของเราที่ยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง ของวิทยาเขตมีเบื้องต้นแล้ว ของชุมชนเราวางไว้ 3 วัย คือ เด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ตอนนี้เรากำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว เราสันนิษฐานว่าจะตอบโจทย์ลานเด็กเล่นได้แน่นอน และในลานเด็กเล่นอาจจะผนวกกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ตลาดบ่านซ้าน รวมถึงกิจกรรมแพทย์แผนไทยให้ความรู้ด้านอาหารสุขภาพ ลักษณะกิจกรรมหลังจากนี้จะไม่ใช่เชิง event แล้ว แต่จะเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง และคาดหวังผลเรื่อง PA สูงขึ้นได้ เรื่องนักท่องเที่ยวก็มองไว้ ตอนนี้สวนสาธารณะเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการมากขึ้น แต่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยยังไม่มาใช้ ถ้าเราโปรโมทจุดนี้ และมีลานเด็กเล่น ตลาด หรือกิจกรรม Wellness Training ให้อาจารย์ที่เชี่ยวชาญมาช่วยก็น่าจะเห็นอะไรมากกว่านี้ ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ นอกจากเราลงไปสำรวจในชุมชนแล้ว ได้บอกคุณธนวัฒน์ว่าอาจจะต้องดูกลุ่มผู้สูงอายุ นักเรียนในโรงเรียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งน่าจะมาเชื่อมกัน ในโรงเรียนเราจะเจาะกลุ่มเด็กเก็บทั้งแบบสอบถามและสำรวจความคิดเห็น อาจจะจัดกิจกรรมให้เด็กมาสำรวจพื้นที่รอบ ๆ เหมือนทัศนศึกษา ชวนกลุ่มผู้สูงอายุมาดูด้วยกันและช่วยกันออกไอเดียให้ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ หลัก ๆ ต้องถามสถานการณ์ ถามความต้องการว่าถ้าเขาอยากมีกิจกรรมทางกาย เขาอยากจะมีกิจกรรมทางกายแบบไหน เราอาจจะให้ข้อมูลว่าในวิทยาเขตมีแบบนี้อยู่ ถ้าเราคุยกับกลุ่ม เครือข่าย ชมรม ก็ถามว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เขาจะมาใช้และช่วยบริหารจัดการ อยากเห็นหลาย ๆ แห่ง สุดท้ายแล้วเราเปิดพื้นที่และให้เขาเข้ามาช่วยบริหารจัดการกันเอง ยกตัวอย่าง ที่สวนลุม จะมีกลุ่มรำไทเก๊ก โยคะ กลุ่มต่าง ๆ บริหารจัดการกันเอง นำอุปกรณ์ อาหารการกินมา เมื่อเสร็จแล้วก็ทำความสะอาด เราอาจจะไม่ถึงขั้นสวนลุมเอาแค่ facility ที่เรามีอยู่ พื้นที่เขาหลัก ของเขาหลักเนื่องจากเป็นพื้นที่เอกชนก็จะมีความต่างกันอยู่ เขาจะมีไอเดียของเขา เราก็ใส่ไอเดียของเราเข้าไปบางส่วนได้แล้ว เราอาจจะช่วยในกรณีสำรวจว่าคนในชุมชนมี PA อย่างไรบ้าง ถ้านักท่องเที่ยวจะมาใช้บริการ Wellness Hub ของคุณสมพงษ์ มันต้องมีอะไรที่น่าสนใจ เช่น มีพื้นที่ที่เราออกแบบไว้ตรงสระน้ำมีลู่วิ่ง ตรงลานจอดรถมีที่ทำกิจกรรม เราสำรวจว่าคนในชุมชนจะมาใช้หรือไม่ เนื่องจากฝั่งตรงข้ามมีสวนสาธารณะ ต้องคิดแล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างสวนสาธารณะกับเราเป็นอย่างไร ถ้าคนไปวิ่งที่สวนสาธารณะอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำที่วิ่ง เราอาจจะทำกิจกรรมให้ความรู้เหมือนกับวิทยาเขต ให้ความรู้ว่ายืดเหยียดเป็นอย่างไร การป้องกันการบาดเจ็บเป็นอย่างไร ถ้าบาดเจ็บจากการออกกำลังกายต้องทำอย่างไร เป็นกิจกรรมแบบนี้แทน ขณะเดียวกัน สวนสาธารณะอาจจะไม่เหมาะกับเด็กเล่น ตรงลานจอดรถก็อาจทำเป็นสนามเด็กเล่นให้เด็กมาเล่นได้ เช่น ขี่ม้าส่งเมือง วิ่งเปี้ยว หรือมีลานเด็กเล่น มีเครื่องเล่นเล็ก ๆ คุณสมพงษ์ก็ได้ประโยชน์เพราะถ้าเด็กมาเล่นผู้ใหญ่ก็มา ร้านอาหาร ร้านขายสินค้า อันที่สอง สำรวจดูว่าชาวต่างชาติจะมาใช้บริการอะไร เพราะมองว่าตรง Wellness Hub จะเป็น destination ของชาวต่างชาติ เราก็อาจจะสำรวจว่าถ้าเขาสนใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเขาสนใจเรื่องอะไรบ้าง เรื่องแพทย์แผนไทย PA อาหาร สวนสมุนไพร@13 ก.พ. 66 15:01
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต : แนะนำ/ความสำคัญ โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบใน การส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย แนวคิดเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย Mapping พื้นที่ทางกายภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และ ศักยภาพของพื้นที่วิทยาเขตภูเก็ตในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ระดมความคิดเห็น แบ่งกลุ่มแสดงความคิดเห็นการสนับสนุนให้เกิด กิจกรรมทางกายในพื้นที่วิทยาเขตภูเก็ตในอนาคต กลุ่ม 1 บุคลากร ม.อ.ภูเก็ต นักศึกษา ม.อ. กลุ่ม 2 ชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย กลุ่ม 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ท้องถิ่น วัด โรงเรียน รพ.สต. สาธารณสุข การท่องเที่ยวและกีฬาฯลฯ) กลุ่ม 4 ผู้ประกอบการรอบมหาวิทยาลัย (ร้านค้า โรงแรม) กลุ่มที่ 5 ชมรมเดินวิ่ง, ชมรมจักรยาน , ชมรมแอโรบิค, ชมรมต่างๆ ในพื้นที่@13 ก.พ. 66 14:56
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    วางแผนงานเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ม.อ.ภูเก็ต และวางแผนประชาคม : กลุ่มเป้าหมาย ม.อ.ภูเก็ต สำรวจข้อมูล pa ก่อน /ในวันเวทีประชาคม ประมาณ 100 คน - บุคลากร มอ. > แบบสอบถามออนไลน์ - นักศึกษา > แบบสอบถามออนไลน์ - ประชาคม 19 ชุมชน เชิญผู้นำชุมชน 19 แห่ง - เทศบาลกระทู้ - สาธารณสุขกระทู้ - โรงเรียนในพื้นที่ - ประปา/พื้นที่อ่างเก็บน้ำ - ผู้ประกอบการ - โรงแรม เวทีประชาคม - เล่าให้ฟังว่ามีทุนอะไรบ้าง - สถานการณ์ pa - ตุ๊กตากิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ / การใช้พื้นที่ / ผู้ใช้ - WS พื้นที่อื่นๆของ ม.อ. มีอาคารนี้เกิดกิจกรรมอะไรได้บ้าง - ใครเป็นเจ้าภาพกิจกรรม - แบ่งกลุ่มย่อย นักศึกษา / บุคลากร / ชุมชน  ออกแบบให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ - สำรวจ pa ในกลุ่มด้วย@13 ก.พ. 66 14:37
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    เปิดตัวโปรแกรมฟื้นฟูอาการ post covid แบบองค์รวม ที่เขาหลักพังงา ในพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะสวนสมุนไพร : โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่มีอาการ Post Covid Syndrome แบบองค์รวมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ร่วมพัฒนาขึ้นโดยคณะการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์ และภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อนำมาใช้รักษาดูแลกลุ่มผู้ป่วยผู้ที่ยังคงมีอาการผิดปกติยาวนานหลังจากหายจากเชื้อโควิดแล้ว โดยเน้นการดูแลแบบองค์รวมผสมผสานองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันตก เช่น การนวดกดจุดกระตุ้นการหายใจ การสุมยา การฝึกหายใจ สมาธิบำบัด กิจกรรมบำบัด และอาหารบำบัด เป็นต้น ซึ่งจากการที่ได้ทดลองนำโปรแกรมดังกล่าว ไปใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยอาสาสมัครจริง ณ สถานประกอบการในเครือโรงแรม La Vela เขาหลัก จังหวัดพังงา ผลปรากฏว่าสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยกลุ่ม Post COVID syndrome ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Post COVID Syndrome จำนวน 3 หลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะให้แก่ผู้ประกอบการ บุคลากรทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง หวังยกระดับการบริการในสถานประกอบการสู่การเป็น medical wellness and tourism และกระตุ้นให้ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายใหม่ๆ ในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก@13 ก.พ. 66 14:23
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    วางแผนเก็บข้อมูลสุขภาพ/ข้อมูลกิจกรรมทางกาย/การใช้พื้นที่สาธารณะ : สรุปประเด็นประชุม 10 ก.พ.66 การเก็บข้อมูล ทางทีม ม.อ.ภูเก็ต จัดหาทีมเก็บข้อมูลภายในวันพุธ 15 ก.พ. ทีม สนส.ม.อ.สรุปแบบสอบถามส่งภายในวันพุธ 15 ก.พ. เก็บข้อมูลทั้งหมดเสร็จสิ้นวันที่ 28 ก.พ. วางแผนประชุม วันที่ 15 ก.พ.ประชุมอัปเดทงานการออกแบบพื้นที่ ม.อ.และการจัดตลาด บันซ้าน ม.อ./ผ่าน zoom วันที่ 9-10 มี.ค.ประชุมทำแผนและโครงการ PA ภูเก็ต/จัดในพื้นที่ วันที่ 22 หรือ 24 มี.ค. เวที MOU คืนข้อมูลการออกแบบพื้นที่ และวางแผน แนวทางจัดการต่อ/จัดในพื้นที่@10 ก.พ. 66 16:33
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมอัปเดต HSF PAภูเก็ต : ผลการอัปเดต สรุปพื้นที่ป่าตอง อัปเดตการออกแบบ 2 พื้นที่ ได้แก่ ย่านเมืองเก่าและสะพานหิน - พื้นที่น้ำท่วมน้ำลดได้ออกแบบให้รองรับกิจกรรม PA ได้ทุกสถานการณ์ - พื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน - พื้นที่ย่านอาหาร แหล่งพบปะผู้คน - พื้นที่เชื่อมวัฒนธรรมชุมชน 3. มีแนวทางการทดลองจัดกิจกรรม 3 ทางเลือก 3.1 เส้นทางเดินลัดเลาะรอบเมืองเก่า (Old town park journey) 3.2 วางป้ายเก็บแบบสอบถาม (Interactive panal) 3.3 วางสตรีทเฟอร์นิเจอร์และสังเกตการใช้งาน แนวทางขับเคลื่อนต่อ : เสนอผลการออกแบบกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อนำไปสุ่การดูแลและใช้ประโยชน์ในการเพิ่มกิจกรรมทางกาย จัดประชุมนำเสนอผลการออกแบบพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมใน 5 พื้นที่ ได้แก่ คือ 1. ม.อ.ภูเก็ต 2. เขาหลักพังงา 3.ย่านเมืองเก่า 4. ป่าตอง 5. สะพานหิน ทำแผน MOU การดูแลพื้นที่ต่อในอนาคต โดยเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกับพื้นที่ เข้ามาร่วมประชุม เลือกวันนัดประชุม คือ วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 หรือวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566@08 ก.พ. 66 14:32
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่และวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับทีมม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 2/2566) : ..@24 ม.ค. 66 13:25
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ม.อ.ภูเก็ต, เขาหลัก)

    สำรวจ pa โรงเรียน และชุมชน : ทีมงาน ม.อ.ภูเก็ต ได้ลงพื้นที่สำรวจกิจกรรมทางกายและความต้องการของชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่สาธารณะในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยแนวคิด ม.อ.ภูเก็ตเป็นของชุมชน ชุมชนมีรู้สึกความเป็นเจ้าของร่วมกันในการสร้างคุณค่าพื้นที่สาธารณะ และนำไปสู่การเข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดีของชุมชนต่อไป “ชุมชนแข็งแรง เมืองภูเก็ตแข็งแรง” โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำรวจความคิดเห็นความมือจากประธานชุมชนและสมาชิก ดังนี้ 1) ประธานชุมชนอิรวดี 2) ประธานชุมชนเก็ตโฮ่ 3) ประธานชุมชนทุ่งทอง 4) ประธานชุมชนเบ๊ฮั๊ว 5) ประธานชุมชนควนลิ้มซ้าน 6) ประธานชุมชนบ้านตากแดด พร้อมด้วยกลุ่ม อสม.7) ประธานกลุ่มผู้สูงอายุ 8 ) กลุ่มอสม. 9) ประธานสภาเยาวชนเด็กและเยาวชนตำบลกะทู้ 10) ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอกะทู้ 11) ผอ.โรงเรียนบ้านกะทู้ 12) ผอ.โรงเรียนบ้านเก็ตโฮ่@19 ม.ค. 66 16:31
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมคณะทำงานวางแผนปิดงวด 2 และแผนงานภาพรวมโครงการ : แผน 1. นัดทีม ม.อ.ภูเก็ต เพื่อติดตาม 2 ประเด็น 1) การลงบันทึกในเว็บติดตามประเมินผล 2) การจัดการเรื่องการเงิน 2. โอนเงินงวด 2 ให้ทีม ม.อ.ภูเก็ต 3. การแต่งตั้งคณะทำงานโครงการส่วนกลาง 4. ลง บน.ออนไลน์ของ สสส. และส่งตรวจการเงิน 5. เขียนรายงานงวดที่ 2 6. วางแผนจัดประชุมทำแผนและโครงการ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 66 7. จัดทำร่างแผน PA ภูเก็ต 8. ติดตามการออกแบบและกิจกรรมของ 2 ทีม 9. เช็ครายละเอียด TOR/การจัดซื้อจัดจ้าง 10. การเก็บข้อมูล PA และข้อมูล 9 ประเด็นในจังหวัดภูเก็ต (80 ข้อ) 11. ออกแบบสอบถามนักท่องเที่ยว@16 ม.ค. 66 13:42
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมวางแผนติดตามงานทีม HSF PA ภูเก็ต : แนะนำการบันทึกข้อมูลกิจกรรมและค่าใช้จ่ายในเว็บ โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (ย่านเมืองเก่า, ป่าตอง, สะพานหิน) https://ppi.psu.ac.th/project/2014 ทีมงาน HSF สามารถปฏิบัติบันทึกข้อมูลในระบบได้ ได้วางแผนการจัดการเงินและเอกสารการเงิน@16 ม.ค. 66 13:40
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    อบรมการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ชุมชน : • ทีมเก็บข้อมูลเข้าใจการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ (วิธีการเข้าใช้, ขั้นตอนและกระบวนการเก็บข้อมูล, รายละเอียดข้อคำถาม, ข้อเสนอแนะจากการทดลองเก็บข้อมูลจริง) • ได้ทดลองทำแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด • ได้แผนการเก็บข้อมูลของพื้นที่@12 ม.ค. 66 11:11
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่และวางแผนติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับทีมม.อ.ภูเก็ต (ครั้งที่ 1/2566) : การอัพเดทการลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของมหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จากกลงพื้นที่ในวันที่ 21-23 ธันวาคม 2565 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงเรียนใกล้มหาลัย -โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านกระทู้ ทางโรงเรียนมีโครงการลดความอ้วน แต่ขาดการให้ความรู้เรื่องอาหารและ pa การออกกำลังกาย /รร.ที่มีทุนในพื้นที่ แต่สนามเด็กเล่นพัง /มีเรื่องสวนผักพอเพียง มีส่งเสริมด้านกีฬา มีนักกีฬาทีมชาติระดับเยาวชน มีโครงการต่างๆเพราะมีงบจากเทศบาล และ - โรงเรียนบ้านเก็ตโฮ่ แทบไม่มีโครงการ เพราะไมมีงบ มีเด็กนักเรียนประมาณ 200 คน โดยทั้งสองโรงเรียนมีปัญหาที่กลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ เรื่องความอ้วน และการบริโภคอาหาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริเวณชุมชน 1.พื้นที่ชุมชนโดยรอบมอ. ขาดเรื่องการประชาสัมพันธ์ การเข้าถึงพื้นที่ มอ 2. จุดจอดรถรับส่ง รับส่ง 3. การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามีส่วนร่วมในการขายของในตลาดสินค้าเกษตร และร่วมทำกิจกรรมออกกำลังกาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้สูงวัย - มีปัญหาในเรื่องการเข้ามาในมอ. ลำบาก ส่วนใหญ่จะทำกิจกรรมรำกระบี่กระบองที่อนามัยเป็นประจำ ต้องการให้ส่งเสริมกีฬาและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ หรือเปิดพื้นที่ให้ช่วงเช้ากลุ่มผู้สูงอายุสามารถได้เข้ามาเดินออกกำลังกายได้ - ต้องการการตรวจสุขภาพให้ผู้สูงอายุ - ต้องการให้คิดกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ การอบรมทางด้านอาชีพ - ชมรมผู้สูงวัยกระทู้ เป็นคนภูเก็ตดั้งเดิม อยากให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายให้ความรู้เรื่องท่าการออกกำลังกาย@05 ม.ค. 66 11:17
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    ทีม HSF ลงพื้นที่สำรวจเเละเข้าสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่ : วันที่ 27 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2565 ทีม HSF ลงพื้นที่สำรวจเเละเข้าสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่ ได้เเก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง หอการค้าจังหวัดภูเก็ต สาธารณสุขจังหวัด เเละภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้จะนำไปสู่เเนวทางการออกแบบพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พร้อมทั้งการออกแบบรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับเเผนการพัฒนาเมือง เเละความต้องการของชาวภูเก็ต@04 ม.ค. 66 09:58
  • โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    โครงการภูเก็ตเมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย (งานบริหารกลาง)

    Healthy Space Forum ได้ลงพื้นที่ภูเก็ต เพื่อนำเสนอเเนวคิดเเละรายละเอียดการออกแบบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ : เมื่อวันที่ 13-16 กันยายนที่ผ่านมา ทางทีม Healthy Space Forum ได้ลงพื้นที่ภูเก็ต เพื่อนำเสนอเเนวคิดเเละรายละเอียดการออกแบบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้เเก่ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เเละชุมชนในพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนารายละเอียดการออกแบบ เเละเเนวทางในการจัดกิจกรรมสาธารณะที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดสภาพเเวดล้อมกระฉับกระเฉงหรือเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในเมืองภูเก็ต ซึ่งหลังจากนี้ทางทีมจะดำเนินการจัดกระบวนการมีส่วน ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันออกแบบเเละหาคำตอบให้กับเเนวทางการพัฒนาเมืองภูเก็ตสู่การเป็น Healthy City@04 ม.ค. 66 09:33

โดย Pawint Saeku on 14 พ.ย. 66 14:12

<?php// edit 2024-03-14$init = (object)[ 'style' => [ 'main' => 2233, ]]; $icons = [ 'speakernotes', 'e

65 items(1/7) 2 3 4 5 Next » Last »|